โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) คือโรคที่มีลักษณะของเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบนผิวหนังและเยื่อบุ ยิ่งผิวหนังได้รับแสงแดด จะยิ่งทำให้มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง และทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนังแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆดังนี้ 
  • Keratinocyte carcinoma  

คือมะเร็งผิวหนังชั้นกำพร้า มะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะพบได้บ่อยที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผิวได้รับแสงแดดมากเกินไป ในบริเวณส่วนศีรษะ และลำคอ  หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันท่วงที อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
  • Melanoma 

คือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้น้อย มะเร็งผิวหนังชนิดนี้เกิดจากการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง จะเป็นพบได้บริเวณแผ่นหลังและหน้าอก สำหรับผู้ป่วยเพศชาย และพบได้บริเวณขา สำหรับผู้ป่วยเพศหญิง มะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยไว้ อาจทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ และจะยากต่อการรักษา มะเร็งชนิดนี้แพร่กระจายได้มากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ Basal cell และมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell

ประเภทของมะเร็งผิวหนัง 

โรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง มีอยู่ 2 ชนิดหลักๆคือ keratinocyte carcinoma และ melanoma แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะของผิวหนังที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งมีลักษณะดังนี้   อาการของผิวหนังชนิดนี้ไม่ก่อให้เป็นโรคมะเร็ง มีลักษณะสีชมพูและสีแดงเรื่อๆ หากผิวหนังมีลักษณะอาการเช่นนี้ และไม่ได้รับการรักษา อาจะนำไปสู่การก่อเชื้อมะเร็งได้ในอนาคต  
  • Basal cell carcinoma 

เป็นรูปแบบของผิวหนังที่พบได้มากที่สุด คิดเป็น 90% ที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังจากบรรดาทั้งหมด มักจะเจริญเติบโตช้า และเกิดขึ้นบริเวณศีรษะและลำคอ 
  • Squamous cell carcinoma 

มะเร็งชนิดนี้เกิดจากผิวหนังชั้นนอกและรุนแรงกว่ามะเร็งชนิด Basal cell carcinoma เป็นแล้วจะทำให้ผิวหนังเป็นสีแดง และขึ้นเป็นแผลตกสะเก็ด เป็นมะเร็งชนิดที่ค่อนข้างรุนแรง 
  • Melanoma 

มะเร็งผิวหนังชนิดนี้พบได้น้อย แต่เป็นมะเร็งผิวหนังที่อันตรายที่สุด  หากเป็นแล้วอัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น มะเร็งชนิดนี้เกิดจากสร้างเม็ดสีผิวจากผิวหนัง 

อาการของโรคมะเร็งผิวหนัง 

มะเร็งผิวหนังแต่ละชนิดมีอาการไม่เหมือนกัน หากพบความผิดปกติของผิวหนัง ควรสังเกตอาการ และเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที  เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยผิวหนังและรักษาได้ตรงจุด  อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งที่ควรระวังมีดังนี้ 
  • อาการที่เกิดจากร่องรอยจากโรคผิวหนังเช่น การเกิดไฝใหม่ ผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บ หรือผิวหนังที่เป็นสะเก็ดหรือรอยของจุดด่างดำ 
  • ผิวหนังที่ไม่สมดุล: เกิดจากรอยแผลที่ไม่เท่ากัน
  • สี:  สีผิวที่เป็นสีขาว ชมพู ดำ น้ำเงิน หรือสีแดง 
  • มีเส้นผ่านศูนย์กลาง: ผิวที่เป็นจุด ไฝหรือขี้แมลงวัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่านิ้วครึ่ง หรือขนาดประมาณของยางลบหัวดินสอ 
  • การพัฒนาของผิว : ผิวที่มีลักษณะเปลี่ยนไปตามลักษณะของรูปร่างและสี 

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งผิวหนังมีดังนี้ 

  • ตุ่มหรือก้อนที่เกิดขึ้นมีความขรุขระ อาจมีขุย และอาจขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแผล มีสะเก็ด เลือดออก และมีกลิ่น
  • เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีเลือดออก หรือมีสะเก็ดแผลตรงกลางคล้ายหนูแทะ
  • มีผื่นแดงอักเสบ และมีอาการคัน หรือเจ็บแสบ
  • มีตุ่ม นูน สีดำหรือน้ำตาล หรือเป็นสีผิวปกติได้
  • มีผื่นเหมือนแผลเป็นสีขาวเหลือง ขอบไม่ชัดเจน และป็นบริเวณที่ไม่เคยมีแผลบาดเจ็บมาก่อน
  • เป็นก้อนเกิดขึ้นบนผิวหนัง อาจมีสีผิวปกติ หรือแดงเล็กน้อย และมีความแข็ง 

สาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง 

สาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังทั้ง 2 กลุ่ม เกิดจากการพัฒนาของเซลล์ DNA ในผิวหนังของผู้ป่วย หากเซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตและไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์จำนวนมากจะพัฒนาแล้วกลายพันธ์เป็นโรคมะเร็ง  มะเร็งผิวหนังชนิด Basal cell skin cancer  สาเหตุมาจาก จากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ หรือจากการอาบแดด รังสี UV จะทำลาย DNA ภายในผิวโดยตรง เมื่อได้รับการทำลายจะทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้น มะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell สาเหตุมาจาก การได้รับสารเคมีเป็นระยะเวลานาน และทำให้ผิวบริเวณนั้นเป็นแผลไหม้หรือแผลเรื้อรัง และอาจเกิดจากเชื้อ papillomavirus (HPV) บางชนิด ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังเกิดจากอะไร เพราะผู้ป่วยบางรายที่เกิดมะเร็งผิวหนังมาจากผิวหนังที่แตกต่างกัน บางรายการเกิดจากไฝแล้วพัฒนากลายไปเป็นมะเร็งผิวหนัง ส่วนบางชนิดก็เกิดมาจากรังสี UV 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง 

หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติของผิวหนังที่น่าสงสัย หรือผิวหนังเป็นจุด และผิวหนังค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์จะตรวจสภาพผิวหนังของผู้ป่วย ตรวจสอบขนาด รูปร่าง สีผิวของผิวบริเวณนั้นหรืออาจนำชิ้นเนื้อบริเวณที่ผิดปกติไปตรวจในห้องแลป เพื่อให้มั่นใจว่าผิวหนังที่เป็นผิดปกติจะเกิดเป็นมะเร็งประเภทไหน และหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะรักษาตามระยะของอาการ และชนิดของมะเร็งผิวหนัง และตรวจดูสภาพผิวหนังอย่างเป็นขั้นตอน 

การตรวจโรคมะเร็งผิวหนัง

โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) คือ การตรวจเพื่อหาโรคมะเร็งผิวหนังของผู้ป่วย มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยต้องใส่ชุดคลุม ที่มีไว้สำหรับการตรวจโรคมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะเข้ามาทำการตรวจสอบผิวหนังทุกจุด ในบริเวณผิวหนังที่เป็นไฝ หรือมีลักษณะที่เป็นจุดผิดปกติ หากแพทย์พบจุดที่คิดว่าเป็นส่วนของผิวหนังที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังระยะแรก แพทย์จะทำการตรวจสอบและหารือวิธีการรักษากับผู้ป่วย การตรวจผิวหนังที่มีลักษณะผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังโดยเร็วที่สุด จะทำผู้ป่วยไม่กังวลต่อการรักษา เพราะหากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้ และไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว อาจทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะบริเวณใกล้เคียง และทำให้รักษาเพิ่มขั้นตอนไปมากกว่าเดิม การตรวจสภาพผิวหนังที่ผิดปกติสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวอง สังเกตดูจากตำแหน่งผิวที่ได้รับแสง UV โดยตรง เช่นศรีษะ หรือลำคอ หรือแม้แต่ผิวที่อยู่ภายใต้ร่มผ้า เช่นนิ้วเท้า หรือบริเวณขาหนีบ การตรวจสอบมะเร็งผิวหนังด้วยตัวเอง สามารถใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที 

