• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home ซินโดรม

สมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in ซินโดรม, หาโรค, โรคระบบประสาท
0
0
SHARES
20
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของคนสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้นเกิดจาก
  • การรักษาสมาธิสั้น
  • ประเภทของสมาธิสั้น
  • ยารักษาโรคสมาธิสั้น
  • วิธีแก้สมาธิสั้นด้วยวิธีธรรมชาติ
4.7 / 5 ( 12 votes )

สมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มากเกินกว่าปกติและกระทำอย่างหุนหันพลันแล่น ผู้ป่วยสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในการใช้สมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการนั่งอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานาน โดยอาการนี้สามารถเกิดได้ในวัยผู้ใหญ่รวมถึงเด็กสมาธิสั้น ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตใน พ.ศ.2555 พบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 มีอัตราป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 8.1 หรือคาดว่ามีประมาณ 470,000 คนทั่วประเทศ ภาคใต้มีความชุกสูงสุดร้อยละ 11.7 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.4 ภาคกลางร้อยละ 6.7 กทม.ร้อยละ 6.5 ต่ำสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 5.1เป็นชายมากกว่าหญิง 3 เท่าตัว

อาการของคนสมาธิสั้น

อาการของสมาธิสั้นนั้นค่อนข้างมีขอบเขตที่กว้าง แต่จะประกอบไปด้วยอาการเหล่านี้ :

  • มีปัญหาในการใช้สมาธิจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • ขี้ลืม
  • ฟุ้งซ่าน
  • นั่งนิ่งๆ ไม่ได้
  • รบกวนการสนทนาของผู้อื่น

ผู้ป่วยสมาธิสั้นจะมีอาการหนึ่งอาการใดหรือทั้งหมดดังที่กล่าวมา แต่ทั้งนี้อาการจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคสมาธิสั้นที่ผู้ป่วยเป็น

สมาธิสั้นเกิดจาก

สมาธิสั้นโดยทั่วไป แพทย์และนักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุของอาการ แต่มีแนวคิดที่ว่ามีปัญหามาจากระบบประสาท รวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วน

แสดงให้เห็นว่า การลดลงของโดพามีนเป็นปัจจัยในโรคสมาธิสั้น โดยโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายสัญญาณจากเส้นประสาทหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยมีบทบาทกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์และการเคลื่อนไหว

เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความแตกต่างของโครงสร้างในสมอง ผลการวิจัยพบว่า คนที่มีภาวะซนสมาธิสั้นมีปริมาณสารสีเทาในสมองน้อย โดยสารสีเทานั้นมีบทบาทดังนี้

  • การพูด
  • การควบคุมตนเอง
  • การตัดสินใจ
  • การควบคุมกล้ามเนื้อ

การรักษาสมาธิสั้น

วิธีรักษาสมาธิสั้นนั้นประกอบไปด้วย การบำบัดด้านพฤติกรรม, ใช้ยารักษาสมาธิสั้น หรืออาจจะใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน

ประเภทของการบำบัดได้แก่ จิตวิทยาบำบัด และการบำบัดด้วยการพูดคุย ในส่วนการบำบัดด้วยการพูดคุย ผู้ป่วยควรจะร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในชีวิตและแนวทางจัดการแก้ไข

การบำบัดอื่นๆ เช่น การบำบัดด้านพฤติกรรม นั้นช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดตามและจัดการกับพฤติกรรมตนเองได้

การใช้ยารักษานั้นสามารถช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากยาออกฤทธิ์โดยตรงกับสารเคมีในสมองที่มีผลต่อแรงกระตุ้นและพฤติกรรม

ประเภทของสมาธิสั้น

ในการวินิจฉัยสมาธิสั้น เราจัดหมวดหมู่เป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มสมาธิสั้นแบบขาดสมาธิ

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้ จะไม่สามารถใช้สมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ไม่สามารถทำสิ่งหนึ่งได้จนจบ และไม่สามารถทำตามคำแนะนำได้

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเด็กจำนวนมากที่มีสมาธิสั้นชนิดขาดสมาธิ อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมเพราะพวกเขาไม่มีแนวโน้มที่จะทำลายหรือรบกวนชั้นเรียน ประเภทนี้พบได้บ่อยในเด็กผู้หญิงที่สมาธิสั้น

กลุ่มสมาธิสั้นแบบซุกซนอยู่ไม่นิ่ง

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้มักจะไม่อยู่นิ่ง และซุกซน ซึ่งอาจจะทำการรบกวนผู้อื่นในการพูดคุย แม้ไม่ใช่บทสนทนาของตนเอง

แม้ว่าการขาดสมาธิจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลเท่าไรของผู้ป่วยประเภทนี้ แต่ผู้ป่วยสมาธิสั้นกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถใช้สมาธิจดจ่อได้ดีนัก

กลุ่มสมาธิสั้นแบบขาดสมาธิและอยู่นิ่งไม่ได้

ผู้ป่วยสมาธิสั้นประเภทนี้พบได้มากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการผสมผสานระหว่าง 2 กลุ่มแรก โดยจะมีภาวะที่ไม่สามารถใช้สมาธิได้ ซุกซนและมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น รวมถึงพฤติกรรมที่แอคทีฟมากกว่าปกติ

อาการสมาธิสั้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการรักษาก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามอาการที่ผู้ป่วยมี

ยารักษาโรคสมาธิสั้น

แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ยาที่มีสารกระตุ้นและยาที่ปลอดจากสารกระตุ้น

สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) เป็นยารักษาสมาธิสั้นที่ถูกนำมาใช้ในการรักษามากที่สุด ยาเหล่านี้ทำงานโดยการเพิ่มปริมาณของสารเคมีในสมอง ได้แก่ Dopamine และ Norepinephrine

ตัวอย่างของยา ได้แก่ เมทิลฟีนิเดท Methylphenidate (Ritalin) และสารกระตุ้นแอมเฟตามีน Amphetamine-based stimulants (Adderall)

หากสารกระตุ้นไม่ได้ผลสำหรับผู้ป่วย หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาที่ปลอดสารกระตุ้น เช่น ยา Nonimimulant ที่มีผลในการเพิ่มระดับของ norepinephrine ในสมอง รวมถึง Atomoxetine (Strattera) และยาแก้ซึมเศร้า Bupropion (Wellbutrin)

วิธีแก้สมาธิสั้นด้วยวิธีธรรมชาติ

การเยียวยาหรือบำบัดสมาธิสั้นสามารถทำด้วยวิธีธรรมชาติดังนี้

  • กินอาหารครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • จำกัดการใช้เวลากับโทรทัศน์หรือมือถือ

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโยคะ ไทชิและทำกิจกรรมนอกบ้าน สามารถช่วยเยียวยาให้จิตใจสงบลงและอาจบรรเทาอาการสมาธิสั้นได้

ในวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นแสดงให้เห็นว่า การนั่งสมาธิให้ผลดีต่อการใช้สมาธิจดจ่อ และความคิด รวมถึงบรรเทาความวิตกกังวลและซึมเศร้า

การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารเติมแต่งอาหารบางชนิดก็อาจจะช่วยลดอาการสมาธิสั้นได้


นี่คือลิ้งค์แหล่งที่มาของข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.nimh.nih.gov/health/topics/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/index.shtml
  • https://www.cdc.gov/ncbddd/adhd/index.html
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/symptoms-causes/syc-20350889
  • https://www.webmd.com/add-adhd/childhood-adhd/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

หมอนรองกระดูกทับเส้น (Herniated Disk) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.