ความเครียด (Stress) : อาการ สาเหตุ ประเภท การรักษา
ความเครียด (Stress) คือ สภาวะหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองที่เฉพาะเจาะจงทางชีววิทยา สารเคมีต่างๆ และฮอร์โมนส์ภายในร่างกายที่เพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อรับรู้ถึงการคุกคาม หรือความท้าทายที่สำคัญ
ความเครียดกระตุ้นการตอบสนองแบบไฟท์ Fight หรือไฟลท์ Flight เพื่อที่จะต่อสู้กับความเครียดนั้น หรือหนีจากความเครียดนั้น ปกติแล้วเมื่อการตอบสนองเกิดขึ้น ร่างกายของเราควรที่จะผ่อนคลาย แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น สามารถส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ประเภทของความเครียด
ความเครียดมีหลายประเภท ได้แก่
- Acute stress ภาวะเครียด หรือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที
- Episodic acute stress ความเครียดที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
- Chronic stress ความเครียดเรื้อรัง
Acute stress ความเครียดที่เกิดขึ้นทันที
ภาวะเครียดหรือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน มันคือการตอบสนองของร่างกายต่อสถานการณ์และความท้าทายใหม่ๆ เป็นประเภทของความเครียดที่คุณอาจจะรู้สึก เมื่อคุณรอดจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้อย่างหวุดหวิด
ภาวะเครียดสามารถมาจากบางอย่างที่คุณทำแล้วมีความสุข ที่บางครั้งมันดูน่ากลัว แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจเหมือนกับเวลาที่คุณเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์ หรือเครื่องเล่นผาดโผนในสวนสนุก
Episodic acute stress ความเครียดที่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง
ความเครียดที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เกิดจากการมีภาวะเครียดซ้ำๆ หลายครั้ง
ความเครียดชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณวิตกกังวล และไม่สบายใจเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคาดว่ามันจะเกิดขึ้น คุณอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของคุณนั้นช่างยุ่งเหยิง และดูเหมือนว่าจะหลุดพ้นจากวิกฤตหนึ่ง เพื่อไปพบเจอกับอีกวิกฤตหนึ่ง
Chronic stress ความเครียดเรื้อรัง
เมื่อมีความเครียดในระดับที่สูงติดต่อกันอย่างยาวนาน คุณมีความเครียดแบบเรื้อรัง ความเครียดที่ยาวนานนี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้ อาจแบ่งได้ดังนี้
- Anxiety ความวิตกกังวล
- Cardiovascular disease โรคหัวใจและหลอดเลือด
- Depression โรคซึมเศร้า
- High blood pressure ความดันโลหิตสูง
- Weakened immune system ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
สาเหตุของความเครียด
ตัวอย่างสาเหตุของการเกิดภาวะเครียดหรือความเครียดเรื้อรัง ได้แก่
- ผ่านเหตุการณ์ภัยภิบัติทางธรรมชาติ หรือภัยภิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น
- มีชีวิตอยู่กับอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
- รอดชีวิตจากอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิตหรือการเจ็บป่วย
- เป็นเหยื่อจากคดีอาชญากรรม
- พบเจอกับความกดดันทางครอบครัว เช่น:
- ความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรง
- ชีวิตแต่งงานที่ไม่มีความสุข
- การดำเนินการหย่าที่กินเวลายาวนาน
- ปัญหาเรื่องสิทธิการปกครองบุตร
- การดูแลคนรักที่มีอาการป่วยเรื้อรังอย่างเช่น ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
- มีชีวิตที่ยากจน หรือเป็นคนไร้บ้าน
- ทำงานที่เสี่ยงอันตราย
- มีปัญหาความสมดุลของการทำงานและชีวิตส่วนตัว ชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน หรือการที่ต้องทำงานที่ไม่ชอบ
- การปฏิบัติภารกิจทางการทหาร
เราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าสาเหตุที่ทำให้คนคนนึงเกิดความเครียดนั้นมาจากอะไรได้บ้าง เพราะมันมีมากมายเท่าๆ กับจำนวนของผู้คนเลยทีเดียว
ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม มันสามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายหากไม่ได้ถูกจัดการ ค้นหาสาเหตุส่วนตัว อารมณ์ และความบอบช้ำทางจิตใจ ที่ทำให้เกิดความเครียด
อาการของความเครียด
อาการนั้นเหมือนกับการที่เรามีความเครียดจากสิ่งต่างๆ ที่ต่างกัน อาการของความเครียดนั้นก็สามารถเกิดขึ้นอย่างแตกต่างกัน
ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้มีอาการทั้งหมดนี้ แต่หากคุณมีความเครียดอาจจะพบเจออาการเหล่านี้
- อาการเจ็บปวดเรื้อรัง
- การนอนไม่หลับ หรือทีปัญหาในการนอนหลับ
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
- รับประทานมากไปหรือน้อยไป
- จดจ่อกับสิ่งต่างๆ และตัดสินใจสิ่งต่างๆ ได้ยากขึ้น
- ความเหนื่อยล้า
คุณอาจรู้สึกถูกรุมเร้า หงุดหงิด หรือกลัว ไม่ว่าคุณจะตระหนักถึงมันหรือไม่ คุณอาจจะดื่ม หรือสูบบุหรี่มากขึ้นกว่าที่คุณเคยทำ
การจัดการกับความเครียด
จุดประสงค์ของการจัดการกับความเครียดไม่ใช่การกำจัดมันออกไปอย่างสิ้นเชิง มันไม่เพียงแต่เป็นไปไม่ได้เท่านั้น แต่อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้ว ความเครียดสามารถเป็นสิ่งที่ดีได้ ในบางสถานการณ์
ในการที่จะจัดการกับความเครียดของคุณนั้น อันดับเเรกคุณต้องหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คุณเครียด หรือสิ่งใดคือสิ่งกระตุ้น หาทางออกว่าสิ่งไหนที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จากนั้นหาทางรับมือกับความเครียดที่ไม่ดีที่คุณไม่สามารถขจัดออกไปได้
เมื่อเวลาผ่านไป การจัดการกับความเครียดอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความเครียดได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- ตั้งเป้าหมายที่จะนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงในแต่ละคืน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์
- พบปะเข้าสังคมอยู่เสมอ เพื่อที่จะเป็นผู้ให้และได้รับกำลังใจ
- หาเวลาหยุดพักและผ่อนคลาย หรือดูแลตัวเอง
- เรียนรู้วิธีทำสมาธิ เช่น การฝึกการหายใจ
ถ้าคุณไม่สามารถจัดการความเครียดของคุณ หรือมันมันพ่วงมาด้วยความวิตกกังวลและโรคซึมเศร้า คุณควรเข้าพบแพทย์ในทันที อาการเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยการรักษาตราบเท่าที่คุณต้องการความช่วยเหลือ คุณอาจจะพิจารณาที่จะปรึกษากับนักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11874-stress
- https://www.webmd.com/balance/stress-management/stress-symptoms-effects_of-stress-on-the-body
- https://www.nimh.nih.gov/health/publications/stress/index.shtml
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team