โรคเบาหวาน (Diabetes) : ประเภท อาการ สาเหตุ วิธีป้องกัน การวินิจฉัยโรค

เบาหวาน (Diabetes) คือ อะไร

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือ โรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนเพื่อสร้างมาให้ควบคุมระดับน้ำตาล หากน้ำตาลในร่างกายไม่ได้ถูกใช้งานซึ่งเกิดมาจากระบบการทำงานของอินซูลินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ฮอร์โมนอินซูลินจะย้ายน้ำตาลจากเลือดไปสู่เซลล์ในร่างกาย  จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  เบาหวานสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากไม่ได้รับการรักษา การเป็นเบาหวานจะส่งผลต่อร่างกายสามารถทำลายระบบประสาท ตา ไต และอวัยวะอื่นๆของร่างกายได้

เบาหวานมีกี่ชนิด

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) :

ทำให้เกิดการแพ้ภูมิตัวเอง หรือระบบภูมิคุ้มกันถูกโจมตี อาจทำลายเซลล์ในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลินโดยตรง สามารถพบผู้ป่วยประเภทนี้ได้ประมาณ 10% จากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) :

จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายต่อต้านการทำงานของระบบอินซูลิน หรือเรียกว่าร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดสูง  

ลองดู Diamin แคปซูล ช่วยรักษาโรคเบาหวานประเภท 2


 

เบาหวานภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) :

คือภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลในร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ แต่น้อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 2  

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) :

คือภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการถูกปิดกั้นระบบการทำงานของอินซูลินโดยรกของทารก จึงทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดนี้ ยังมีอีกโรคที่เรียกว่าโรคเบาจืด แต่โรคนี้พบได้ยาก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ลักษณะชื่อตรงกันข้าม ซึ่งโรคนี้เกิดจากร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ที่เกิดมาจากไตขจัดของเหลวในร่างกายออกมามากเกินไป

เบาหวานมีอาการ สาเหตุและการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ตามรายละเอียดดังนี้

อาการของโรคเบาหวาน เกิดจากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อาการโดยทั่วไป  อาการทั่วไปของโรคเบาหวานมีดังนี้ 
  • รู้สึกหิวตลอดเวลา 
  • รู้สึกกระหายน้ำผิดปกติ
  • น้ำหนักลด
  • ปัสสาวะบ่อย
  • สายตาพร่ามัว
  • มีอาการเมื่อยล้า
  • หากเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีดังนี้ :
  • หิวบ่อย
  • มีความกระหายน้ำบ่อย
  • น้ำหนักลด
  • ปัสสาวะบ่อย
  • สายตาพร่ามัว
  • มีอาการเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า
  • อารมณ์แปรปรวน

เบาหวานชนิด 2

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังนี้ :
  • หิวบ่อย
  • กระหายน้ำบ่อย 
  • ปัสสาวะบ่อย
  • มองเห็นไม่ชัด สายตาพร่ามัว
  • มีอาการเหนื่อยง่าย เมื่อยล้าได้ง่าย
  • หากมีแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ
นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ เพราะระดับกลูโคสในร่างกายมีมากขึ้น อาจทำให้รักษาได้ยากขึ้น  

ลองดู Diamin อาหารเสริม แคปซูล ช่วยรักษาโรคเบาหวานประเภท 2


 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักไม่มีอาการอะไร ส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมักจะพบในระหว่างการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 24-28  อาการของเบาหวานของผู้หญิงขณะตั้งครรภ์มักจะกระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อย  อาการของโรคเบาหวานระยะแรกมักจะไม่มีอาการรุนแรง

