• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (Septic Shock) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
28/03/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
0
SHARES
14
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาวะช็อกพิษเหตุติดเชื้อคืออะไร?
  • อาการของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
  • สาเหตุของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
  • ปัจจัยเสี่ยง
  • การวินิจฉัยภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
  • ภาวะแทรกซ้อน
  • การรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
  • การเฝ้าติดตามระยะยาวสำหรับภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
Rate this post

ภาวะช็อกพิษเหตุติดเชื้อคืออะไร?

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Septic Shock) คือ การติดเชื้อ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีความรุนแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะที่อันตรายและอาจถึงแก่ชีวิตได้

ภาวะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อสารเคมีในร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อด้วยการไปกระตุ้นอาการอักเสบโดยถูกส่งเข้าไปสู่กระแสเลือด

แพทย์จำแนกภาวะเหตุพิษติดเชื้อออกเป็น 3 ระดับ คือ:

  • ภาวะเหตุพิษติดเชื้อคือ ภาวะที่มีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบในร่างกาย

  • ภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ เมื่อเกิดการติดเชื้อที่มีความรุนแรงมากพอที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ, สมอง,และไต

  • ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือ เมื่อมีอาการความดันเลือดตกซึ่งทำให้ระบบทางเดินหายใจหรือหัวใจล้มเหลว, โรคหลอดเลือดสมอง, อวัยวะอื่นๆล้มเหลวและเสียชีวิต

เมื่อมีการอักเสบที่เป็นผลมาจากเหตุพิษติดเชื้อจะทำให้เส้นเลือดเล็กๆมีลิ่มเลือด ซึ่งลิ่มเลือดนี้จะขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนและสารอาหารไปสู่อวัยวะที่จำเป็นของร่างกาย

การอักเสบมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ แต่ภาวะเหตุพิษติดเชื้อและภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อทั้งคู่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน

ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤตของประเทศสหรัฐอเมริกา

อาการของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

อาการเบื้องต้นของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ควรมองข้าม คือ:

  • มีไข้สูง มักสูงกว่า 38˚C
  • อุณหภูมิร่างกายลดต่ำ (ภาวะตัวเย็นเกิน Hypothermia)
  • อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่, หรือมากกว่า 20ครั้งต่อหนึ่งนาที
Septic Shock

ภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ การถูกกำหนดว่าเป็นภาวะเหตุพิษติดเชื้อที่มีหลักฐานว่าภาวะดังกล่าวส่งผลทำให้อวัยวะเช่นไต, หัวใจ, ปอด หรือสมองเสียหาย อาการของภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงคือ

  • มีปริมาณปัสสาวะลอน้อยลงอย่างสังเกตเห็นได้

  • ภาวะสับสนเฉียบพลัน

  • มึนงง

  • มีปัญหาการหายใจที่รุนแรง

  • นิ้วหรือริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วง (อาการตัวเขียว)

ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อจะมีอาการของภาวะเหตุพิษติดเชื้อแบบรุนแรงด้วย

สาเหตุของภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

การติดเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, หรือเชื้อไวรัสอาจเป็นสาเหตุของภาวะเหตุพิษติดเชื้อได้ การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้านหรือในขณะพักรักษาตัวจากโรคอื่นๆที่โรงพยาบาล

ภาวะเหตุพิษติดเชื้อมักเกิดจาก:

  • มีการติดเชื้อที่ท้องหรือระบบย่อยอาหาร

  • ปอดติดเชื้อ เช่นโรคปอดบวม

  • การติดเชื้อในท่อปัสสาวะ

  • การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธ์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคืออายุหรือความเจ็บป่วยที่มีมาก่อน สามารถเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อได้มากขึ้น ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในเด็กทารก, ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์ และคนที่มีระบบภูมิต้านทานถูกกดไว้อันมีสาเหตุมาจากการรักษาโรคเอชไอวี, โรครูห์มาติกเช่นโรคแพ้ภูมิตัวเองและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, หรือโรคสะเก็ดเงิน และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังหรือโรคมะเร็งก็สามารถเป็นสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว

ปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ คือ:

  • การผ่าตัดใหญ่หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยะยาว

  • ผู้ที่ต้องได้รับการฉีดยาในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

  • ผู้ป่วยที่มีการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีอาการหนัก

  • ติดเชื้อจากอุปกรณ์เช่นการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ, การสวนปัสสาวะ, หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งอาจนำเอาเชื้อแบคมีเรียเข้าสู่ร่างกายได้

  • ภาวะทุพโภชนาการ

การวินิจฉัยภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

หากผู้ป่วยมีภาวะเหตุพิษติดเชื้อ ขั้นต่อไปคือทำการทดสอบเพื่อระบุเชื้อที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งการวินิจฉัยมักทำโดยการตรวจเลือด รูปแบบการทดสอบนี้สามารถระบุเชื้อได้หากมีปัจจัยดังต่อไปนี้ปรากฏให้เห็น:

  • พบแบคมีเรียในเลือด

  • มีปัญหาเกิดลิ่มเลือดเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ

  • มีของเสียในเลือดมากเกินไป

  • การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ

  • ปริมาณออกซิเจนลดน้อยลง

  • ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย

การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการและผลตรวจเลือด แพทย์อาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเพื่อระบุแหล่งที่มาของการติดเชื้อ เช่น:

  • ตรวจปัสสาวะ

  • ตรวจสารคัดหลั่งจากบาดแผลหากพบว่าผู้ป่วยมีแผลในบริเวณที่มองดูแล้วน่าจะเกิดการติดเชื้อwound

  • ตรวจจากมูกสารคัดหลั่งเพื่อหารูปแบบของเชื้อโรคที่เป็นตัวเบื้องหลังของการติดเชื้อ

  • ตรวจโดยเจาะน้ำไขส้นหลัง

ในรายที่การหาต้นตอของการติดเชื้อไม่ปรากฎแน่ชัดจากการตรวจข้างต้นตามที่กล่าวไว้ แพทย์อาจเข้าไปดูข้างในของร่างกายโดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้:

  • การเอกซเรย์

  • การทำซีทีสแกน

  • การอัลตราซาว์น

  • ทพเอ็มอาร์ไอMRI

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดอันตรายมากมายและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ:

  • หัวใจล้มเหลว

  • มีลิ่มเลือดผิดปกติ

  • ไตวาย

  • ภาวะการหายใจล้มเหลว

  • โรคหลอดเลือดสมอง

  • ตับล้มเหลว

  • สูญเสียลำไส้ไปบางส่วน

ภาวะแทรกซ้อนที่เจอและผลกระทบของโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้:

  • อายุ

  • การรักษาเริ่มต้นได้ไวแค่ไหน

  • สาเหตุและเหตุพิษติดเชื้อเกิดขึ้นภายในร่างกาย

  • โรคที่เป็นมาก่อน

การรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

หากสามารถวินิจฉัยภาวะเหตุพิษติดเชื้อได้ตั้งแต่ช่วงแรกและได้รับการรักษามากเท่าไร โอกาสรอดชีวิตก็มีสูง เมื่อได้รับการวินิจฉัยเรียบร้อยผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) เพื่อรักษา แพทย์จะใช้ยาเพื่อรักษาภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อโดย:

  • การฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำ

  • ยากระตุ้นความดันโลหิต, เป็นยาที่สามารถช่วยเรื่องเส้นเลือดตีบและยังช่วยเพิ่มความดันโลหิตด้วย

  • ใช้อินซูลินเพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ insulin for blood sugar stability

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

การให้ของเหลวทางหลอดเลือดปริมาณมากจะถูกสั่งเพื่อรักษาภาวะร่างกายขาดน้ำและเพื่อช่วยเพิ่มความดันเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆได้ดีขึ้น อุปกรณ์ช่วยการหายใจอาจมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ บางครั้งอาจต้องมีการผ่าตัดเข้ามาเพื่อเอาต้นตอของการติดเชื้อออกไป

การเฝ้าติดตามระยะยาวสำหรับภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อคือภาวะที่มีความรุนแรง และพบว่ามีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยต้องเสียขีวิต โอกาสรอดชีวิตจากภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับแหล่งของการติดเชื้อ, จำนวนอวัยวะที่มีผลกระทบ,และได้รับการรักษารวดเร็วแค่ไหนหลังจากอาการแรกแสดงอาการออกมา


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000668.htm

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sepsis/symptoms-causes/syc-20351214

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/311549

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430939/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: แบคทีเรีย
นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคครูป

โรคครูป (Croup) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.