• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (Fatigue) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, อาการ
0
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
0
SHARES
1.1k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ร่างกายอ่อนเพลียเกิดจากอะไร
  • เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
  • วิธีการรักษาอาการอ่อนเพลีย
  • วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแล้วจะทำให้ความอ่อนเพลียหายไป
4.7 / 5 ( 23 votes )

ร่างกายอ่อนเพลีย (Fatigue) คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือขาดพลังงานของร่างกาย แต่ไม่ใช่ความรู้สึกง่วงนอน การง่วงนอนอาจเป็นอาการของความเหนื่อยล้า แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเหนื่อยล้า

อาการอ่อนเพลียเป็นอาการทั่วไปของปัญหาสุขภาพที่อาจจะไม่ส่งผลมาก ไปจนถึงกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ส่วนมากเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

หากพักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอแล้วความเหนื่อยล้าไม่หายไป เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจิต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

Fatigue

ร่างกายอ่อนเพลียเกิดจากอะไร

มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย เราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

  • ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพจิต

ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน

  • ออกแรงมากเกินไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • เครียด
  • เบื่อหน่าย
  • ซึมเศร้า
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาซึมเศร้า หรือยากล่อมประสาท
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • ยาเสพติด เช่น โคเคน
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเกินขนาด
  • รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย

  • โรคโลหิตจาง
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
  • โรคแอดดิสัน ที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย
  • ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
  • นอนไม่หลับ
  • เบื่ออาหาร
  • ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ
  • หัวใจล้มเหลว
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • โรคถุงลมโป่งพอง

ความเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และโรคอารมณ์ที่แปรปรวนตามฤดูกาล

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์

ควรรีบพบแพทย์เมื่อพบว่าร่างกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่พบสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า
  • มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • ไวต่ออุณหภูมิที่เย็น
  • วูบบ่อยๆ
  • สงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า

หากพยายามแก้ไขสาเหตุจากพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ และความเครียด แต่อาการเหนื่อยล้าไม่หายไปและยังคงดำเนินต่อไปนานกว่า 2 สัปดาห์ จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร่งด่วน

และหากอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ถือว่ารุนแรงและควรพบแพทย์

  • เลือดออกทางทวารหนัก
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ปวดช่วงอก
  • เป็นลม
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หายใจถี่
  • ปวดช่องท้องรุนแรง
  • มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • มีความคิดที่จะทำร้ายบุคคลอื่น

วิธีการรักษาอาการอ่อนเพลีย

แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับสาเหตุของความอ่อนเพลียดังนี้

  • เวลาที่เริ่มมีอาการและเวลาที่อาการดีขึ้น
  • อาการอื่น ๆ ที่คุณเคยพบ
  • ปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
  • ที่มาของความเครียด
  • ยาที่ใช้

หากแพทย์สงสัยว่า มีอาการป่วยที่เป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า จำเป็นจะต้องทดสอบทางการแพทย์บางอย่างเพิ่ม เช่น การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแล้วจะทำให้ความอ่อนเพลียหายไป

คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่จะช่วยลดความเหนื่อยล้า

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาเสพติดอื่น ๆ 

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียข และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/balance/how-tired-is-too-tired#1
  • https://www.nhs.uk/live-well/sleep-and-tiredness/10-medical-reasons-for-feeling-tired/
  • https://www.medicinenet.com/fatigue/article.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคไข้แมวข่วน

โรคไข้แมวข่วน (Cat Scratch Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.