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง 

  • Immunotherapy : การใช้ครีมรักษากับผิวหนังโดยตรงที่เป็นมะเร็ง 
  • excisional surgery: คือการผ่าตัดโดยเอาผิวบางส่วนที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตออกไป 
  • curettage and electrodessication : เป็นการใช้เครื่องมือขูดร่วมกับการจี้ไฟฟ้าขูดผิวหนังที่เป็นตุ่มเนื้อเซลล์มะเร็งออกไป 
  • chemotherapy: เป็นการใช้เคมีบำบัดโดยการทานยา ฉีดยา เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 
  • Biological Therapy การบำบัดทางชีวภาพ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยให้ต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • radiation : การรักษาโดยใช้การแผ่รังสีฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง 
  • cryotherapy: จี้ด้วยความเย็น โดยสารไนโตรเจนเหลวเพื่อให้เซลล์ที่มีลักษณะแข็งละลาย และหลุดออกไป
  • Mohs Surgery: ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังโดยรอบออกหมดทีละชั้น และใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจนกว่าเซลล์มะเร็งจะหมดไป 
  • photodynamic therapy:  การใช้แสงเลเซอร์ทำลายเซลล์มะเร็ง
  • Radiation: การฉายรังสี ใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 
  •  biological therapy : การบำบัดทางชีวภาพ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • immunotherapy:  การรักษาด้วยการใช้ครีม เพื่อให้ครีมต่อสู้กับภูมิคุ้มกันในการฆ่าเซลล์มะเร็ง

ระยะของโรคมะเร็งผิวหนัง 

ระยะของโรคมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะดูว่าลักษณะของขนาดและสภาพผิว และตรวจสอบดูว่าเชื้อมะเร็งมีการกระจายสู่ผิวหนังเพียงใด โรคมะเร็งผิวหนังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ โรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา (nonmelanoma skin cancer) และโรคมะเร็งผิวหนังขะนิดเมลาโนมา (Melonoma) 

ระยะของมะเร็งผิวหนังชนิด Melanoma 

ระยะที่ O เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งได้น้อยมาก เซลล์มะเร็งที่พบจะอยู่ในผิวหนังชั้นกำพร้า ระยะที่ I เซลล์มะเร็งจะแพร่ไปยังผิวหนังชั้นถัดไปคือผิวหนังแท้และกระจายไม่ถึง 2 เซนติเมตร ระยะที่ II เซลล์มะเร็งแพร่ไปไกลเกิน 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ระยะที่ III เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปสู่กระดูกชั้นปฐมภูมิ และเข้าไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง มีขนาดใหญ่เกินกว่า 3 เซนติเมตร  ระยะที่ IV เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปสู่กระดูกชั้นปฐมภูมิ และเข้าต่อมน้ำเหลือง กระดูก มีขนาดใหญ่เกินกว่า 3 เซนติเมตร 

ระยะของมะเร็วผิวหนัง ชนิด Nonmelanoma

ระยะที่ O เซลล์มะเร็งยังอยู่เฉพาะในผิวหนังชั้นกำพร้าเท่านั้น  ระยะที่ I  เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่ผิวหนังชั้นที่สอง แต่ยังมีขนาดเล็ก ระยะที่ II เซลล์มะเร็งยังไม่ได้กระจาย แต่มีขนาดใหญ่แผ่ใหญ่เป็นวงกว้างขึ้น หนาขึ้น แต่อาจมีอาการอื่นๆ เช่นการปรับเปลี่ยนของเม็ดเลือด หรือเป็นสะเก็ด ระยะที่ III เซลล์มะเร็งจะกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อผิวหนังของบริเวณใกล้เคีย ระยะ IV เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจ่ายเข้าต่อมน้ำเหลืองไกลๆ ที่ห่างจากจุดเริ่มต้น  เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นอีกหลังจากได้รับการรักษาแล้ว อาการเหล่านี้เรียกว่า มะเร็งผิวหนังกำเริบ หากแพทย์วินิจฉัยอาการแล้วจะต้องรักษาเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่ออาการมะเร็งผิวหนังกำเนิด ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด 

การป้องกันโรคมะเร็งผิวหนัง 

การป้องโรคมะเร็งผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวได้รับแสงแดด หรือรังสี UV เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น
  • การปล่อยให้ผิวอยู่ใกล้โคมไฟเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ตั้งแต่ช่วงเวลา 10.00 น. (เช้า) ไปจนถึง 16.00 น. (เย็น) ควรอยู่ในที่ร่มในช่วงเวลาดังกล่าว
  • ควรทาครีมหรือโลชั่นที่มีสารป้องกันแสงแดด หรือลิปบาล์มเป็นประจำ ครีมที่ใช้ควรสารป้องกันแสงแดดไม่ต่ำกว่าหรือสูงกว่า SPF อย่างน้อย 30 นาที ก่อนได้รับแสงแดด
  • ควรสวมหมวกบังแดดที่มีลักษณะใหญ่ หากจำเป็นต้องเผชิญในที่ที่อยู่ท่ามกลางแสงแดด ในช่วงเวลากลางวัน
  • ควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ 100%
นอกจากนี้ ควรตรวจเช็คสภาพผิวของคุณอยู่สม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติของผิว ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยตรง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยตามระยะชองอาการ ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้รักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น 