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีสาเหตุ อาการ การป้องกัน ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของโรคเบาหวาน  สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์ไม่สามารถรู้สาเหตุเบาหวานที่แน่ชัด แต่อาการเบาหวานทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ในผู้ป่วยบางราย ยีนส์ทำปฏิกิริยากับร่างกาย อาจทำให้เกิดเป็นไวรัสแลจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดจากพันธุกรรมและปัจจัยในการดำเนินชีวิต ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เพราะการแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไป อาจะทำให้มีไขมันหน้าท้อง และทำให้มีผลกระทบต่อระบบอินซูลินที่มีผลกับน้ำตาลในเลือด ยีนส์ที่มาจากคนในครอบครัว มีแนวโน้มอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 บวกกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปด้วย  สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมน รกของทารกผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อเซลล์ที่ทำให้กระทบต่อระบบอินซูลินของมารดา จึงทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงในขณะตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปอยู่แล้ว เมื่อตั้งครรภ์อาจเข้าสู่ภาวะเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดต่างๆ มีดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะอยู่ในวัยเด็ก หรือช่วงวัยรุ่น หากมีพ่อแม่ หรือพี่น้อง ที่ยีนส์ผิดปกติและนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังนี้ :
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป
  • ผู้ทีมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีปัญหาทางกายภาพ
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภาวะก่อนการเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีมีความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือไตรกลีเซอไรด์สูง
  • ผู้ที่มีเชื้อสายหรือมาจากแอฟริกันอเมริกัน, ฮิสแปนิกหรือละตินอเมริกา, อะลาสกา, หมู่เกาะแปซิฟิก, อเมริกันอินเดียหรือเชื้อสายอเมริกันเอเชีย
ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ :
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ให้ให้กำเนิดบุตรทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • มีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีอาการของโรครังไข่ polycystic (PCOS)

โรคแทรกซ้อนจากการการเป็นเบาหวาน

หากเกิดภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทั่วร่างกายถูกทำลาย และทำให้มีโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากผลกระทบของโรคเบาหวานได้ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลไปสู่ทารกในครรภ์ และมารดา ที่ไม่มีการควบคุมสามารถนำไปสู่ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และเด็ก ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อทารกและมารดามีดังนี้ :
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
  • มีการดำเนินชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • เป็นโรคดีซ่าน
  • อาจทำให้ทารกเสียชิวิตในครรภ์
มารดาอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจทำให้ต้องได้รับการผ่าคลอดแบบ C-Section อาจเพิ่มความเสี่ยงของมารดาที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้อีกในอนาคตด้วย
อ่านเพิ่มเติม : High blood sugar (Hyperglycemia): symptoms, causes, treatment

แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน

แพทย์จะใช้วิธีการรักษาโรคเบาหวานแตกต่างกัน  ซึ่งวิธีการรักษาโรคเบาหวานเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานบางรายอาจจะรักษาด้วยการรับประทานยา บางรายอาจรักษาโดยการฉีดยา 

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 :

การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 : การรักษาระบบอินซูลินคือหลักของการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อให้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ มีอินซูลินหลายประเภทที่นิยมใช้ในการรักษา แต่ละชนิดจะมีระดับของปฏิกิริยาและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป
  • อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วจะเริ่มทำงานภายใน 15 นาทีและอยู่ได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  • อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้นเริ่มทำงานภายใน 30 นาทีและอยู่ได้นาน 6-8 ชั่วโมง
  • อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลางเริ่มทำงานภายใน 1 – 2 ชั่วโมงและอยู่ได้นาน 12-18 ชั่วโมง
  • อินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน เริ่มทำงานหลังจากฉีดเข้าสู่ร่างกายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงและอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมงหรืออาจนานกว่านั้น

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 :

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจรักษาด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย จะทำให้มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หากจำเป็นต้องใช้ยารักษา ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอาจจะได้รับยามากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจต้องได้รับอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย  

ลองดู Diamin ยา แคปซูล ช่วยรักษาโรคเบาหวานประเภท 2


 

การรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต้องได้รับการติดตามดูแลระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และตรวจเช็คในหลายครั้งต่อ 1 วัน หากมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป

