• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
01/03/2021
in หาโรค
0
โรคดื้อต่อต้าน
0
SHARES
21
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของโรคดื้อและต่อต้าน
  • อาการของโรคดื้อและต่อต้าน
  • การรักษาโรคดื้อและต่อต้าน
  • ระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้าน
  • แนวทางการรักษาโรคดื้อและต่อต้าน
Rate this post

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositinoal Defiant Disorder :ODD)  เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมเกิดอาการต่อต้านและอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย ซึ่งมักส่งผลต่อการทำงาน การศึกษาและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น

แม้แต่เด็กที่เชื่อฟังมากก็ยังมีโอกาสเกิดอารมณ์ขุ่นมัวและดื้อบ้างเป็นครั้งคราว แต่รูปแบบการแสดงความโกรธ การต่อต้านและความกร้าวร้าวต่อผู้ใหญ่อาจเป็นสัญญาณของโรคดื้อและต่อต้านได้

โรคดื้อต่อต้านพบในเด็กวัยเรียนประมาณ 1 ถึง 16%  พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เด็กหลายคนเริ่มแสดงอาการโรคดื้อและต่อต้านระหว่างอายุ 6 ถึง 8 ปี โรคดื้อและต่อต้านยังมีโอกาสพบผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านอาจไม่พบว่ามีอาการในวัยเด็กได้

สาเหตุของโรคดื้อและต่อต้าน

ไม่มีสาเหตุของโรคดื้อและต่อต้านที่ชัดเจน แต่มีทฤษฎีว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ และจิตวิทยาเมื่อร่วมกันอาจก่อให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างกรณีของครอบครัวที่มีประวัติของโรคสมาธิสั้น (ADHD) มักมีโอกาสเป็นโรคดื้อและต่อต้านได้

ทฤษฎีหนึ่งระบุว่าโรคดื้อและต่อต้านจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นเด็กแบเบาะ พบว่าเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคดื้อต่อต้านยังมีพฤติกรรมปกติในช่วงวัยแบเบาะ ทฤษฎีนี้ยังเชื่อว่าเด็กหรือวัยรุ่นคือช่วงวัยที่กำลังต้องการเป็นอิสระจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์มากขึ้น และจะมีภาวะต่อต้าน หลายคนเลยเรียกว่าเป็นวัยต่อต้าน

นอกจากนี้เป็นไปได้ว่าภาวะต่อต้านเป็นพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ สะท้อนว่าการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีของผู้ปกครองจะส่งผลต่อเด็ก เด็กอาจใช้พฤติกรรมที่ไม่ดีเรียกร้องความสนใจ และรับพฤติกรรมเชิงลบมาจากผู้ปกครอง

สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ ได้แก่ :

  • อุปนิสัยส่วนตัว เช่น เป็นคนเอาแต่ใจ

  • ขาดความผูกพันที่ดีกับผู้ปกครอง

  • ความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ในชีวิตประจำวัน

อาการของโรคดื้อและต่อต้าน

อาการในเด็กและวัยรุ่น

โรคดื้อและต่อต้านมักส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นมากที่สุด อาการของโรคดื้อและต่อต้านมีดังนี้ :

  • ฉุนเฉียวง่าย หรือโกรธได้บ่อย ๆ

  • มีอาการต่อต้านคำสั่งของผู้ใหญ่

  • ชอบโต้เถียงผู้ใหญ่และผู้มีอาวุโสมากกว่า

  • ชอบตั้งคำถามหรือหาทางหลีกเลี่ยงกฎระเบียบต่าง ๆ

  • มีพฤติกรรมชอบยุ่วยุให้ผู็อื่นอารมณ์เสีย หรือรำคาญ

  • ชอบกล่าวโทษผู้อื่นในข้อผิดพลาด หรือการประพฤติที่ไม่ถูกต้องของตนเอง

  • หงุดหงิดรำคาญง่าย

  • รู้สึกอาฆาต โกรธแค้น

การมีอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคดื้อและต่อต้าน แต่ต้องมีอาการหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

อาการในผู้ใหญ่

อาการโรคดื้อและต่อต้านในเด็กและผู้ใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน ดังมีรายละเอียด ดังนี้ :

  • รู้สึกโกรธเกลียดโลก

  • รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือโกรธเกลียดผู้คน

  • ต่อต้านผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างหัวหน้างานในที่ทำงาน

  • รู้สึกต่อต้านสังคม

  • ปิดกั้นตัวเองด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

  • พาลเอาแต่โทษผู้อื่น

ความผิดปกติในในผู้ใหญ่มักวินิจฉัยได้ยาก เพราะมีพฤติกรรมทางอารมณ์ที่หลากหลาย และหลายพฤติกรรมยังเป็นผลจากสารเสพติด และความผิดปกติอื่น ๆ

การรักษาโรคดื้อและต่อต้าน

เกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วย :

เอกสารคู่มือการวินิจฉัยและวัดสถิติความผิดปกติทางจิต ที่เรียกว่า DSM-5 ได้สรุปปัจจัยหลัก 3 ประการที่ต้องใช้เพื่อวินิจฉัยโรคดื้อและต่อต้าน:

1. แสดงรูปแบบพฤติกรรม: พิจารณารูปแบบของอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ทั้งอารมณ์โกรธ หงุดหงิด วิธีการโต้เถียง หรือการโต้เถียง ใช้เวลาวินิจฉัยประมาณ 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ต้องสังเกตุพฤติกรรม อย่างน้อย 4 รายการจากรูปแบบที่ระบุ เป็นการแสดงพฤติกรรมกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมิตร ได้แก่ :

การแสดงอารมณ์โกรธ หรือหงุดหงิด ได้แก่:

