• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home จิตวิทยา

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
26/03/2021
in จิตวิทยา, หาโรค
0
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
0
SHARES
13
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • ภาวะแทรกซ้อนโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • อาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
  • โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน
  • โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในลักษณะ 2 ขั้ว
  • การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
Rate this post

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder :SAD) เป็นโรคซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมักเริ่มต้นและสิ้นสุดในเวลาเดียวกันของทุกปี โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมักเกิดอาการเมื่อเริ่มต้น และมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงฤดูหนาว ในช่วงนี้จะรู้สึกไม่มีความกระตือรือร้น และมักจะรู้สึกไม่สบายตัวได้ บ่อยครั้งที่โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลจะเกิดอาการในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หรือต้นฤดูร้อน

การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจรวมถึงการบำบัดด้วยแสง (การฉายแสง) การรักษาด้วยยา และจิตบำบัด

อย่าชะล่าใจว่าความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นทุกปีนั้นเป็นเพียงอาการของ “ภาวะหดหู่ในช่วงฤดูหนาว” หรือความหดหู่ตามฤดูกาลที่สามารถรักษาให้หายได้เอง แต่ต้องรักษาตามขั้นตอนทางการแพทย์เพื่อรักษาอารมณ์ และจิตใจของผู้ป่วยให้คงที่ตลอดทั้งปี

สาเหตุของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ แต่พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่สัมพันธ์กับอาการของโรค ได้แก่ :

นาฬิกาชีวิต (ช่วงจังหวะของชีวิต) ปริมาณแสงแดดที่ลดลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ ปริมาณที่ลดลงในฤดูหนาวจะรบกวนนาฬิกาชีวิต และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้าได้

ระดับเซโรโทนิน เซโรโทนินคือสารเคมีชนิดหนึ่งในสมอง (สารสื่อประสาท) หากมีปริมาณลดลงก็จะส่งผลต่ออารมณ์ได้ เมื่อแสงแดดลดลงอาจทำให้เซโรโทนินลดลงตามไปด้วยจึงนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

ระดับเมลาโทนิน การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลสามารถทำให้สมดุลของระดับเมลาโทนินในร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบการนอนหลับ และอารมณ์

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีอายุน้อยมากกว่าในผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ได้แก่ :

  • ประวัติครอบครัว. ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจมีญาติทางสายเลือดป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือภาวะซึมเศร้าในรูปแบบอื่นได้

  • ภาวะซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว อาการของภาวะซึมเศร้าอาจแย่ลงตามฤดูกาลมากขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

  • ถิ่นที่อยู่อาศัยห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ไกลออกไปทางเหนือ หรือใต้ของเส้นศูนย์สูตร  อาจเนื่องมาจากปริมาณแสงแดดที่ลดลงในช่วงฤดูหนาว และช่วงกลางวันที่ยาวนานกว่าในฤดูร้อน

ภาวะแทรกซ้อนโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

หากสังเกตสัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลให้ดีจะพบว่าโรคนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับภาวะซึมเศร้าประเภทอื่น ๆ โดยโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจแย่ลง และนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ได้ หากไม่รีบทำการรักษา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนั้นรวมถึง:

  • แยกตัวจากสังคม
  • ปัญหาในการเรียนรู้หรือทำงาน
  • การใช้สารเสพติดให้โทษ
  • ความผิดปกติของสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ เช่น ความวิตกกังวล หรือความอยากอาหารที่ผิดปกติ
  • ความคิดหรือพฤติกรรมอยากฆ่าตัวตาย
Seasonal Affective Disorder

การรักษาสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากถ้าโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้รับการวินิจฉัย และรักษาก่อนที่อาการจะแย่ลง

อาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

กรณีส่วนมากอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลจะปรากฏในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง หรือต้นฤดูหนาวและหายไปในช่วงที่มีแสงแดดมากขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการในรูปแบบตรงข้ามคือปรากฎอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน แต่ไม่ว่าจะมีอาการในช่วงใดอาการมักเริ่มจากไม่รุนแรง แล้วรุนแรงขึ้นเรื่อยตามช่วงฤดูกาลที่ดำเนินไป

สัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจรวมถึง:

  • รู้สึกหดหู่เกือบทุกวัน ในทุก ๆ วัน

  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ

  • ขาดความกระตือรือร้น

  • มีปัญหาในการนอนหลับ

  • ระดับอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักตัวของผู้ป่วยลดลง

  • รู้สึกเฉื่อยชา หรือกระวนกระวายใจ

  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ

  • รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือตำหนิตนเอง

  • มีความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อย ๆ

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว

อาการเฉพาะของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลที่ปรากฎอาการในฤดูหนาว บางครั้งอาจเรียกว่าภาวะซึมเศร้าในฤดูหนาว มีอาการรวมถึง:

  • การนอนหลับมากเกินไป

  • ความรู้สึกอยากอาหารลดลง โดยเฉพาะความอยากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  • รู้สึกเหนื่อยล้า หรือขาดความกระตือรือร้น

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน

อาการเฉพาะของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลที่ปรากฎอาการในฤดูร้อน บางครั้งเรียกว่าภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอาการรวมถึง:

  • ปัญหาในการนอนหลับ (นอนไม่หลับ)

  • เบื่ออาหาร

  • น้ำหนักลด

  • รู้สึกปั่นป่วนหรือวิตกกังวล

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลในลักษณะ 2 ขั้ว

 ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายโรคไบโพลาร์ในระหว่างฤดูกาล โดยเกิดเกิดอาการคลุ้มคลั่ง หรือภาวะอารมณ์ 2 ชั้ว (โรคอารมณ์แปรปรวน) น้อยลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวกลับเกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้นแทน

อาการอย่างไรจึงควรไปพบแพทย์

เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยจะรู้สึกแย่ลงในบางวัน หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายนานหลายวัน และไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ตามปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ อาการสำคัญที่ใช้วังเกตอาการคืออาการนอนไม่หลับ และความอยากอาหารที่ลดลง หรือเมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่าการใช้แอลกอฮอล์จะช่วยให้สบายตัว หรือผ่อนคลายได้มากขึ้น ในยามที่รู้สึกสิ้นหวัง หรือเกิดความคิดอยากจะฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

การใช้ยารักษาอาการ แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า อย่างฟลูออกซิทีน หรือบูโพรพิออนเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า สามารถรับประทานยาก่อนถึงช่วงฤดูกาลที่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เป็นการป้องกันอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด

การรักษาด้วยการทำจิตบำบัด ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจรักษาด้วยการบำบัดพฤติกรรมและความคิด ซึ่งเป็นการปรับรูปแบบความคิดและพฤติกรรมให้สามารถรับมือกับภาวะซึมเศร้าไดอย่างเหมาะสม โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติไป และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง

การรักษาด้วยการบำบัดด้วยแสง เป็นการรักษาด้วยการฉายแสงที่จำลองจากแสงอาทิตย์วันละประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน เป็นการปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายสามารถฉายแสงด้วยตนเองได้ที่บ้าน แต่วิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน และตรวจสอบคำแนะนำของแพทย์ให้ดี เพื่อให้สามารถใช้เครื่องฉายแสงได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนั้น การปรับกิจวัตรประจำวันในการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความผ่อนคลาย ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเนื้อสัตว์ไร้มัน และผักผลไม้ การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนั่งสมาธิ หรือฟังเพลง ก็สามารถบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้เช่นกัน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/seasonal-affective-disorder-sad/

  • https://www.nimh.nih.gov/health/publications/seasonal-affective-disorder/index.shtml

  • https://www.webmd.com/depression/guide/seasonal-affective-disorder

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9293-seasonal-depression


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
ภาวะลิ้นติด

ภาวะลิ้นติด (Tongue-Tie) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.