เบาหวานและการควบคุมอาหาร

การกินเพื่อสุขภาพเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคเบาหวาน การควบคุมอาหารของคุณอาจทำให้รักษาโรคเบาหวานได้ การเลือกทานอาหารสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ระดับน้ำตาลในเลือดอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอาหารที่ผู้ป่วยทานเข้าไป หากทานอาหารจำพวกแป้ง และอาหารที่มีน้ำตาลส่งผลให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทานอาหารที่มีไขมันและจำพวกโปรตีนในระดับที่พอดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี การเลือกทานอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขนิดที่ 2 การควบคุมการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายและการควบคุมน้ำหนัก สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน สิ่งสำคัญยิ่งคือรักษาระดับคาร์โบไฮเดรทในร่างกาย เป็นส่วนสำคัญของการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยควรรักษาระดับของคาร์โบไฮเดรทที่บริโภคในแต่ละมื้อในแต่ละมื้อ ไม่ควรทานอาหารมื้อหนักจะส่งผลให้การรักษาระดับน้ำตาลได้คงที่ และควรเน้นอาหารสุขภาพเช่น
  • การทานผลไม้
  • ทานผักเยอะๆ
  • ทานอาหารจำพวกธัญพืช
  • ทานอาหารที่มีโปรตีนจำพวกปลา และสัตว์ปีก จำพวกเป็ดไก่
  • อาหารจำพวกไขมันที่ดีต่อสุขภาพเช่น น้ำมันมะกอกและถั่ว
อาหารบางอย่างเป็นตัวทำลายระบบอินซูลินในร่างกาย ควรระมัดระวังการบริโภคอาหารในแต่ละวัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คำแนะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความสำคัญต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ จะช่วยให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อรักษาโรคเบาหวานสำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย ควบคุมสัดส่วนของอาหารอย่างเคร่งครัด ควบคุมอาหารที่มีความหวาน และเค็ม หลี่กเลี่ยงการอาหารจำพวกนี้มากเกินไป หากต้องการกินเพื่อบำรุงทารกในครรภ์ ควรทานในระดับที่พอดีไม่มากจนเกินไป หากต้องการความมั่นใจในการควบคุมอาหาร ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อควบคุมดูและให้ข้อมูลในการบริโภคอาหารมื้อหลักๆของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง diabetes

การวินิจฉัยเบาหวาน

หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการโรคเบาหวานกำเริบควรได้รับการตรวจเช็คร่างกายในทันที ส่วนสตรีมีครรภ์ควรได้รับการตรวจเช็คในช่วงระยะตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 แพทย์จะใช้วิธีตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการก่อนเป็นโรคเบาหวาน และเข้าสู่ระยะเป็นโรคเบาหวานแล้ว ดังนี้
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) หลังจากผู้ป่วยอดอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
  • การทดสอบแบบ A1C จะแสดงให้เห็นถึงระดับน้ำตาลของผู้ป่วยในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับสตรีมีครรภ์แพทย์จะใช้วิธีตรวจเลือดของมารดา เพื่อวัดระดับน้ำตาลในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์
  • ในระหว่างวัดระดับของระดับของกลูโคส ผลเลือดจะแสดงให้เห็นค่าระดับน้ำตาล หลังจากผ่านไป 1 ชั่วโมง หากมีการดื่มของเหลวที่มีน้ำตาล
  • ในช่วงระหว่างการทดสอบในระยะเวลา 3 ชั่วโมง จะเป็นการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส และผลเลือดจะแสดงให้เห็นค่า หลังจากอดอาหารข้ามคืน และดื่มของเหลวที่มีน้ำตาล 
ยิ่งผู้ป่วยได้รับการตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดเร็วเท่าไหร่ จะทำให้ได้รับการรักษาได้เร็วขึ้นทันเวลา