มะเร็งผิวหนังชนิด Nonmelanoma 

โรคมะเร็งผิวหนังชนิด Nonmelanoma รวมอยู่ในมะเร็งชนิดเหล่านี้ร่วมด้วย 
  • angiosarcoma
  • Basal cell carcinoma
  • cutaneous B-cell lymphoma 
  • cutaneous T-cell lymphoma
  • dermatofibrosarcoma protuberans
  • merkel cell carcinoma
  • sebaceous carcinoma
  • squamous cell carcinoma
โรคมะเร็งผิวหนังในประเทศไทย นับว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งผิวหนังน้อย เพราะคนไทยเรามีเซลล์เม็ดสีเมลานินที่สามารถป้องกันแสงแดดได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ทำให้เซลล์ผิวของคนไทยเราไม่ถูกทำลาย และที่สำคัญประเทศไทยมีโอโซนที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงที่เป็นอันตรายมากมาสู่ผิวของคนไทย หากเทียบกับประเทศแถวตะวันตกแล้ว เช่นประเทศอเมริกาเนื่องจากประชากรของประเทศอเมริกามีผิวขาวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังมีมากกว่าคนไทย เพราะพวกเขามีผิวขาวและ มีเม็ดสีน้อย จึงทำให้ก่อเกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ง่ายสังเกตได้ว่าจำนวนจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังของประเทศตะวันตกมีจำนวนที่แตกต่างกันมากหากเทียบกับผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังในประเทศไทย 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง หากอยู่ในสภาวะเสี่ยงดังนี้
  • คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  • สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง เช่น สารหนู  สารเรเดียม สารที่สำหรับทาไม้ 
  • ได้รับรังสีระหว่างการรักษาโรคผิวหนัง เช่นโรคสิว หรือโรคกลาก
  • ได้รับสาร UV มากเกินไป จากแสงแดด โคมไฟ หรือจากแหล่งอื่นๆ
  • อยู่ในที่ที่มีแสงแดดบ่อยเกินไป
  • ทำงานกลางแจ้ง
  • เคยมีประวัติการถูกแดดเผาอย่างรุนแรง
  • มีไฝบนร่างกายหรือมีไฝเม็ดใหญ่ผิดปกติ
  • มีผมสีบลอนด์หรือผมสีแดงตามธรรมชาติ
  • มีตาสีฟ้าหรือสีเขียว
  • มีผิวซีด หรือมีตกกระ
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้ป่วยที่เคยรับการปลูกถ่ายอวัยวะ และใช้รักษาภูมิคุ้มกัน 

ประเภทของแพทย์ที่รักษาโรคมะเร็งผิวหนัง

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง การรักษาควรได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ดังนี้ 
  • แพทย์รักษาโรคผิวหนัง
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้วิธีผ่าตัด 
  • นักรังสีวิทยา ที่รักษาโรคมะเร็งโดยการใช้รังสี
  • ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่รักษาโรคมะเร็งโดยใช้ยา 
ผู้ที่สนับสนุนการรักษาร่วมกับแพทย์ และให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ มีดังนี้  
  • พยาบาล
  • พยาบาลเวชปฏิบัติ
  • ผู้ช่วยแพทย์
  • นักสังคมสงเคราะห์
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นมีอาการดังนี้
  • เซลล์มะเร็งย้อนกลับมา หลักจากได้รับการรักษา
  • การเกิดเซลล์มะเร็งในพื้นที่เดิม และแพร่กระจายไปยังบริเวณโดยรอบ
  • เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อเส้นประสาท หรือบริเวณอวัยวะส่วนอื่น ๆ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว มีความเสี่ยงสูงที่เซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโต และกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด การรักษาแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับอาการ และสภาพผิว รวมถึงประวัติการรักษาโรคผิวหนัง 

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด