• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

โรคบิด (Dysentery) : ชนิด อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคกระเพาะอาหาร
0
โรคบิด
0
SHARES
251
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคบิดอาการเป็นอย่างไร
  • ชนิดของโรคบิด
  • สาเหตุของโรคบิดและผู้ที่ได้รับความเสี่ยง
  • การวินิจฉัยโรค
  • วิธีการรักษาโรคบิด
  • ภาวะแทรกซ้อน
  • ลักษณะทั่วไป
  • วิธีการป้องกันโรคบิด
4.7 / 5 ( 22 votes )

โรคบิด (Dysentery) คือ การติดเชื้อในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงหรือท้องเสียเป็นเลือด อาจพบเมือกในอุจจาระ โดยปกติจะมีอาการ 3-7 วัน

Dysentery

โรคบิดอาการเป็นอย่างไร

อาการอื่นๆอาจรวมไปถึง :

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • มีไข้ 38 องศาหรือสูงกว่า
  • มีการขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคบิดมักเกิดจากการที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี เข่น ไม่ได้ล้างมือหลังจากใช้ห้องน้ำ หรือสัมผัสสิ่งต่างๆที่มีความเสี่ยง

การติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายได้โดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อน ดังนั้น การล้างมือสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้

ชนิดของโรคบิด

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคบิด มักเกิดจากแบคทีเรียหรือโรคอะมีบา

โรคบิดแบซิลารีย์เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Shigella, Campylobacteria, Salmonella หรือ Enterohemorrhagiv E.coli  อาการท้องเสียจาก Shigella เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Shigellosis Shigellosis เป็นโรคที่พบได้มาที่สุดถึง 500,000 ราย

โรคบิดอะมีบาเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากพยาธิเซลล์เดียวที่เรียกว่า amebiasis

โรคอะมีบาเป็นโรคที่พบได้น้อย โดนส่วนมากจะพบในพื้นที่เขตร้อนที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี โดยส่วนมาในอเมริกาผู้ที่เป็นโรคนี้คือผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ข้างต้น

สาเหตุของโรคบิดและผู้ที่ได้รับความเสี่ยง

โรคบิดมักเกิดจากการการที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี รวมไปถึงการที่ผู้ไม่มีเชื้อไปสัมผัสกับอุจจาระจากผู้ที่มีเชื้อ

การสัมผัสอาจเกิดได้จาก :

  • อาหารที่มีการปนเปื้อน
  • น้ำหรือเครื่องดื่มต่างๆที่มีการปนเปื้อน
  • ผู้ที่ติดเชื้อล้างมือไม่สะอาด
  • การว่ายน้ำในน้ำที่ปนเปื้อน เช่น ทะเลสาปหรือสระน้ำ
  • การสัมผัสโดยตรง

โรคบิดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะพบในเด็กได้มากที่สุด มันสามารถแพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสระหว่างบุคคลและอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน

โดยส่วนมากจะแพร่กระจายในผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเช่น:

  • ที่บ้าน
  • ที่รับเลี้ยงเด็ก
  • ที่โรงเรียน
  • บ้านพักคนชรา

โรคอะมีบาส่วนใหญ่ จะแพร่กระจายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนในพื้นที่เขตร้อน

การวินิจฉัยโรค

หากคุณหรือบุตรหลานของคุณมีอาการของโรคบิด ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อขีวิตได้

แพทย์จะสอบถามถึงอาการและการเดินทางล่าสุดทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์โรคของคุณได้ง่ายขึ้น

อาการท้องเสียเกิดได้จากสาเหตุหลายๆอย่าง หากคุณไม่มีอาการข้างเคียงอื่นๆที่บ่งบอกว่าเป็นโรคบิด แพทย์อาจจะตรวจหาแบคทีเรียชนิดอื่นๆ รวมไปถึงการตรวจเลือดและอุจจาระในห้องปฏิบัติการ

แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของโรค

วิธีการรักษาโรคบิด

หากมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนและให้น้ำเกลือ และสามารถทานยาที่หาซื้อได้ทั่วไปเช่น Pepto-Bismol ช่วยลดอาการตะคริวและท้องเสียได้ แค่ควรหลีกเลี่ยงยาประเภท Ioperamide หรือ atropime-diphenoxylate ซึ่งอาจทำให้มีอาการแย่ลง

แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าหากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน ให้แจ้งแพทย์เพื่อปรับวิธีการรักษา

โรคอะมีบาสามารถรักษาได้ด้วย metronidazole (Flagyl) หรือ tinidazole (Tindamax) ซึ่งทำหน้าที่ฆ่าพยาธิและในบางกรณีหลังจากหากแล้ว แพทย์อาจมีการให้ยาเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคได้หายไปหมดแล้ว

ในกรณีที่ท้องเสียอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ให้น้ำเกลือเพื่อป้องกันการขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อน

ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น :

โรคข้ออักเสบหลังติดเชื้อ : ส่งผลประมาณ 2% ของผู้ที่ได้รับแบคทีเรียสายพันธุ์เฉพาะที่เรียกว่า S.Flexneri จะมีอาการปวดตามข้อและเคืองตา รวมไปถึงเจ็บขณะปัสสาวะ โรคข้ออักเสบนี้ สามารถอยู่ได้นานหลายเดือนจนถึงหลายปี

การติดเชื้อในกระแสเลือด : พยได้น้อย และมักจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น HIV หรือมะเร็ง

อาการชัก : อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในเด็กเล็ก แต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร และสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรับการรักษา

Hemolytic uremic syndrome (HUS): เป็นอาการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายด้วยสารพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย

กรณีที่พบได้ยาก โรคอะมีบาอาจส่งผลให้เกิดฝีในตับหรือพยาธิกระจายไปที่ปอดหรือสมอง

ลักษณะทั่วไป

โรคนี้มักหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์และสามารถรับประทานยาที่หาซื้อได้โดยทั่วไป ถ้าหากมีอาการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการเตรียมอาหารให้กับผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ถ้าหากทำงานเกี่ยวกับเด็ก การเตรียมอาหาร หรือทำงานในโรงพยาบาล ควรพักผ่อนจนกว่าจะหายดี รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

คนส่วนใหญ่มัจะมีอาการตั้งแต่สองถึงสามวัน ไปจนถึงหลายสัปดาห์ แต่ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ เพื่อรับยาที่ใช้ในการกำจัดเชื้อโรค

วิธีการป้องกันโรคบิด

โรคบิดสามารถป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น :

  • ล้างมือบ่อยๆ
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็กที่ป่วย
  • ไม่กลืนน้ำจากสระ

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคคือ ระมัดระวังในการรับประทานอาหารต่างๆ อาหารต่างๆที่ควรหลีกเลี่ยงขณะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงมีดังนี้ :

  • เครื่องดื่มที่มีน้ำแข็ง
  • น้ำที่ไม่ได้ใส่ขวดหรือเปิดแล้ว
  • อาหารและเครื่องดื่มริมถนน
  • ผักผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้ว
  • นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือผลิตภัณฑ์จานม

แหล่งน้ำที่ปลอดภัยคือ :

  • ขวดน้ำที่ปิดสนิท
  • น้ำอัดลมที่ยังไม่ได้รับการเปิด
  • น้ำอัดลมในกระป๋องหรือขวดที่ปิดสนิท
  • น้ำต้มสุก
  • น้ำที่ผ่านการกรอง

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/171193
  • https://www.nhs.uk/conditions/dysentery/
  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-is-dysentery
  • https://www.chp.gov.hk/en/healthtopics/content/24/14.html

Content and expert reviews from Bupa team.

Tags: แบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
โรคลักปิดลักเปิด

โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.