การป้องกันโรคเบาหวาน

สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง แต่ในส่วนของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีสาเหตุมาจากยีนส์ในร่างกาย อายุ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้อยู่แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถควบคุมการเกิดโรคเบาหวานได้ แต่สิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเบาหวานคือการดูแลอาหารการกินที่บริโภคในแต่ละวัน รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน จะทำให้สุขภาพห่างไกลจากการเป็นโรคเบาหวานได้อย่างดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าสู่ภาวะก่อนการเป็นโรคเบาหวาน ผู้สามารถดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เข้าสู่การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดังนี้
  • ออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิค เดิน หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ 
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารจำพวกแป้ง
  • รับประทานผั กผลไม้ และอาหารจำพวกธัญพืชให้มากขึ้น
  • รับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี
  • พยายามลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อย 7% ตามสัดส่วนของร่างกาย หากเริ่มมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
การป้องกันเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าผู้หญิงที่ไม่เคยเป็นโรคเบาหวาน แต่หากตั้งครรภ์แล้ว อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากรกของทารกในครรภ์มีการผลิตฮอร์โมนแล้วทำให้มีผลกระทบของเบาหวานอันเนื่องมาจากการทำงานของอินซูลินได้ สำหรับผู้หญิงบางคนก็อาจเข้าสู่ภาวะของโรคเบาหวานมาก่อน ก่อนที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจหายได้หลังจากมีการคลอดลูกแล้ว แต่อาจจะสามารถเป็นเบาหวานได้อีกในภายหลัง โดยส่วนใหญ่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จากจำนวนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในจำนวนทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังจากคลอดลูกแล้วในระยะเวลา 5 ปี หรือ 10 ปีต่อมา การเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนสำหรับทารกในครรภ์ได้ เช่น โรคดีซ่าน หรือโรคทางเดินหายใจ หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาและดูแลอย่างเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา การป้องกันโรคเบาหวานในเด็ก เด็กสามารถเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ได้  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโรคเบาหวานสามารถทำลายอวัยวะร่างกายที่สำคัญของร่างกายได้เช่น หัวใจและไต โรคเบาหวานในเด็กชนิดที่ 1 อาการหลักของการเริ่มเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กคือ ปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาจมาจากการเริ่มปัสสาวะบนที่นอนบ่อยถึงแม้ว่าได้รับการฝึกให้ปัสสาวะในห้องน้ำแล้ว มีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง เหนื่อยง่าย หิวบ่อย เด็กที่เข้าสู่ภาวะการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดโดยทันที เพราะอาจทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะขาดน้ำฉุกเฉินได้ โรคเบาหวานในเด็กชนิดที่ 2 หากโรคเบาหวานในเด็กชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่มาจากเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เลยทำให้ 40% ของจำนวนเด็กเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้เช่น โรคหัวใจ โรคไต และอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นการควบคุมดูแลอาหารการกินจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการดูแลสุขภาพของเด็กๆ เพื่อให้เกิดการมีปัญหาของระดับน้ำตาลในเลือด  

ลองดู Diamin capsules แคปซูล ช่วยรักษาโรคเบาหวานประเภท 2


  การดูแลรักษาด้วยตัวเอง เบาหวานชนิดที่ 1 นั้นไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมได้อยู่แล้ว แต่หากดูแลตัวเองเกี่ยวกับอาหารกิน การออกกำลังกาย รวมทั้งการควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้มีน้ำหนักเกิน ก็สามารถป้องกันการเข้าสู่ภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันทีหากพบว่าร่างกายอยู่ในภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน และควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยทัน และควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานโดยมากจะดูจากอาการที่ผู้ป่วยกำลังเป็นอยู่ในเวลานั้น แต่โดยทั่วไปแล้วอาจจะแบ่งเป็นการดูแลในเรื่องหลักๆของผู้ป่วย ได้ดังนี้ การรับประทานอาหาร
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารประเภทผักสด ผักใบเขียว และอาหารประเภทธัญพืชเป็นประจำ 
  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงของหวานทุกประเภท และผลไม้ที่มีรสชาติหวานๆ
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ และควรมีสัดส่วนและปริมาณในการบริโภคใกล้เคียงกัน
  • ควรกำหนดปริมาณของอาหารประเภทแป้ง และผลไม้ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่น้อยหรือมากจนเกินไป
  • ควรงดการดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ รวมไปถึงน้ำผลไม้ต่างๆ
  • ควรงดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มทุกชนิด
การดูแลความสะอาด
  • ผู้ป่วยควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ควรใส่ใจทำความสะอาดเท้าของผู้ป่วยเป็นพิเศษ เพราะเท้ามักจะเป็นจุดที่เกิดบาดแผลได้ง่ายๆ
  • ควรทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่างๆของผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อป้องการติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีบาดแผลตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรหักโหมจนเกินไป การออกกำลังจะช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้มากขึ้น และสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้อีกด้วย diabetes

คำถามที่พบบ่อย

เบาหวานรักษาให้หายถาวรได้ไหม  แม้ว่าโรคเบาหวานจะไม่มีทางรักษาให้หายได้แต่โรคเบาหวานสามารถรักษาและควบคุมได้ และบางคนอาจมีอาการทุเลาลง ในการจัดการโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณต้องทำสิ่งต่อไปนี้: จัดการระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ เบาหวานรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจริงหรือไม่ โรคเบาหวานไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่จะมีการรักษาที่สามารถจัดการกับอาการได้ และผู้ป่วยอาจเข้าสู่ระยะที่เบาหวานสงบลงได้ โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร  สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด ในทุกกรณี น้ำตาลจะสะสมในกระแสเลือด เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โรคเบาหวานร้ายแรงหรือไม่  ด้วยโรคเบาหวาน ร่างกายของคุณไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอหรือไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าที่ควร เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์หยุดตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดของคุณจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ สูญเสียการมองเห็น และโรคไต โรคเบาหวานแย่ลงตามอายุหรือไม่  แม้ว่าคุณจะควบคุมเบาหวานได้ดีมาหลายปีแล้ว แต่อาการก็ยังคงแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหมายความว่าคุณอาจต้องปรับแผนการรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง ความเครียดทำให้เป็นเบาหวานได้หรือไม่  ความเครียดไม่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานแต่อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและวิธีดูแลอาการของคุณ การเป็นโรคเบาหวานที่ต้องจัดการกับชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ตามปกติอาจเป็นสาเหตุของความเครียดได้ การดื่มน้ำสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่  การดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยให้ไตขับน้ำตาลส่วนเกินออก การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำมากขึ้นจะลดความเสี่ยงในการพัฒนาระดับน้ำตาลในเลือดสูง และจำไว้ว่าน้ำนั้นดีที่สุด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นโดยเพิ่มให้มากขึ้น ระดับน้ำตาลปกติตามอายุคืออะไร  ตั้งแต่ 90 ถึง 130 มก./ดล. (5.0 ถึง 7.2 มิลลิโมล/ลิตร) สำหรับผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 90 ถึง 130 มก./ดล. (5.0 ถึง 7.2 มิลลิโมล/ลิตร) สำหรับเด็กอายุ 13 ถึง 19 ปี ตั้งแต่ 90 ถึง 180 มก./ดล. (5.0 ถึง 10.0 มิลลิโมล/ลิตร) สำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี ตั้งแต่ 100 ถึง 180 มก./ดล. (5.5 ถึง 10.0 มิลลิโมล/ลิตร) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 ชนิดใดร้ายแรงกว่ากัน  สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือทั้งมีความร้ายแรงพอ ๆ กัน การมีระดับกลูโคส (หรือน้ำตาล) ในเลือดสูงอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่รุนแรงได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 ดังนั้นหากคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อจัดการกับมัน ผู้ป่วยเบาหวานควรดื่มน้ำวันละเท่าไร  การดื่มน้ำไม่เพียงแต่ต่อสู้กับภาวะขาดน้ำเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร่างกายของคุณกำจัดกลูโคสส่วนเกินได้อีกด้วย หากคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณ1.6 ลิตร (L) หรือ 6.5 ถ้วยต่อวันสำหรับผู้หญิง และ 2 ลิตรหรือ 8.5 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.diabetes.org/ 
  • https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes
  • https://www.who.int/health-topics/diabetes 
  • https://diabetes.diabetesjournals.org/ 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด