ตาเหล่ (Crossed eyes) คือการที่ตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองเห็นได้ในทิศทางเดียวกัน ดวงตาทั้งสองข้างโฟกัสในทิศทางที่ต่างกัน หรือบางคนอาจจะเรียกว่าตาเข
อาการตาเหล่นี้สามารถพบได้บ่อยในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ในเด็กโตและผู้ใหญ่อาการตาเข หรือตาเหล่นี้อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุได้หลายอย่าง เช่นสมองพิการหรือโรคหลอดเลือดสมอง
สัญญาณของอาการตาเหล่
หากผู้ป่วยมีภาวะตาเหล่ ตาทั้งสองข้างอาจจะชี้เข้าหากันด้านใน หรืออาจจะโฟกัสหรือมองเห็นวัตถุต่างกันไปคนละข้าง นอกจากนี้อาจจะมีอาการดังนี้ :
- การมองเห็นภาพบกพร่อง
- มองเห็นภาพซ้อน
- การมองเห็นในส่วนของความลึกลดลง
- สายตาอ่อนล้า
- ปวดศีรษะ
บางคนอาจจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นจนกว่าร่างกายจะรู้สึกอ่อนล้า
อะไรคือสาเหตุของภาวะตาเหล่
ตาเขหรือตาเหล่ อาจเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท หรือเมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาไม่ทำงานร่วมกันเพราะบางส่วนอ่อนแอกว่าส่วนอื่น
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาและแก้ไขคุณอาจสูญเสียการมองเห็นในตาข้างที่อ่อนแอ
อาการตาเหล่นั้นพบมากในเด็ก แต่แพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุทีแน่ชัด แต่อาการตาเขในเด็กอาจจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่งผลกระทบแค่การควบคุมกล้ามเนื้อของดวงตาแต่ไม่ได้ส่งผลต่อการมองเห็น
อาการตาเขเข้าด้านใน (Esotropia) สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และการรักษาจะต้องเป็นการผ่าตัด ภาวะ esotropia มักเกิดในเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 5 ขวบโดยปกติแว่นตาสามารถแก้ไขได้
ภาวะตาเหล่นั้น ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในภายหลัง โดยสาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายเช่นการบาดเจ็บที่ดวงตา สมองพิการหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการตาเขหากคุณมีตาขี้เกียจหรือสายตายาว
ใครที่มีความเสี่ยงเป็นตาเหล่
คนที่ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการตาเขหรือตาเหล่คือ:
- มีคนในครอบครัวเป็นตาเหล่มาก่อน
- มีปัญหาทางด้านสมอง หรือมีเนื้องอกในสมอง
- ประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- ตาขี้เกียจ สายตายาว หรือสูญเสียการมองเห็น
- จอประสาทตาเสื่อม
- เป็นโรคเบาหวาน
ภาวะตาเหล่สามารถรักษาได้อย่างไร
การรักษาตาเข จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุพื้นฐานของอาการของคุณ หากอาการตาเขนั้นเป็นผลมาจากตาขี้เกียจ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดตาที่แข็งแรงขึ้นเพื่อบังคับให้กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแอของคุณทำงานหนักขึ้น
บางครั้งแพทย์ของคุณอาจสั่งยาหยอดตาเพื่อเบลอการมองเห็นในดวงตาที่แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้การฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดกล้ามเนื้อที่ทำงานมากเกินไปและทำให้ตาเขได้
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่:
- การบริหารดวงตา
- การสวมใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์
- การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาบางส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเลนส์สายตาไม่ได้รับการแก้ไข
หากอาการตาเหล่เกิดอาการป่วยอื่น ๆ เช่นเนื้องอกในสมองหรือโรคหลอดเลือดสมอ งแพทย์อาจทำการผ่าตัดหรือการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสม
ภาพรวมของอาการตาเหล่
บางคร้งการรักษาตาเหล่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรักษาอาการตาเหล่ทันทีเพื่อลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียการมองเห็น หลังจากการรักษาแล้วในบางคนอาจจะมีอาการกลับมาอีกครั้ง และหากอาการตาเหล่ของผู้ป่วยส่งผลมาจากโรคอื่น ๆ การตรวจกาโรคให้เจอตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะช่วยให้มีโอกาสในการรักษาอาการตาเหล่ได้ง่ายขึ้น และสามารถช่วยให้ดวงตากลับเข้าสู่ภาวะปกติได้
นี่คือแหล่งที่มาองบทความของเรา
- https://www.health.harvard.edu/a_to_z/crossed-eyes-strabismus-a-to-z
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15065-strabismus-crossed-eyes
- https://www.webmd.com/eye-health/strabismus
- https://www.medicinenet.com/strabismus/article.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team