• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
15/02/2021
in หาโรค, โรคกระเพาะอาหาร
0
กระเพาะทะลุ
0
SHARES
277
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของกระเพาะหรือทางเดินอาหารทะลุ
  • สาเหตุของทางเดินอาหารทะลุ
  • การวินิจฉัยกระเพาะอาหารทะลุ
  • แนวทางในการรักษาทางเดินอาหารทะลุ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหารทะลุ
  • ภาพรวมโรคกระเพาะทะลุในระยะยาว
  • การป้องกันกระเพาะอาหารทะลุ
Rate this post

กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) คือ การที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ หรือลำไส้เล็ก มีรูทะลุผ่าน อาจจะเกิดจากโรค เช่น ไส้ติ่งอักเสบและโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ อีกทั้งการบาดเจ็บก็เป็นสาเหตุให้เกิดรูทะลุได้ เช่น แผลถูกแทงหรือถูกยิง รูทะลุหากเกิดที่ถุงน้ำดีจะมีอาการคล้ายกับอาการทางเดินอาหารทะลุ

รูทะลุที่เกิดขึ้นภายในระบบทางเดินอาหาร หรือถุงน้ำดี สามารถนำไปสู่ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ ซึ่งภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในช่องท้อง

เยื่อบุช่องท้องอักเสบจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งต่อไปนี้เข้ามาภายในช่องท้อง:

  • แบคทีเรีย

  • น้ำดี

  • กรดในกระเพาะอาหาร

  • อาหารที่ถูกย่อยบางส่วน

  • อุจจาระ

ทางเดินกระเพาะอาหารทะลุเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรรักษาอย่างเร่งด่วน เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อชีวิต สามารถทำให้ติดเชื้อในช่องท้องและติดเชื้อในกระแสเลือด  แต่หากไปพบแพทย์ตั้งแต่อาการเริ่มแรกจะทำให้มีโอกาสในการฟื้นหายมากขึ้นหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ

อาการของกระเพาะหรือทางเดินอาหารทะลุ

อาการมีดังนี้:

  • ปวดท้องรุนแรง
  • หนาวสั่น
  • มีไข้
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
Gastrointestinal Perforation

เมื่อคุณมีทางเดินทะลุและเยื่อบุช่องท้องเกิดอักเสบ ภายในช่องท้องของคุณจะรู้สึกปวดมาก เจ็บมากขึ้นหากมีใครมาจับหรือคลำบริเวณท้อง หรือเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย อาการปวดทั่วไปจะดีขึ้นหากอยู่กับที่ หน้าท้องที่เกิดการอักเสบภายใน จะยื่นออกมามากกว่าปกติ และรู้สึกหน่วงท้อง

นอกจากอาการทั่วไปของทางเดินอาหารทะลุแล้ว อาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบอาจรวมถึง:

  • อ่อนเพลีย

  • ปัสสาวะ, อุจจาระ หรือผายลม ลดลง

  • หายใจถี่

  • หัวใจเต้นเร็ว

  • วิงเวียนศีรษะ

สาเหตุของทางเดินอาหารทะลุ

การเจ็บป่วยที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดทางเดินอาหารทะลุ:

  • ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ

  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร

  • แผลในกระเพาะอาหาร

  • นิ่วในถุงน้ำดี

  • ถุงน้ำดีติดเชื้อ

  • โรคที่เกิดการอักเสบของลำไส้ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) พบได้น้อย

  • การอักเสบของ Meckel’s diverticulum เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของลำไส้เล็กที่มีลักษณะคล้ายกับไส้ติ่งอักเสบ

  • โรคมะเร็งในทางเดินอาหาร

ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเกิดจาก:

  • การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทกบริเวณท้อง

  • ถูกมีดแทงหรือถูกปืนยิงเข้าที่ท้อง

  • การผ่าตัดช่องท้อง

  • แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาสเตียรอยด์ (มักพบได้ในผู้สูงอายุ)

  • การกลืนเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสารกัดกร่อน

การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอร์ที่มากเกินไปจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดทางเดินอาหารทะลุ

ส่วนน้อยที่ลำไส้เกิดการบาดเจ็บจากการส่องกล้องในทางเดินอาหาร หรือทางทวารหนัก

การวินิจฉัยกระเพาะอาหารทะลุ

การวินิจฉัยกระเพาะทะลุแพทย์จะทำการ X-ray หน้าอกหรือช่องท้อง เพื่อตรวจหาอากาศภายในช่องท้อง แพทย์อาจจะทำ CT scan เพื่อให้เห็นภาพรูทะลุที่ชัดเจนกว่า รวมไปถึงการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ:

  • หาสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สูง

  • ประเมินระดับฮีโมโกลบิน ซึ่งจะสามารถระบุถึงภาวะสูญเสียเลือดได้

  • ประเมินแร่ธาตุในร่างกาย

  • ประเมินระดับความเป็นกรดในเลือด

  • ประเมินการทำงานของไต

  • ประเมินการทำงานของตับ

แนวทางในการรักษาทางเดินอาหารทะลุ

ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อปิดรูดังกล่าวและรักษาอาการ โดยเป้าหมายของการผ่าตัดทำเพื่อ:

  • แก้ไขปัญหาทางร่างกาย

  • แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

  • นำวัตถุแปลกปลอมภายในช่องท้องที่ก่อให้เกิดปัญหาออกมา เช่น อุจจาระ น้ำดี และอาหาร

น้อยรายที่แพทย์จะไม่ทำการผ่าตัดและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว หากรูสามารถปิดได้ด้วยตัวมันเอง

บางครั้ง จำเป็นต้องตัดชิ้นส่วนของลำไส้เล็กออก ซึ่งการตัดออกบางส่วนดังกล่าว ไม่ว่าลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่อาจทำให้เกิดทวารเทียม (Colostomy) หรือทวารเทียมชนิดลำไส้เล็ก (Ileostomy) ซึ่งจะช่วยระบายของเหลวภายในลำไส้เล็ก หรือทำเป็นทางเปิดเชื่อมต่อกับผนังหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอยู่

ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหารทะลุ

ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับกระเพาะทะลุได้แก่:

  • ภาวะเลือดออก

  • ภาวะติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะคุกคามชีวิตโดยการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • การเกิดฝีในช่องท้อง

  • การติดเชื้อของแผล

  • ลำไส้ขาดเลือด ซึ่งเกิดจากการตายของส่วนของลำไส้

  • เกิดทวารเทียมถาวร

บางรายแผลอาจไม่หาย หมายถึง แผลไม่ดีขึ้น หรือไม่เกิดการสมานแผลเลย ปัจจัยที่ส่งเสริมได้แก่:

  • ภาวะขาดสารอาหาร 

  • การสูบบุหรี่

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ปริมาณมากเกิน

  • การเสพยาเสพติด

  • ไม่มีสุขอนามัย

  • การติดเชื้อ

  • ยูรีเมีย เป็นการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากไตวาย

  • โรคอ้วน

  • เกิดก้อนเลือดคั่ง ซึ่งเกิดเมื่อเลือดสะสมนอกหลอดเลือด

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • การรักษาด้วยยาสเตียรอย หรือการใช้คอติโคสเตียรอย ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบ โดยออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและสามารถปกปิดการติดเชื้อได้อย่างต่อเนื่องและชะลอการวิจินฉัย

  • การใช้สารชีวภาพสำหรับอาการ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease), ลำไส้อักเสบ โรครูมาตอยด์

ภาพรวมโรคกระเพาะทะลุในระยะยาว

ความสำเร็จของการผ่าตัดรักษารูทะลุขึ้นอยู่กับขนาดของรู และระยะเวลาก่อนการรักษา โอกาสในการฟื้นหายขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ ปัจจัยที่ขัดขวางการรักษา ได้แก่:

  • อายุที่มากขึ้น

  • โรคลำไส้ที่มีอยู่เดิม

  • ภาวะแทรกซ้อนจากการมีเลือดออก

  • ขาดสารอาหาร

  • เงื่อนไขทางธรรมชาติของสาเหตุการเกิดโรคเดิม

  • การสูบบุหรี่

  • การดื่มแอลกอฮอร์และเสพสารเสพติด

  • โรคมะเร็งที่กำลังรักษาอยู่

  • อาการที่ต้องรักษาด้วยยาสเตียรอย หรือสารชีวภาพ เช่น โรครูมาตอยด์ และอาการใกล้เคียง

  • อาการทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับหรือไต และโรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

หากคุณเคยปวดหรือมีไข้ และคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระเพาะทะลุควรไปพบแพทย์ยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อแนวโน้มในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

การป้องกันกระเพาะอาหารทะลุ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้กระเพาะทะลุ ตัวอย่างเช่น มีประวัติเคยเป็นโรคทางเดินอาหารจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดรูทะลุได้ การเข้าพบแพทย์หากมีอาการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ผิดไปจากปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการปวดท้องและมีไข้ จะช่วยรักษาอาการนั้นๆ ได้ก่อนที่กระเพาะอาหารที่จะทะลุได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322008

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538191/

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000235.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ตาบอดกลางคืน

ตาบอดกลางคืน (Night Blindness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.