โรคเอดส์ (AIDS) : อาการ สาเหตุ การรักษา 

โรคเอดส์คืออะไร

โรคเอดส์ (AIDS) คือโรคมาจากผู้ที่มีเชื้อ HIV ซึ่งเชื้ออาจกลายพันธ์ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ ถึงแม้ว่าผู้ที่มีเชื้อ HIV แต่หากมีการรักษาภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ทันเวลา นั่นก็หมายความว่าผู้ที่มีเชื้อ HIV ก็ไม่ได้หมายความจะกลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ เชื้อ HIV จะฆ่าเซลล์ CD4 ในร่างกายของผู้ใหญ่โดยทั่วไปจะมีค่า CD4 อยู่ที่ 500 ถึง 1,500 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ที่มีเชื้อ HIV ที่มีค่า CD4 ในร่างกายต่ำกว่า 200 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉันว่าเป็นโรคเอดส์ หากผู้ป่วยมีเชื้อ HIV และกลายพันธุ์เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infection) หรืออาจเป็นโรคมะเร็ง  แต่ค่อนข้างพบได้ยากได้ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคที่ติดเชื้อฉวยโอกาส เช่นโรค ปอดบวมหรือปอดอักเสบ ลักษณะของโรคเอดส์ระบบเซลล์ในร่างกายจะถูกทำลายได้ง่าย หากผู้ป่วยมีเชื้อ HIV ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อ HIV สามารถเจริญเติบโตสู่โรคเอดส์ได้ภายในระยะเวลา 10 ปี ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอดส์ไม่มีวิธีรักษา ผู้ป่วยโรคเอดส์จะอายุอยู่ได้แค่ระยะเวลาประมาณ 3 ปี หากเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีการรักษา แต่หากมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ HIV การกลายพันธ์เป็นเชื้อเข้าสู่โรคเอดส์ นั้นหมายถึงว่า เชื้อลุกลามและทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องและทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อ HIV ได้อีกต่อไป ผลกระทบของโรคเอดส์เสี่ยงเป็นโรคเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น :
  • โรคปอดอักเสบ
  • วัณโรค
  • โรคเชื้อราที่ปากหรือลำคอ
  • โรคติดเชื้อ CMV  
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 
  • ภาวะติดเชื้อปรสิตขึ้นสมอง 
  • ภาวะโรคในลำไส้
  • โรคมะเร็ง 
  • โรคมะเร็งหลอดเลือด
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 
ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีเสียชีวิตเร็ว หรือไม่ได้รับการรักษาได้ทันเวลา อาจมีผลเกิดจากเป็นโรคภาวะแทรกซ้อน ด้วยซึ่งนั่นมาจากระบะภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ HIV คืออะไร HIV เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย หากภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อ HIV ที่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะฆ่าเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า T cells เมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่ HIV ฆ่าเซลล์ CD4 มากขึ้น ร่างกายที่ได้รับการติดเชื้อ HIV อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งได้ต่อไปอีก  HIV สามารถแพร่เชื้อผ่านของเหลวในร่างกาย ได้แก่ :
  • เลือด 
  • น้ำอสุจิ 
  • ของเหลวในช่องคลอดและทวารหนัก 
  • น้ำนม
เชื้อไวรัสชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายในอากาศ น้ำ หรือการสัมผัสแบบปกติ  เชื้อ HIV ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนกำลังหาวิธีรักษาอยู่ อย่างไรก็ตามการดูแลจากทางการแพทย์รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นวิธีที่สามารถจะจัดการกับเชื้อ HIV ได้  หากไม่มีการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีอาการรุนแรง และมีอาการที่อยู่ในภาวะที่เรียกว่าโรคเอดส์  เมื่อถึงเวลานั้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อ จะเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องและทำให้ร่างกายอ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อสู้กับเชื้อได้ หากร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้ออื่นๆ อยู่ด้วย และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาได้ทันเวลา ผู้ป่วยโรคเอดส์อาจมีชีวิตได้เพียงประมาณ 3 ปี การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส HIV สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี และอาจสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือนกับคนปกติทั่วไปที่ร่างกายไม่มีเชื้อ HIV

