• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
โรคไฟลามทุ่ง
0
SHARES
490
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคไฟลามทุ่งคืออะไร
  • อาการของโรคไฟลามทุ่งมีอะไรบ้าง
  • สาเหตุของโรคไฟลามทุ่งคืออะไร
  • โรคไฟลามทุ่งมีวิธีการรักษาอย่างไร
5 / 5 ( 1 vote )

โรคไฟลามทุ่งคืออะไร

โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือการติดเชื้อแบคทีเรียชั้นบนสุดของผิวหนัง ซึ่งเป็นความผิดปกติของผิวหนังเช่นเดียวกับเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยทั้งสองอาการนี้มีลักษณะภายนอกที่คล้ายกันและมีวิธีการรักษาเหมือนกัน

โดยปกติโรคไฟลามทุ่งเกิดจากเช่นแบคทีเรีย Streptococcus กลุ่ม ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ โดยการติดเชื้อก่อให้เกิดผื่นแดงขนาดใหญ่บนผิวหนัง บางครั้งอาจมีอาการอื่นๆตามมาได้แก่แผลพุพองและมีไข้หรือเป็นหวัด โดยส่วนใหญ่เเล้วไฟลามทุ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าและขา

โรคไฟลามทุ่งมีอาการดีขึ้นเมื่อทำการรักษา โดยปกติอาการไฟลามทุ่งมักดีขึ้นด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

Erysipelas

อาการของโรคไฟลามทุ่งมีอะไรบ้าง

โดยปกติอาการของโรคไฟลามทุ่งมีดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • รู้สึกไม่ค่อยดี
  • มีผื่นแดงและบวม รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่มีผื่นขึ้น
  • มีแผลพุผองเกิดขึ้นบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

เมื่อมีอาการไฟลามทุ่งเกิดขึ้นบนใบหน้า โดยปกติอาการบวมมักเกิดขึ้นกับจมูกและแก้มทั้งสองข้าง

สาเหตุของโรคไฟลามทุ่งคืออะไร

โรคไฟลามทุ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus  กลุ่ม A ที่แทรกซึมเข้าไปในผิวหนังชั้นนอก โดยปกติเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มักอาศัยอยู่บนผิวหนังและพื้นผิวโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ผิวหนังผ่านบาดแผลและทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ผิวหนังแตกเป็นขุยเช่นโรคเท้านักกีฬาและเกิดผิวหนังอักเสบ ซึ่งบางครั้งนำไปสู่โรคไฟลามทุ่งได้ นอกจากนี้โรคไฟลามทุ่งยังสามารถเกิดขึ้น เมื่อเเบคทีเรียเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่จมูก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่จมูกและลำคอตามลำดับ 

สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่งได้แก่

  • เกิดแผลบนผิวหนัง
  • แผลผ่าตัด
  • แมลงกัด
  • โรคผิวหนังเช่นโรคสะเก็ดเงิน
  • ขาบวมเนื่องจากปัญหาเกี่ยวหัวใจเช่นภาวะหัวใจล้มเหลวและโรคเบาหวาน
  • การฉีดยาที่เป็นสารเสพติดเช่นยาเฮโรอีน

โรคไฟลามทุ่งมีวิธีการรักษาอย่างไร

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไฟลามทุ่งมักสามารถทำการรักษาเองได้ที่บ้านแต่วิธีการรักษาบางประเภทจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยแผนการรักษาของคุณประกอบด้วยการรักษาที่บ้าน การใช้ยาหรือการผ่าตัด

การรักษาตนเองที่บ้าน

โดยปกติบริเวณที่เกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียจำเป็นต้องยกขึ้นให้อยู่สูงกลายส่วนอื่นๆของร่างกายเพื่อลดอาการบวม เช่นถ้าหากเกิดอาการติดเชื้อที่ขา คุณควรพยายามยกขาให้อยู่สูงขึ้นกว่าระดับสะโพก ซึ่งคุณสามารถใช้เบาะรองขาในขณะที่คุณกำลังนอนอยู่ได้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือควรดื่มน้ำในเพียงพอเเละตื่นนอนเป็นเวลา โดยคุณอาจจำเป็นต้องยกขาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าปกติหลายวันก่อนที่อาการบวมจะหายไป

การใช้ยา

ยาปฏิชีวนะเช่นยาเพนนิซิลินเป็นยาทั่วไปที่นำมาใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง แพทย์จะสั่งยาชนิดนี้ให้คุณมาทานเองที่บ้าน ถ้หากคุณมีอาการของโรคปานกลาง ซึ่งคุณจำเป็นต้องทานยาประมาณอาทิตย์ 

ในกรณีที่เกิดโรคไฟลามทุ่งรุนเเรง โดยปกติผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการฉีดยาปกติชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ถ้าหากผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีบางโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะและจำเป็นเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น

 นอกจากนี้คุณจะได้รับยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการที่ทำให้เกิดการระคายเคืองรวมถึงรักษาไข้

ยาต้านเชื้อรานำมาใช้เพื่อรักษาอาการโรคเท้านักกีฬา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ถ้าหากอาการดังกล่าวทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง

การผ่าตัด

การผ่าตัดทำมาใช้ในกรณีที่เกิดโรคไฟลามทุ่งอย่างรุนเเรงเท่านั้น ซึ่งเป็นการเกิดอาการไฟลามทุ่งอย่างรวดเร็วและทำให้เนื้อเยื่อตาย โดยการผ่าตัดนำมาใช้เพื่อตัดเนื้อเยื่อที่ตายออก


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532247/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/317973

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: แบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.