• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

หิด (Scabies) : สาเหตุ อาการ การรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคผิวหนัง
0
0
SHARES
1.5k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • หิดคืออะไร
  • สาเหตุของโรคหิต
  • ประเภทของหิด
  • การติดต่อของหิด
  • อาการของหิด (Scabies)
  • วิธีรักษาหิด
  • วิธีรักษาหิดด้วยตัวเองที่บ้าน จากธรรมชาติด้วยสมุนไพรรักษาหิด
  • วิธีป้องกันการเกิดหิด
4.7 / 5 ( 22 votes )

หิดคืออะไร

หิด (Scabies) เกิดจากอะไร หิดเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากตัวหิดที่รู้จักกันในชื่อ Sarcoptes scabiei เป็นไรชนิดหนึ่งสามารถมีชีวิตอยู่บนผิวคนได้เป็นเวลาหลายเดือน ตัวหิดนี้สามารถขุดผิวหนังและลงไปและวางไข่ ทำให้เกิดผื่นแดงคันบนผิวหนัง หรือกัดกินเซลล์ผิวของคุณทำให้เป็นผื่น(rash)  และผิวมีอาการคัน(itchy skin)และแดงที่ผิวหนังอาการคันรุนแรงอาจเกิดมาจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายที่มีต่อน้ำลาย ไข่ ของตัวหิด และหิดสามารถติดต่อกันได้

โรคหิด (Scabies)
หิด (Scabies)

สาเหตุของโรคหิต

บางคนอาจจะติดโรคนี้มาจากบุคคลอื่น ๆ หรือไรตามที่นอน เมื่อหิดมาอาศัยอยู่บนตัวคนแล้วหิดตัวเมียจะทำการขุดเจาะผิวหนังวางไข่ในวันละ 1-3 ฟอง หิดตัวเมียนี้จะขุดผิวหนังต่อไปเรื่อย ๆ วันละ 2-3 มิลลิเมตร และวางไข่ไปได้เรื่อย ๆ ประมาณ 1-2 เดือนจนกว่าจะหมดวงจรชีวิตที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หิดจะขุดเฉพาะผิวหนังชั้นบนสุดเท่านั้น และหิดตัวผู้ก็จะมาผสมพันธ์หลังจากผสมพันธ์วงจรชีวิตของหิดตัวผู้จะสิ้นลง ส่วนหิดตัวเมียจะเริ่มวางไข่และเริ่มวงจนชีวิตใหม่ โดยไข่ที่วางจะฟักตัวภายใน 3-4 วัน และหิดจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษา 

wait…

ประเภทของหิด

หิดต้นแบบ (Classic scabies) 

มีลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือผื่นที่เกิดจากการเกา (คัน) สำหรับลักษณะของผื่นต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น จะขึ้นกระจายไปทั่วตัว หรือบริเวณที่ผิวมีอุณหภูมิอุ่น เช่น ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ท้อง ก้น หัวหน่าว อวัยวะเพศชาย ลูกอัณฑะ ขาหนีบ หากเกามาก ๆ อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

หิดนอร์เวย์ 

เป็นการติดเชื้อหิดที่รุนแรง เนื่องจากมีหิดหลายพันตัวอยู่อาศัยอยู่บนผิวหนัง หิดทั่วไปสามารถมีอาการรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นหิดนอร์เวย์ได้ หากมีจำนวนหิดเพิ่มขึ้นและไม่ได้รับการรักษา และอาจจะลามไปส่วนอื่น ๆ เช่น ศรีษะ คอ และเล็บ หรือทั่วร่างกาย แต่หิดชนิดนี้อาจจะไม่ส่งให้เกิดอาการคัน ผู้ป่วยสามารถสังเกตุอาการได้โดย ผิวหนังจะมีสะเก็ดนูนหนาขึ้นเพราะมีตัวหิดรวมตัวกัน โดยมักคล้ายกับ โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) 

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นหิดนอร์เวย์

  • ผู้ป่วย HIV
  • ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) 
  • ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม 

การติดต่อของหิด

  • การแพร่กระจายของไรก็อาจถูกส่งผ่านเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอน ใช้ผ้าขนหนูร่วมกัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อผู้ใกล้ชิด
  • การสัมผัสกันทางผิวหนัง
  • การมีเพศสัมพันธ์

อาการของหิด (Scabies)

อาการของหิดหลังจากได้รับเชื้อหิดในเบื้องต้นอาจใช้เวลาถึงหกสัปดาห์กว่าที่อาการจะปรากฏ อาการมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นในคนที่เคยเป็นหิดมาก่อน โดยผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้ 

  • จะมีอาการคันอย่างรุนแรงที่ผิว หิดอาการจะมักจะแย่ลงในช่วงกลางคืน 
  • หากเกาบริเวณที่เกิดปัญหามากไป อาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อทางผิวหนัง 
  • มีผื่นขึ้นบริเวณที่มีหิดฝังตัวอยู่

หิดมักพบมากในบางบริเวณ และสามารถพบได้ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมักพบได้บ่อยบริเวณดังนี้: 

  • ข้อมือ
  • ง่ามนิ้วมือ
  • อวัยวะเพศชาย
  • รักแร้
  • ก้น
  • ข้อศอก
  • รักแร้
  • ใต้ราวนม
  • เอว

วิธีรักษาหิด

หิดรักษาอย่างไร การรักษาหิดนั้นมีหลายวิธี แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน การรักษาหิดสามารถทายารักษาหิดโดยแพทย์จะเป็นคนสั่งจ่ายยา และโลชั่นที่สามารถนำไปใช้โดยตรงกับผิว นอกจากนี้ยังมียาชนิดรับประทานด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วยามักจะทาในเวลากลางคืน จึงไม่จำเป็นต้องกังวลในการดำเนินชีวิตประจำวัน 

โดยครีมหรือยาทารักษาหิดที่แพทย์มักสั่งจ่ายให้มีดังนี้: 

  • sulfur 10%
  • ครีม crotamiton 10%
  • โลชั่น lindane 1%        
  • โลชั่น benzyl benzoate 25%
  • ครีมเพอร์เมทริน (permethrin) 5%  

ทั้งนี้คุณควรปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดในการทาครีมหรือโลชั่นเพื่อกำจัดหิด

นอกจากนี้แพทย์อาจจะให้ยาอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยอาการข้างเคียงที่เกิดจากหิด เช่น :

  • ยาแก้อาการระคายเคืองจำพวก Benadryl (diphenhydramine) หรือโลชั่น pramoxine ที่ช่วยให้ผิวหายจากอาการคัน
  • ครีมจำพวกสเตียรอยด์ ที่ป้องกันอาการ บวม คัน 
  • ยาฆ่าเชื้อ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เป็นหิดทั้งตัว หรือ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะสั่งยาที่เรียกว่า ivermectin (Stromectol) 

ในช่วงสัปดาห์แรกของการรักษาอย่าเป็นกังวลหากอาการเหมือนว่าจะแย่ลง หลังจากหนึ่งสัปดาห์ผ่านไปผู้ป่วยจะสังเกตเห็นว่าอาการคันน้อยลง และจะดีขึ้นหรือหายไปภายใน สี่สัปดาห์และหากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากนั้น ควรกลับไปพบแพทย์ทันที

วิธีรักษาหิดด้วยตัวเองที่บ้าน จากธรรมชาติด้วยสมุนไพรรักษาหิด

ในบางครั้งทางเลือกจากธรรมชาติอาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่หลายคนอาจจะเลือกใช้ แต่ต้องทำความเข้าใจว่าวิธีเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดอาการแสบร้อนหรือระคายเคืองผิว บางครั้งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะ และมีหลากหลายตัวเลือกให้เลือกดังนี้ 

น้ำมันทีทรีออยล์

จากการศึกษาพบว่าน้ำมันทีทรีสามารถรักษาหิดได้ และบรรเทาอาการคัน ช่วยลดผื่น แต่หากหิดฝังตัวลงไปใต้ผิวแล้ว น้ำมันทีทรีอาจจะไม่ได้ผลมากนัก

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาอาการระคายเคืองจากหิดได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งทั้งนี้ควรเป็นว่านหางจระเข้แท้เท่านั้น

ครีมจากพริก Capsaicin 

แม้ว่ามันจะไม่ฆ่าไรหรือหิดได้ แต่ครีมที่ทำจากแคปไซซิน อาจบรรเทาอาการปวดและอาการคัน

วิธีป้องกันการเกิดหิด

  • วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดหิดคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังหรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับคนที่เป็นหิด  
  • หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้าหรือนอนที่นอนเดียวกัน และควรซักเครื่องนอนหรือเสื้อผ้าที่ผู้ป่วยหิดสวมใสที่ความร้อน 50 องศาขึ้นไปเพื่อฆ่าหิด
  • งดการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสร่างกายอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะรักษาโรคหายสมบูรณ์แล้ว และการใส่ถุงยางอนามัย ก็ไม่สามารถป้องกันหิดได้ด้วย

วิธีรักษาหิดให้หายขาดไม่ใช่เรื่องยาก

หิดสามารถรักษาหายขาดได้ และไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรงแต่อย่างใด เพียงแต่เชื้อของโรคนี้สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย การเว้นระยะห่าง ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นหิดจึงเป็นวิธีป้องกันที่ปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ หากคุณมีอาการคัน ระคายเคืองและสงสัยว่าตนเองอาจเป็นหิด ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและทำการรักษาให้ทันเวลา ก่อนที่เชื้อจะแพร่ไปติดผู้อื่น คุณสามารถติดต่อโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเช่นโรงพยาบาลสมิติเวช เพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญได้


ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scabies/symptoms-causes/syc-20377378
  • https://www.nhs.uk/conditions/scabies/
  • https://dermnetnz.org/topics/scabies/
  • https://www.cdc.gov/parasites/scabies/gen_info/faqs.html

[ABTM id=1109]

Tags: ปรสิตผิวหนัง
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคหัด (Measles) คือ: สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.