สาเหตุของเชื้อ HIV

เชื้อ  HIV รูปแบบของไวรัสโดยเริ่มจากการติดเชื้อในลิงชิมแปนซีในแอฟริกา นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่า simian immunodeficiency virus (SIV) เกิดจากชิมแปนซีสู่มนุษย์ โดยที่ผู้คนบริโภคเนื้อชิมแปนซีที่ติดเชื้อเข้าไปไวรัสจึงกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่เรารู้จักกันคือเชื้อ HIV  ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1920 หรือ พ.ศ. 2463 เชื้อ HIV แพร่กระจายจากคนสู่คนทั่วแอฟริกาในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา  และในที่สุดไวรัสก็ได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเชื้อ HIV ในตัวอย่างเลือดมนุษย์เป็นครั้งแรกในปี  พ.ศ. 2502 

สาเหตุของโรคเอดส์

HIV คือ โรคเอดส์เกิดจากเชื้อ HIV มนุษย์ไม่สามารถเป็นโรคเอดส์ได้หากยังไม่ติดเชื้อ HIV  บุคคลที่มีสุขภาพดีและมีจำนวนเซลล์ CD4 500 ถึง 1,500 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร หากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมเชื้อ HIV เชื้อจะทวีคูณและทำลายเซลล์ CD4 ถ้าจำนวนเซลล์ CD4 ของมนุษย์ต่ำกว่า 200 นั่นหมายถึงการเข้าสู่ภาวะเป็นโรคเอดส์  เชื้อ HIV และโรคเอดส์: มีความเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร  ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์คือผู้ที่เชื้อ HIV กลายพันธ์เป็นโรคเอดส์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่มีเชื้อ HIV จะเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เสมอไป  กรณีของการเจริญเติบโตของเชื้อ HIV มีอยู่ 3 ระยะดังนี้  ระยะที่ 1: ระยะเฉียบพลัน หรือในช่วงสองสามสัปดาห์แรกหลังการได้รับเชื้อ ระยะที่ 2: ระยะแอบแฝงหรือระยะเรื้อรัง ระยะที่ 3: เข้าสู่ภาวะโรคเอดส์ หรือเอดส์ระยะสุดท้าย เมื่อ HIV ทำให้จำนวนเซลล์ CD4 ลดลง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลง จำนวน CD4 ของร่างกายผู้ใหญ่โดยทั่วไป คือ 500 ถึง 1,500 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร คนที่มีค่าต่ำกว่า 200 ถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ กรณีของเชื้อ HIV หากเกิดขึ้นได้เร็ว  จะมีความแตกต่างของระยะเรื้อรังแตกต่างกันออกไป และโรคเอดส์ยังไม่มีวิธีรักษา แต่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อได้ และการรักษาสามารถด้วยยาต้านไวรัสสามารถยืดระยะเวลาของผู้ป่วยได้   เชื้อ HIV และโรคเอดส์มีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกัน การติดต่อของโรคเอดส์ เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้โดยของเหลวในร่างกาย ดังนี้ : 
  • เลือด 
  • น้ำอสุจิ 
  • ของเหลวในช่องคลอดและทวารหนัก 
  • น้ำนม
เชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ได้แก่ :
  • ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก พบได้บ่อยที่สุดโดยเฉพาะในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น 
  • การใช้ข้าวของเครื่องร่วมกัน โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ 
  • ในระหว่างตั้งครรภ์ คลอดลูก หรือติดจากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างให้นมลูก
  • ผ่าน การบด หรือเคี้ยวอาหารก่อนให้ทารกรับประทาน
  • ผ่านการสัมผัสกับเลือดของคนที่มีเชื้อ HIV เช่น เข็มฉีดยา
กรณีที่พบได้ยาก ที่พบการแพร่เชื้อ HIV โดยวิธีต่างๆ ดังนี้ :
  • ออรัลเซ็กซ์ (เฉพาะในกรณีที่มีเลื่อดออกทางเหงือกหรือแผลเปิดในปากของผู้มีเซ็กส์ด้วยการใช้ปาก)
  • ถูกกัดโดยผู้ติดเชื้อ HIV (เฉพาะในกรณีคนที่มีน้ำลายเป็นเลือดหรือมีแผลเปิดในปาก)
  • การสัมผัสผิวหนังที่เป็นบาดแผลหรือเยื่อเมือกและเลือดของคนที่ติดเชื้อ HIV
เชื้อ HIV ไม่แพร่กระจายผ่าน :
  • สัมผัสกับผิวหนัง
  • กอด จับมือหรือจูบ
  • อากาศหรือน้ำ
  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกัน
  • การใช้ห้องน้ำผ้าเช็ดตัวหรือเครื่องนอนร่วมกัน
  • ยุงหรือแมลงอื่น ๆ

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยเชื้อ HIV

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยเชื้อ HIV สามารถสอบในหลายวิธีแตกต่างกัน แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยและใช้วิธีทดสอบที่เหมาะกับร่างกายผู้ป่วยมากที่สุด 

การทดสอบแอนติบอดี / แอนติเจน

การทดสอบแอนติบอดี / แอนติเจนเป็นวิธีการทดสอบที่ใช้กันมากที่สุด วิธีนี้จะแสดงผลลัพธ์ในเชิงบวก ใช้เวลาโดยประมาณ 18-45 วัน จะรู้สาเหตุและแหล่งที่มาจากการได้รับเชื้อ HIV ในขั้นต้น การทดสอบนี้ใช้เพื่อตรวจสอบเลือดหาแอนติบอดีและแอนติเจน แอนติบอดีเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายใช้ต่อสู้กับเชื้อ ในทางกลับกันแอนติเจนเป็นส่วนหนึ่งของไวรัสที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

การทดสอบแอนติบอดี้

การทดสอบนี้จะตรวจสอบเลือดเพื่อหาแอนติบอดี ในระหว่าง 23-90 วัน หลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตรวจพบเชื้อในเลือดหรือน้ำลาย การทดสอบด้วยวิธีนี้ไม่ยุ่งยากและสามารถทราบผลภายใน 30 นาที หรือน้อยกว่า สามารถตรวจเช็คได้ตามคลินิกทั่วไป 

การทดสอบแอนติบอดี้ด้วยวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เช่น :

  • ชุดตรวจสอบ HIV แบบ Oral Quick HIV Testทางช่องปาก โดยใช้ไม้เล็กๆ กวาดในช่องปาก วิธีนี้จะทราบผลได้ระยะเวลาเพียง 20 นาที  
  • ชุดตรวจสอบ HIV แบบ Home Access HIV-1 Test System เป็นการเจาะเลือดแล้วหยอดใส่ชุดตรวจ ซึ่งสามารถตรวจได้เองที่บ้าน และสามารถทราบผลได้ในวันถัดไป 
หากสงสัยว่าเคยได้รับเชื้อ HIV ควรทำการทดสอบเชื้อด้วยตัวเองก่อนที่บ้าน และควรทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากผ่านไปแล้วสามเดือน หากผลยังออกมาเป็นบวก ควรรีบพบแพทย์ทันที  เพื่อปรึกษาและทดสอบผลเพื่อให้แพทย์ยืนยันและเข้ารับการรักษาทันที

การทดสอบ Nucleic Acid Amplification Testing (NAT)

วิธีนี้จะทำงานด้วยการตรวจเพื่อหาตัวเชื้อ HIV โดยตรง ฉะนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องรออีกต่อไปหลังได้รับความเสี่ยงมา ร่างกายต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการตรวจหาเชื้อไวรัส แล้วจึงสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อ และช่วงเวลาตั้งแต่ที่เราได้รับเชื้อมา จนถึงช่วงที่ร่างกายสร้างภูมินี้เองที่เราเรียกกันว่า ระยะฟักตัว หรือ (Window Period) วิธีนี้เป็นการช่วยร่นระยะเวลาฟักตัว และจะทำให้เรารู้เร็ว และสามารถดูแลตัวเองได้เร็ว และยังยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างทันท่วงที ใช้เวลา 5 ถึง 21 วันเพื่อให้

ช่วง HIV window period คืออะไร

“Window Period” คือ “ช่วงเวลาที่ผู้ได้รับเชื้อมา แต่ยังตรวจไม่พบเชื้อ”เมื่อร่างกายผู้ป่วยได้รับเชื้อ HIV ระหว่างนี้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะตอบสนองต่อแอนติเจน (ส่วนหนึ่งของไวรัส) โดยร่างกายผลิตแอนติบอดี (เซลล์ที่ต่อสู้กับไวรัส) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของแอนติบอดี HIV ที่สามารถตรวจพบได้ภายใน 23 ถึง 90 วันหลังการติดเชื้อ  หากผลเป็นบวก ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ผู้อื่นได้  ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะนี้หากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV อาจยังไม่แสดงอาการใดๆ  ส่วนผู้ที่มีผลเป็นลบ ก็อาจจะสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้เช่นกัน แต่หากยังสงสัยและอยากยืนยันควรทดสอบผลซ้ำอีกครั้ง (ระยะเวลาในการทดสอบครั้งต่อไปขึ้นอยู่กับวิธีทดสอบที่ใช้) และควรใช้ยาป้องกันเชื้อ HIV แบบ PEP โดยเร็วที่สุดหลังที่ได้รับเชื้อ  (PEP) คือ Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน  ส่วนอีกทางหนึ่งคือการป้องกันการติดเชื้อ HIV คือการป้องกันโดยวิธี PreExposure Prophylaxis คือการให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV ก่อนมีการสัมผัส (pre-exposure) ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกัน (prophylaxis) การติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น PrEP สามารถให้ได้ทั้งในรูปยากิน หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ (microbicides)ในรูปเจลผสมยาต้านไวรัสใส่ในช่องคลอด หรือในทวารหนัก และห่วงบรรจุยาต้านใส่ในช่องคลอด

อาการของคนเป็นโรคเอดส์

อาการเบื้องต้นของเอดส์ ใน 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากของติดเชื้อ HIV เรียกว่าระยะการติดเชื้อระยะเฉียบพลัน หรือเอดส์ระยะแรก ในช่วงเวลานี้ไวรัสจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะตอบสนองโดยการผลิตแอนติบอดี HIV คือสารโปรตีนที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการใดๆเลย แต่จะมีอาการหลังจาก 2-3 เดือนที่ได้รับเชื้อแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่า เป็นอาการที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะมีอาการคล้ายๆกับไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ :
  • มีไข้
  • รู้สึกหนาว
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม
  • มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ขึ้นผื่นที่ผิวหนัง
  • รู้สึกเจ็บคอ
  • มีอาการปวดหัว
  • มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม 
  • ท้องเสีย
ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการหรือไม่ ในช่วงเวลานี้ปริมาณไวรัสของเชื้อ HIV จะเพิ่มจำนวนสูงมากในกระแสเลือด และสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่าย อาการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้นอาจรักษาได้ทันภายในไม่กี่เดือน แต่หากผู้ป่วยเข้าสู่ระยะแฝงหรือระยะเรื้อรังจะต้องใช้เวลาเป็นปีในการรักษา

อาการของผู้ติดเชื้อ HIV มีอะไรบ้าง

หลังจากเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายในเดือนแรก เชื้อ HIV อาจนำไปสู่ระยะแฝง ผู้ป่วยระยะนี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในระยะเวลาไม่กี่ปีไปจนถึง 10 ปี   ผู้ป่วยอาจมีอาการน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย อาการที่ปรากฏ อาจไม่เหมือนคนติดเชื้อ HIV ที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน เช่น
  • ปวดหัวและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • มีไข้กำเริบ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • เป็นผื่นที่ผิวหนัง
  • การติดเชื้อราในช่องปากหรือช่องคลอดอยู่บ่อยๆ
  • เป็นโรคปอดอักเสบ
  • เป็นโรคงูสวัด
อาการเหล่านี้เป็นเช่นเดียวกับในระยะเริ่มแรกของการได้รับเชื้อ HIV ถึงแม้จะไม่มีอาการแต่สามารถติดต่อกับคนอื่นได้  หากมีอาการเหล่านี้และสงสัยว่าติดเชื้อ HIV ควรได้รับการตรวจในทันที  อาการติดเชื้อ HIV ในระยะนี้ อาจปรากฏหรือไม่ปรากฏหรืออาจจะมีการเจริญเติบโตของเชื้อ HIVอย่างรวดเร็วแต่สามารถชะลอได้จากการรักษา ด้วยการใช้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอก่อนเข้าสู่ระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายสิบปี และเชื้ออาจไม่พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์หากมีการรักษาอย่างเพียงพอ

ผื่นเป็นอาการของการติดเชื้อ HIV หรือไม่

AIDS คือ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อ HIV จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพผิว ผื่นคันมักเป็นอาการแรกของการติดเชื้อ HIV โดยทั่วไปผื่นจากการติดเชื้อ HIV จะเกิดขึ้นเป็นรอยสีแดงเล็ก ๆ กลมและนูน ผื่นที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ HIV  เชื้อ HIV ทำให้ผู้ป่วยมีผิวอ่อนแอ เนื่องจากเชื้อไวรัสทำลายเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อสู้กับเชื้อ  โรคผิวหนังอื่นๆร่วมด้วย ที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV ได้แก่ :

ผื่นที่มีผลมาจากยา

ยาที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV อาจทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยขึ้นผื่นได้ ยาบางตัวที่ใช้รักษา HIV ผื่นชนิดนี้มักจะปรากฏภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากเริ่มใช้ยา ในบางครั้งผื่นจะหายไปเอง ถ้าผู้ป่วยขึ้นผื่นระหว่างการใช้ยา อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยารักษา ผื่นที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการallergy-0094/”>แพ้ยาอาจทำให้มีอาการวิงเวียน มีไข้ หรือมีปัญหาในการหายใจ 

ผู้ป่วยผู้ชายที่มีเชื้อ HIV

อาการติดเชื้อ HIV จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่อาจคล้ายคลึงกันในระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย อาการอาจปรากฏหรือไม่ปรากฏ และจะแย่ลงเรื่อยๆ  หากผู้ป่วยได้รับเชื้อ HIV จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม    โรคซิฟิลิส ผู้ชายอาจมีโอกาสมากกว่าผู้หญิงที่จะมีอาการจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สังเกตเห็นได้ง่ายเช่น เป็นแผลที่อวัยวะเพศ

ผู้ป่วยผู้หญิงที่มีเชื้อ HIV

ส่วนใหญ่อาการของผู้ติดเชื้อ HIV จะคล้ายกันในผู้ชายและผู้หญิง อย่างไรก็ตามอาการที่พบโดยรวมอาจแตกต่างกันไปตามความเสี่ยงของผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงอาจมีโอกาสน้อยกว่าผู้ชาย และสังเกตุเห็นได้น้อยกว่า เช่นอาจะมีจุดเล็กๆที่อวัยวะเพศ  นอกจากนี้ผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก:
  • การติดเชื้อราในช่องคลอด
  • การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
  • โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)
  • การเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน
  • Human papillomavirus (HPV) เกิดหูดที่อวัยวะเพศและนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก
ความเสี่ยงอีกประการสำหรับผู้หญิงที่มีเชื้อ HIV คือไวรัสสามารถถ่ายทอดไปยังทารกในระหว่างตั้งครรภ์ได้  อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นวิธีที่ถือว่าปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีความเสี่ยงต่ำที่จะแพร่เชื้อ HIV ไปยังทารกขณะตั้งครรภ์และคลอดบุตรส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจส่งผลกระทบไปยังลูกได้  

อาการของโรคเอดส์มีอะไรบ้าง

โรคเอดส์หมายถึงกลุ่มอาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ด้วยเงื่อนไขนี้ หากร่างกายไม่ได้รับการรักษา ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะอ่อนแอลง  หากผู้ป่วยได้รับเชื้อ HIV และได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรับยาด้านไวรัสเชื้ออาจไม่พัฒนากลายไปสู่โรคเอดส์ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะโรคเอดส์ส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อ HIV ในระยะแรก เลยทำให้กลายพันธ์นำไปสู่ภาวะโรคเอดส์  อาการของโรคเอดส์อาจรวมถึง :
  • มีไข้กำเริบ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณรักแร้คอและขาหนีบ
  • ร่างกายอ่อนเพลีย 
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • มีรอยจ้ำๆ สีเข้ม ใต้ผิวหนัง หรือภายในปากจมูกหรือเปลือกตา
  • เป็นแผลในปาก ลิ้น อวัยวะเพศหรือทวารหนัก
  • เป็นแผล และผื่นแดงบนผิวหนัง
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • ปัญหาทางระบบประสาทเช่นปัญหาในการมีสมาธิ  สูญเสียความจำและมีความวิตกกังวล
  • มีภาวะซึมเศร้า
การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะควบคุมไวรัสและป้องกันการลุกลามของไวรัสโรคเอดส์ การติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเอดส์สามารถรักษาได้เช่นกัน การรักษานั้นจะต้องปรับให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคลของบุคคล

ตัวเลือกการรักษาเอชไอวี

การรักษาควรเริ่มรักษาโดยเร็วที่สุดหลังจากการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นการรวมกันของยาหยุดไวรัส  และจะช่วยปกป้องเซลล์ CD4 ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับโรคได้ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื่อช่วยป้องกัน HIV เข้าสู่ภาวะการเป็นโรคเอดส์ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ HIV ไปสู่ผู้อื่นอีกด้วย เมื่อการรักษามีประสิทธิภาพอาจทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ Undetectable = Untransmittable คือปรากฏการณ์ที่ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีกินยาต้านไวรัสและกินยาต่อเนื่องอย่างสม สม่ำเสมอ และตรงเวลาเพื่อการรักษาจนระดับของไวรัสต ต่ำกว่าระดับที่ตรวจพบหรือที่ เรียกว่า Undetectable ผู้ที่อยู่ในภาวะดังกล่าวจะไม่แพร่กระจายเชื้อ HIV วีทางเพศสัมพันธ์หรือ Untransmittable

ยารักษา HIV

มียาต้านไวรัสมากกว่า 25 ชนิดได้รับการอนุมัติให้รักษาผู้ติดเชื้อ HIV  ซึ่งทำหน้าที่เพื่อป้องกันเชื้อ HIV จากการทำลายเซลล์ CD4 และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับ HIV รวมถึงการแพร่ไวรัสไปยังผู้อื่น 

ยาต้านไวรัสเหล่านี้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ :

  • ยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์รีเวิร์สทรานสคริปเตส
  • ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์รีเวิร์สทรานสคริปเตส
  • ยายับยั้งเอไซม์โปรตีนเอส
  • สารยับยั้งการแยกส่วนของไวรัสเข้าสู่เซลล์
  • สารยับยั้ง CCR5
  • สารยับยั้งเอมไซม์อินทีเกรส

ผลข้างเคียงและค่ารักษา

ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแตกต่างกันไป หากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ปวดหัวและเวียนศีรษะ อาการเหล่านี้มักจะเกิดชั่วคราวและหายไปในในระยะเวลาไม่นาน ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอาจมีอาการบวมของปากและลิ้น ตับหรือไตถูกทำลาย หากผลข้างเคียงรุนแรง สามารถปรับเปลี่ยนยาได้ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลรักษา หรือประเภทการประกันชีวิต

การป้องกันการติดเชื้อ HIV

แม้ว่านักวิจัยหลายคนกำลังพัฒนาเพื่อหาวิธีรักษาการได้รับเชื้อ HIV ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการแพร่เชื้อ HIV  ควรปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ด

เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

วิธีที่พบบ่อยที่สุดในการแพร่เชื้อ HIV คือการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางช่องคลอดโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ความเสี่ยงนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะรับเชื้อ HIV ได้ ยกเว้นเสียแต่ว่าจะไม่มีเพศสัมพันธ์เลย แต่ความเสี่ยงสามารถลดลงได้ หากปฏิบัติวิธีที่ถูกต้อง ดังนี้ : 
  • ควรชวนคู่รักไปตรวจเชื้อ HIV 
  • ควรทดสอบสำหรับการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ 
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์  ไม่ว่าจะผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก เนื่องจากเชื้ออสุจิอาจทำให้ติดเชื้อได้ 
  • ไม่ควรมีคู่นอนหลายคู่
  • กินยาตามที่แพทย์สั่ง หากร่างกายได้รับเชื้อ HIV  การกินยาจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คู่นอนได้

วิธีการป้องกันอื่น ๆ

วิธีที่สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ได้แก่ :
  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น เพราะ เชื้อ HIV สามารส่งผ่านทางเลือดและสามารถติดเชื้อได้โดยการใช้เข็มร่วมกัน
  • ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV แบบ PEP ควรปรึกษาแพทย์ถึงการดำเนินชีวิต เพื่อสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV ได้
  • ผู้ที่อยู่ประเภท PrEP คือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนเข้ารับยา (PrEP) หากดูแลตัวเองและทานยาอย่างสม่ำเสมออาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อHIV ได้  ยาส่วนใหญ่ของการรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบเม็ด

การรับมือเมื่อเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ HIVสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV สามารถลดปริมาณไวรัสได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยการใช้ทานยาตามที่กำหนด เชื้อไวรัส HIV อาจลดลงและระบบภูมิคุ้มกันจะแข็งแรงขึ้น และควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ การป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ มีดังนี้ :
  • ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง และควบคุมอาหารการกิน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงยาสูบและยาเสพติดอื่น ๆ
  • ควรรายงานอาการใหม่ให้แพทย์ทราบอยู่เสมอ
เน้นการรักษาสุขภาพทางอารมณ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือผู้มีประสบการณ์ที่ติดเชื้อ HIV ทำความเข้าใจกับการมีเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีที่ถูกต้อง พูดคุยกับคู่นอน  เข้ารับการตรวจการติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับยาป้องกันเชื้อ HIV ก่อนติดโรค สำหรับผู้ป่วยประเภท PrEP และ PEP เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อได้ PrEP ได้รับการแนะนำบ่อยที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีในความสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แต่สามารถใช้ในสถานการณ์อื่นได้เช่นกัน ควรตรวจสอบตัวเองและคู่รัก และบอกคนใกล้ตัวเกียวกับผลการตรวจ เพื่อช่วยกันป้องกันดูแลระหว่างการอยู่ร่วมกัน การให้กำลังใจ  ควรให้กำลังใจผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้ตามปกติ หากร่างกายได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

มีวัคซีนสำหรับ HIV หรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือรักษา HIV การวิจัยและทดสอบวัคซีนทดลองยังคงดำเนินต่อไป HIV เป็นไวรัสที่ซับซ้อน มันสามารถกลายพันธุ์ (เปลี่ยนแปลง) อย่างรวดเร็วและมักจะสามารถป้องกันการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยที่มีเชื้อ HIV ที่พัฒนาแอนติบอดี้ที่เป็นกลางและเป็นแอนติบอดีที่สามารถต่อสู้กับสายพันธุ์ของเชื้อ HIV

ระยะเวลาการมีชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์

ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้แบบคนปกติทั่วไป แต่อายุการใช้ชีวิตของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยปัจจัยเหล่านี้ เช่น
  • จำนวนเซลล์ CD4
  • โหลดของไวรัส
  • การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีที่ร้ายแรงรวมถึงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • การใช้ยา
  • ที่สูบบุหรี่
  • การเข้าถึงการยึดมั่นและการตอบสนองต่อการรักษา
  • เงื่อนไขสุขภาพอื่น ๆ
  • อายุ

คำถามที่พบบ่อย

โรคเอดส์เป็นแล้วหายหรือไม่ ไม่มีวิธีรักษา HIV แต่คุณสามารถควบคุมได้ด้วยการรักษา HIV คนส่วนใหญ่สามารถควบคุมไวรัสได้ภายในหกเดือน ผู้ป่วยเอดส์อยู่ได้นานแค่ไหน  ด้วยการรักษาและการดูแลที่ถูกต้อง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ ผู้ที่มีการตอบสนองที่ดีต่อการรักษาเอชไอวีมีโอกาสที่ดีในระยะยาว คุณสามารถเพิ่มอายุขัยได้โดยการไม่สูบบุหรี่และมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ทำไมโรคเอดส์ถึงรักษาไม่หาย เอชไอวีนั้นรักษาให้หายได้ยากมากเพราะไวรัสยังคงอยู่ในแหล่งกักเก็บที่เสถียรซึ่งระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถตรวจจับได้

ใช้ชีวิตอย่างไรเมื่อเป็นเอดส์

Iหากคุณมีเชื้อ HIV คุณสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดย:
  • เข้ารับการรักษาทันทีเมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี คุณควรหาผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีประสบการณ์ในการรักษาเอชไอวี
  • รับประทานยาทุกวัน
  • ไปพบแพทย์ทุกครั้งหากมีอาการไม่ดี 
  • ไปหาหมอและทำฟันตามปกติ
  • การจัดการความเครียดและการรับการสนับสนุน เช่น จากกลุ่มสนับสนุน นักบำบัด และองค์กรบริการสังคม
  • พยายามใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี ได้แก่ :
    • การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้จะทำให้ร่างกายของคุณมีพลังงานที่จำเป็นในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีและการติดเชื้ออื่นๆ สามารถช่วยคุณจัดการกับอาการของเอชไอวีและผลข้างเคียงของยาได้ นอกจากนี้ยังอาจปรับปรุงการดูดซึมยาเอชไอวีของคุณ
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้สามารถเสริมสร้างร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันของคุณ นอกจากนี้ยังอาจลดความเสี่ยงของภาวะ ซึมเศร้า
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับมีความสำคัญต่อความแข็งแรงของร่างกายและสุขภาพจิตของคุณ
    • ไม่สูบบุหรี่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะต่างๆ เช่น มะเร็งและการติดเชื้อบางชนิด การสูบบุหรี่อาจรบกวนการใช้ยาของคุณ
    • หลีกเลี่ยงการดื่มหนักหรือเสพยาที่ผิดกฎหมาย พวกเขาสามารถทำลายตับของคุณ ซึ่งหมายความว่ายาเอชไอวีของคุณอาจไม่ทำงานเช่นกัน นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อได้ยากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวีไปยังผู้อื่น คุณควรบอกคู่นอนของคุณว่าคุณมีเชื้อเอชไอวีและใช้ถุงยางอนามัยเสมอ หากคู่ของคุณหรือคู่ของคุณแพ้น้ำยางคุณสามารถใช้ถุงยางอนามัยโพลียูรีเทนได้

ลิงค์ข้อมูลด้านล่างคือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.hiv.gov/hiv-basics/overview/about-hiv-and-aids/what-are-hiv-and-aids
  • https://aidsinfo.nih.gov/understanding-hiv-aids/fact-sheets/19/45/hiv-aids–the-basics
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiv-aids/symptoms-causes/syc-20373524
  • https://www.who.int/health-topics/hiv-aids/
  • https://kidshealth.org/en/teens/std-hiv.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด