• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

งูสวัด (Shingles) : อาการ สาเหตุ วัคซีน ใครที่มีความเสี่ยงเป็น

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
09/02/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคผิวหนัง, โรคระบบประสาท
0
งูสวัด
0
SHARES
427
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • งูสวัด
  • สาเหตุของงูสวัด
  • วัคซีนป้องกันงูสวัดมีหรือไม่
  • งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • การรักษางูสวัดเองที่บ้าน
  • การวินิจฉัยงูสวัด (Shingles)
  • ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด
4.7 / 5 ( 54 votes )

งูสวัด 

งูสวัดหรือ (Shingles) คือการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสชื่อว่า varicella-zoster เป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส คุณจะเป็นอีสุกอีใสก่อน และเชื้อยังจะสามารถอยู่ในระบบประสาทได้หลายปีก่อนที่จะกลับมาเป็นงูสวัดอีกครั้ง เมื่อมีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว โรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง ป่วย หรือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และเครียด

สาเหตุของงูสวัด

งูสวัดเกิดจากอะไร  การติดเชื้อไวรัส varicella-zoster งูสวัดบางคนเรียกว่าโรคเริมงูสวัด เพราะเป็นไวรัสในกลุ่มเริม ชนิดเดียวกับเริมที่อวัยเพศ และริมฝีปาก 

อาการของงูสวัด แบ่งเป็นระยะดังนี้

อาการระยะของโรคงูสวัดจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน มีผื่นแดง เกิดขึ้นตามร่างกายเป็นหย่อม ๆ อาการงูสวัดเริ่มต้นอาจจะคล้ายกับผื่นคันทั่วไปแต่ให้สังเกตุอาการอื่น ๆ ที่ตามมา ว่าที่ผู้ป่วยเป็นคือผื่นงูสวัดหรือไม่

หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่สอง  ผื่นแดงคันนี้อาจจะมีตุ่มน้ำพองร่วมด้วย อาจจะเกิดขึ้นได้บริเวณลำตัว หรือใบหน้า และนอกจากผื่นแดงพวกนี้แล้วอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยในบางคน อาจจะไม่เกิดขึ้นกับทุกคน เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยตุ่มคันเหล่านี้จะหายเองได้ในเวลา สองอาทิตย์

ในระยะที่สามแผลจะแห้งตกสะเก็ด คือหายแล้วแต่ยังปวดในผิวบริเวณที่เป็นแผลอยู่ บางครั้งอาจจะปวดนานเป็นเดือนซึ่งอาการแตกต่างกันออกไป

โรคแทรกซ้อนของงูสวัดที่ร้ายแรงแต่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีดังนี้ :

  • สูญเสียการได้ยิน หรือปวดในหูอย่างรุนแรง เวียนหัว ไม่สามารถรับรสอาหารได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรค Ramsay Hunt ต้องรักษาโดยด่วน
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังหากผิวของผู้ป่วยแดงบวมและร้อนตลอดเวลา
  • ปวดตา หรือมีผื่นขึ้นที่ตา ซึ่งควรได้รับการรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของอย่างตาถาวร

งูสวัดขึ้นตา

งูสวัดที่เกิดที่ดวงตามีชื่อว่า Herpes zoster ophthalmicus สาเหตุเกิดจากการเชื้อครั้งแรกแล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ทั้งหมด ตัวเชื้อจึงไปอยู่ตามประสาทคู่ที่ 5 นั่นคือเส้นประสาทบริเวณดวงตา งูสวัดที่ตาจะเกิดขึ้นประมาณ 10 – 25 % ของโรคงูสวัด ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในลูกตา อาจส่งผลให้ปวดตามเส้นประสาทรอบดวงตา หรือสูญเสียการมองเห็น อาการปวดตามเส้นประสาทรอบดวงตาได้

อาจจะเป็นผื่นหรือตุ่มพองที่เปลือกตา และจะทำให้ตาบวม แดง และมองอะไรไม่ชัดเจนมีภาพเบลอ หากได้รับการรักษาอาจจะทำให้ตาบอดได้

งูสวัดที่หลัง

โรคงูสวัด

โรคงูสวัด ผื่นมักจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ด้านหนึ่งของรอบเอวของผู้ป่วย และมีแผลพุพองร่วมด้วย เคยมีความเชื่อว่าหากเป็นงูสวัดรอบเอวแล้วจะทำให้ตายได้ แต่มันไม่เป็นความจริง ซึ่งความจริงแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดทั้งสองด้านของร่างกายหรือเกิดขึ้นรอบเอว อาจจะเป็นผู้ป่วยที่ มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำมาก ร่างกายอ่อนแอ อาจจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เมื่ออาการของงูสวัดกำเริบ ก็จะเกิดการลุกลามได้มากกว่าปกติ และอาจจะเสียชีวิตจึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการเป็นงูสวัดรอบเอวจะเสียชีวิตได้

งูสวัดบนใบหน้า 

ส่วนใหญ่แล้วโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นที่ด้านหลังหรือหน้าอก แต่ผู้ป่วยสามารถเป็นผื่นงูสวัดขึ้นที่ใบหน้าได้ แผลงูสวัดบนใบหน้าอาจจะไม่สวยงาม ควรทายารักษาแผลเป็น

หากผื่นอยู่ใกล้ใบหู บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเกี่ยวกับความสมดุลของกล้ามเนื้อใบหน้าของผู้ป่วย

หากเป็นงูสวัดในปาก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดมาก ทำให้ยากต่อการรับประทานอาหาร

วัคซีนป้องกันงูสวัดมีหรือไม่ 

ปัจจุบันในในประเทศไทยมีวัคซีนป้องการโรคงูสวัดเพียงชนิดเดียว ได้แก่วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ที่ถูกทำให้เชื้อเจอจางลง การฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ร้อยละ 69.8% งูสวัดในเด็กจะเกิดขึ้นน้อยมาก ยกเว้นแต่เป็นอีสุกอีใสเท่านั้น

วิธีรักษางูสวัด

ยังไม่มีการรักษาโรคงูสวัดได้โดยตรง แต่การเข้ารับการดูแลอย่างด่วนจะป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากงูสวัดเกิดขึ้นคุณควรเข้ารับการรักษาภายใน 72 ชั่วโมง แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการและลดระยะเวลาการติดเชื้อ

ตัวยาที่แพทย์จะสั่งจ่ายยารักษางูสวัดเพื่อรักษาตามอาการมีดังนี้

  • ยาแก้อักเสบจำพวก ibuprofen ลดอาการอักเสบปวดบวม
  • ยาแก้ปวด anticonvulsants หรือ tricyclic antidepressants
  • ยารักษาอาการคัน เช่น diphenhydramine (Benadryl)
  • capsaicin (Zostrix) ลดอาการปวดเส้นประสาทที่จะเกิดขึ้นหลังจากงูสวัดหาย

งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่ 

โรคงูสวัดติดต่อทางไหน ติดต่ออย่างไร งูสวัดไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่ไวรัส varicella-zoster สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสได้ แต่จะไม่สามารถติดงูสวัดจากคนที่เป็นงูสวัด ยกเว้นแต่จะเป็นอีสุกอีใสแล้วรับเชื้อมาเก็บไว้ในร่างกายและกายเป็นงูสวัดได้ภายหลัง

เพื่อป้องกันการลุกลามและแพร่กระจายของไวรัส หากคุณมีโรคงูสวัด คุณควรรักษาความสะอาดบริเวณผื่นคันอย่าสัมผัสบริเวณนั้นและล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรออกไปนอกบ้าน หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนอน และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้อื่น 

การรักษางูสวัดเองที่บ้าน

วิธีรักษางูสวัดเบื้องต้น การบรรเทารักษาอาการที่บ้านสามารถช่วยบรรเทาอาการงูสวัดได้ อาจจะทำได้ดังนี้ :

  • อาบน้ำเย็นทำความสะอาดผิว
  • ใช้การประคบเย็นลงบนผื่น เพื่อลดอาการปวดและอาการคัน
  • ทาคาลาไมน์ เพื่อลดอาการคัน
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามิน A, B-12, C และ E รวมถึงกรดอะมิโนไลซีนเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

การวินิจฉัยงูสวัด (Shingles)

ส่วนใหญ่งูสวัดสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกายของผื่นและแผล แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์ หรือบางครั้งอาจจะมีการเก็บตัวอย่างจากของเหลวบริเวณแผลไปทำการตรวจสอบ 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

งูสวัดสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส อย่างไรก็ตามปัจจัยบางประการทำให้โรคงูสวัดสามารถกำเริบได้ ดังนี้:

  • ผู้สูงอายุ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นโรคเอดส์
  • ผู้ป่วยมะเร็ง หรือกำลังรับการทำคีโมหรือฉายแสง
  • ใช้ยาบางตัวที่ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำลง

การป้องกันงูสวัด

วัคซีนสามารถป้องกันไม่ให้คุณเกิดอาการงูสวัดรุนแรงหรือโรคแทรกซ้อนจากงูสวัดได้ เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสสองครั้งหรือที่เรียกกันว่าวัคซีนป้องกันโรค varicella ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีโรคอีสุกอีใสควรได้รับวัคซีนนี้ด้วย

ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนงูสวัด varicella-zoster วัคซีนนี้ช่วยป้องกันอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคงูสวัด (Shingles)


ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/shingles/symptoms-causes/syc-20353054
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/shingles/shingles-skin#1
  • https://www.nia.nih.gov/health/shingles
Tags: ผิวหนังไวรัส
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

Cellulitis (โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.