• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

แผลพุพอง (Impetigo) : ประเภท สาเหตุ วิธีการรักษา อาการ 

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
16/04/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคผิวหนัง
0
แผลพุพอง
0
SHARES
1k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • แผลพุพองหรือโรคตุ่มน้ำพุพองคืออะไร
  • สาเหตุการเกิดแผลพุพองคือ
  • อาการของโรคพุพอง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลพุพอง
  • แผลพุพองในเด็ก
  • ภาวะแทรกซ้อนของแผลพุพอง
  • วิธีรักษาแผลพุพอง
  • การป้องกันโรคแผลพุพอง
4.7 / 5 ( 12 votes )

 


พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ


แผลพุพองหรือโรคตุ่มน้ำพุพองคืออะไร

แผลพุพอง (Impetigo) คือ หรือโรคตุ่มน้ำพอง ถือเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ผิวติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผิวหนังจะมีแผลพุพอง มีน้ำอยู่ข้างใน เป็นตุ่มน้ำพอง หรือบางครั้งอาจเป็นแผลพุพองเป็นหนอง หรือตุ่มน้ำ แตกง่าย แผลพุพองเป็นน้ำใส ๆ เมื่อแตกออกมาแล้วจะมีสะเก็ดสีน้ำตาลหรือเหลือง เกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณใบหน้า  ปาก มือและเท้า และสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ โดยการสัมผัสหรือเกาที่บริเวณแผล และผู้อื่นสามารถติดเชื้อแบคทีเรียแผลพุพองนี้ได้จากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่มีอาการ เช่นใช้ผ้าผืนเดียวกัน ใช้แก้วน้ำ หรืออุปกรณ์และการสัมผัสทางร่างกายอื่น ๆ กรณีที่เดินเท้าเปล่าในที่สกปรกอาจเกิดแผลพุพองที่เท้าได้ โรคแผลพุพอง ตุ่มน้ำนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกวัย แต่สามารถพบได้บ่อยในทารกและเด็ก

สาเหตุการเกิดแผลพุพองคือ

แผลพุพองเป็นตุ่มหนอง สามารถเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สองชนิดคือ

  • เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) 
  • เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอดคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes)

โดยที่เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการเข้าผ่านผิวหนังมีบาดแผล เมื่อได้รับเชื้อแล้วแบคทีเรียจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วภายในร่างกายผู้ป่วยเอง หรือสามารถส่งผ่านต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้

อาการของโรคพุพอง

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นสีแดง ผื่นสีแดงนี้จะกลายเป็นตุ่มน้ำพองและสามารถกระจายไปได้ทั้งตัว จากการเกาหรือ ผ่านเสื้อผ้าหรือจากการถู ตุ่มพองนี้สามารถแตกออกง่าย มีน้ำเหลือง มีแผลที่แขน ผิวหนังพอง แผลพุพองที่เท้า แผลพุพองเป็นหนอง แผลพุพองนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท

  • เป็นแผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ (Non-Bullous Impetigo) บริเวณผิวจะเป็นตุ่ม ผื่นแดง ขนาดเกิดแผลจากการเกา จะไม่รู้สึกเจ็บที่บริเวณแผลแต่จะมีอาการคัน แผลอาจกระจายเป็นบริเวณกว้างอย่างรวดเร็ว จึงไม่ควรเกาหรือสัมผัสกับแผล
  • เป็นแผลพุพองแบบมีตุ่มน้ำ (Bullous Impetigo) จะมีลักษณะของแผลที่มีตุ่มน้ำพองใสบริเวณทั่วร่างกายผู้ป่วยควรงดการเกาหรือสัมผัสบริเวณแผลเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปยังบริเวณอื่น ๆ  ของร่างกาย รวมทั้งงดการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • เป็นแผลพุพองแบบรุนแรง (Ecthyma) ผิวหนังพอง เกิดจากการติดเชื้อที่ชั้นหนังแท้ มีอาการเช่นเดียวกันกับแผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำแต่ลึกกว่าเนื่องจากอยู่ชั้นหนังแท้  และเป็นอาการแทรกซ้อนหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องเช่นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลพุพอง

  • เด็กเล็ก
  • ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยทางโรคผิวหนัง
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคแผลพุพอง
  • ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
  • ผู้ป่วยที่เป็นแผลโดนของร้อน หรือแผลโดนน้ำร้อนลวก แผลโดนเตารีด

แผลพุพองในเด็ก

โรคพุพองนั้นสามารถพบได้ในเด็กอายุ 2-6 ปี โดยตุ่มน้ำมักจะเกิดบริเวณใบหน้า จมูกและปาก ซึ่งเด็กอาจจะติดเชื้อนี้เด็กคนอื่นที่เป็น และเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่กระจายจากการสัมผัสทางผิวหนัง น้ำมูก เล่นของเล่นเดียวกัน ใช้ผ้าผื่นเดียวกัน หรือนอนเตียงนอนเดียวกัน หรือกิจกรรมอื่น ๆ  ที่เด็กอาจจะได้มีการสัมผัสทางร่างกายกัน อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้

โรคแผลพุพอง (Impetigo)

ภาวะแทรกซ้อนของแผลพุพอง

โรคแผลพุพองหากปล่อยอาการไว้นานและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ดังนี้

  • รอยแผลเป็น
  • ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) เชื้อสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจจะส่งผลให้มีการอักเสบของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicaemia) อุณหภูมิในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง  ทำให้มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีอาการสั่น หากเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจส่งผลทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้
  • โรคสะเก็ดเงินชนิดพุพอง (Guttate Psoriasis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวแห้งแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเทาหรือสีเงิน
  • ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแดง บวม ตึง เจ็บ แสบร้อนที่ผิวหนัง หรืออาเจียนและมีไข้สูงร่วมด้วย
  • ไตอักเสบ  หลังการติดเชื้อสเตรปโทคอคคัส เป็นเหตุให้ไตวายได้

วิธีรักษาแผลพุพอง

แผลพุพองรักษาอย่างไร โดยทั่วไปแล้วแผลพุพองอาจจะหายได้เอง ภายใน 7-10 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของผู้ป่วย แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฎิชีวนะซึ่งเป็นยารักษาแผลพุพองชนิดทาน หรือยาทาแผลพุพองเพื่อรักษาอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดหลังจาก รับยา ในการดูแลตัวเองต่อที่บ้าน โดยมีข้อพึงปฎิบัติดังนี้

  • รักษาความสะอาดและสุขอนามัยเป็นอย่างดี
  • ทำความสะอาดแผลบริเวณที่ติดเชื้อ
  • หากแผลมีอาการรุนแรงขึ้นหรือเป็นเรื้อรังหายช้า ควรกลับไปพบแพทย์
  • ไม่ควรใช้ผ้าขนหนูหรือของใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ทานยาหรือทายาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การป้องกันโรคแผลพุพอง

  • หมั่นรักษาความสะอาดทางสุขอนามัย หากมีแผลควรรักษาแผลให้สะอาด
  • อยู่ห่างหรือไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยแผลพุพอง
  • ล้างมือหรือบริเวณที่สัมผัสทันทีเมื่อคุณมีการ สัมผัสกับผู้ป่วยแผลพุพอง
  • หากมีบาดแผล ควรล้างแผลและปิดแผล จนกว่าแผลจะหายดี
  • หากเด็กที่เป็นแผลพุพอง ควรแยกให้อยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะหาย ไม่ควรให้ไปโรงเรียนหรือเล่นกับเด็กอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคพุพอง คุณจำเป็นต้องรักษาความสะอาดบริเวณแผลเป็นอย่างดี ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบุคคลอื่น ควรรับประทานยาและทาบาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และไม่ควรปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียด เนื่องจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นและอาจจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ก่อให่เกิดอันตรายได้ หากมีข้อสงสัยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาและหาแนวทางแก้ไข


ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา 

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/impetigo/symptoms-causes/syc-20352352
  • https://www.nhs.uk/conditions/impetigo/
  • https://medlineplus.gov/impetigo.html
Tags: ผิวหนังแบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

หิด (Scabies) : สาเหตุ อาการ การรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.