  • อารมณ์เสียบ่อย

  • ขี้งอน

  • ขี้รำคาญ

  • โกรธหรือไม่พอใจอะไรง่าย ๆ

พฤติกรรมต่อต้าน หรือยั่วยุต่าง ๆ ได้แก่:

  • ขึ้นเสียงกับผู้มีบังคับบัญชาหรือผู้ปกครองบ่อย ๆ

  • ไม่ยอมทำตามคำขอของผู้มีอำนาจ

  • ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำขอของผู้มีอำนาจ

  • จงใจสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น

  • กล่าวโทษผู้อื่นเวลากระทำผิด

  • ความอาฆาต มาดร้าย

การแสดงความอาฆาตแค้นอย่างน้อย 2 ครั้งในรอบ 6 เดือน

2. พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายทำลายต่อชีวิต: พฤติกรรมต่อมาที่ใช้วินิจฉัยคือพฤติกรรมในด้านลบต่าง ๆ นั้นส่งผลให้เกิดผลเสียกับบุคคลอื่น ๆ หรือผู้คนในสังคมที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ผู้ป่วยโรคดื้อและต่อต้านอาจมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิต ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต การเข้าสังคม การศึกษา หรืออาชีพการงานได้

3. ความเชื่อมโยงกับการใช้สารเสพติดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ : แพทย์จะไม่สามารถวินิจฉัยพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ หากมีปัจจัยร่วม ได้แก่:

  • สารเสพติด

  • ภาวะซึมเศร้า

  • โรคไบโพลาร์

  • โรคจิต

Oppositional Defiant Disorder

ระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้าน

DSM-5 แบ่งระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้านไว้ดังนี้:

  • ไม่รุนแรง: อาการมีจำกัด อาจมีเพียงอาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น

  • ปานกลาง: อาการปรากฏอย่างน้อย 2 ลักษณะประกอบกัน

  • รุนแรง: อาการปรากฏอย่างน้อย 3 ลักษณะประกอบกัน

แนวทางการรักษาโรคดื้อและต่อต้าน

การรักษาในช่วงแรกนั้นสำคัญ และจำเป็นต่อวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมาก เพราะหากไม่รักษาจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดได้

ตัวเลือกที่แพทย์ใช้ในการรักษา ได้แก่ :

การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาส่วนบุคคล

  • แนวทางการจัดการความโกรธ

  • ทักษะด้านการสื่อสาร

  • การควบคุมสิ่งกระตุ้น

  • ทักษะการรับมือกับปัญหา

แพทย์จะเริ่มจากการระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

ครอบครัวบำบัด

นักจิตวิทยาจะทำงานร่วมกับทั้งครอบครัวเพื่อทำบำบัดอาการของโรค ผู้ปกครองจะได้เรียนรู้และสนับสนุนให้เข้าใจกลยุทธ์ในการจัดการกับโรคดื้อและต่อต้านของบุตรหลาน

การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก (PCIT)

นักบำบัดจะให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูลูกหลานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กลุ่มบำบัด

การให้เด็กเรียนรู้วิธีพัฒนาทักษะทางสังคม และความสัมพันธ์ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ

การรักษาด้วยยา

เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคดื้อและต่อต้าน เช่นภาวะซึมเศร้า หรือสมาธิสั้น แต่ยังไม่มียาเฉพาะที่ใช้รักษา โรคดื้อและต่อต้าน

กลยุทธ์ในการจัดการโรคดื้อและต่อต้านที่ผู้ปกครองสามารถช่วยลูก ๆ เพิ่มเติมได้แก่:

  • เพิ่มความสัมพันธ์เชิงบวก และลดความสัมพันธ์เชิงลบ

  • กำหนดแนวทางลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างเหมาะสม และทำอย่างสม่ำเสมอ

  • ใช้พฤติกรรมตอบสนองอาการของลูกที่สามารถคาดเดาได้ และทำในทันที

  • สร้างรูปแบบการเข้าสังคมเชิงบวกขึ้นในบ้าน

  • ลดสิ่งกระตุ้นด้านสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ (ตัวอย่างเช่นพฤติกรรมก่อกวนของบุตรหลานอาจเพิ่มขึ้นเมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ให้ผู้ปกครองตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขานอนหลับเพียงพอเพื่อแก้อาการ)

ผู้ใหญ่เป็นโรคดื้อและต่อต้านก็สามารถจัดการความผิดปกติได้โดย:

  • รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำและพฤติกรรมของตนเอง

  • ใช้สติ และหายใจลึก ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง

  • หากิจกรรมคลายเครียด เช่น การออกกำลังกาย

อย่างไรก็ตามการตอบสนองต่อแนวทางการรักษาโรคดื้อและต่อต้านในเด็กแต่ละคนอาจให้ผลที่แตกต่างกัน และผู้ปกครองไม่ใช่ผู้ที่ต้องร่วมรักษาอาการของเด็กเหล่านี้ แต่ครูที่โรงเรียนก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย ดังนี้:

  • ปรึกษาผู้ปกครองในการจัดการพฤติกรรมของเด็ก

  • สร้างความคาดหวัง และกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนให้เด็ก ๆ ทราบ

  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในห้องเรียน หรือแจ้งให้เด็ก ๆ ทราบก่อนเพื่อลดภาวะทางอารมณ์ของเด็ก

  • ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

  • พยายามสร้างความไว้วางใจกับนักเรียน ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/oppositional-defiant-disorder/symptoms-causes/syc-20375831

  • https://www.webmd.com/mental-health/oppositional-defiant-disorder

  • https://medlineplus.gov/ency/article/001537.htm

  • https://www.cdc.gov/childrensmentalhealth/behavior.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post

โพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.