• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

กระดูกสะโพกหัก (Broken Hip) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
22/01/2021
in หาโรค, โรคระบบกล้ามเนื้อ
0
กระดูกสะโพกหัก
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • กายวิภาคของสะโพก
  • กระดูกสะโพกหักเกิดจากอะไร
  • กระดูกสะโพกหักมีกี่ประเภท
  • ใครเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักบ้าง
  • ภาวะกระดูกสะโพกหักมีอาการอย่างไร
  • การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก
  • การรักษากระดูกสะโพกหัก
  • การฟื้นตัวและแนวโน้มระยะยาว
  • เตรียมตัวเมื่อต้องพบแพทย์
Rate this post

กายวิภาคของสะโพก

กระดูกสะโพกหัก (Broken Hip) เป็นภาวะที่ร้ายแรงในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ และหากเกิดขึ้นแล้ว เกือบทุกเคสจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ป่วยได้

สะโพกเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนบนของโคนขาและเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกเชิงกราน ส่วนภาวะที่กระดูกสะโพกหักมักจะเป็นการหักที่ส่วนบนของโคนขาหรือกระดูกต้นขา

ทั้งนี้ ช่วงสะโพกจะมีข้อต่อ ซึ่งเป็นจุดที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน และสะโพกยึดกันได้เพราะข้อต่อที่ใช้ลูกลื่นกลมรองรับอยู่ในเบ้า โดยลูกลื่นกลมดังกล่าวจะอยู่ส่วนหัวของโคนขา และเบ้าเป็นส่วนโค้งของกระดูกเชิงกรานที่เรียกว่า อะซีตาบูลัม โครงสร้างของสะโพกช่วยให้เคลื่อนไหวได้หลากหลายกว่าข้อต่อประเภทอื่น ๆ เช่น สามารถหมุนและขยับสะโพกได้หลายทิศทาง ข้อต่ออื่น ๆ เช่น หัวเข่าและข้อศอกจะเคลื่อนไหวได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น

กระดูกสะโพกหักเกิดจากอะไร

กระดูกสะโพกหักอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ :

  • ล้มลงบนพื้นผิวแข็ง หรือตกจากที่สูงลงมามาก ๆ

  • เกิดการบาดเจ็บที่สะโพก เช่น จากอุบัติเหตุรถชน

  • เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้สูญเสียเนื้อเยื่อกระดูก

  • มีโรคอ้วนที่ทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับกระดูกสะโพกมากเกินไป

กระดูกสะโพกหักมีกี่ประเภท

กระดูกสะโพกหักมักเกิดขึ้นในส่วนของลูกลื่นกลม (โคนขา) ของข้อต่อสะโพกและอาจเกิดขึ้นในบริเวณต่าง ๆ ได้ เวลาผ่านไป เบ้าหรืออะซิตาบูลัมอาจแตกหักได้

คอกระดูกต้นขาหัก: การแตกหักประเภทนี้เกิดขึ้นได้ที่โคนขาประมาณ 1 หรือ 2 นิ้วจากส่วนหัวของกระดูกที่เบ้ารองรับ ในกรณีนี้ คอกระดูกต้นขาหักทำให้หลอดเลือดฉีกขาด ซึ่งไปปิดกั้นการไหลเวียนเลือดไปสู่ลูกลื่นกลมของสะโพกได้

กระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกหัก: การแตกหักของกระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกจะห่างจากสะโพกออกไป โดยห่างจากข้อต่อราว 3 ถึง 4 นิ้ว อย่างไรก็ตาม กระดูกหักประเภทนี้จะไม่ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปที่โคนขา

การแตกหักภายในเยื่อหุ้มข้อ: การแตกหักประเภทนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกลื่นกลมและเบ้าส่วนสะโพก และยังอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงลูกลื่นกลมได้

ใครเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักบ้าง

ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้ เช่น:

เคยมีประวัติกระดูกสะโพกหัก: หากเคยมีภาวะกระดูกสะโพกหักมาก่อน ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดได้อีก

เชื้อชาติ: คนเชื้อสายเอเชียหรือคอเคเซียนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น  โรคกระดูกพรุน  ได้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น

เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้มากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย

อายุ: คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้ง่าย เมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงและความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง กระดูกที่อ่อนแอจะแตกหักได้ง่าย นอกจากนี้ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีปัญหาเรื่องการมองเห็นและการทรงตัว ตลอดจนปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการหกล้มได้

Broken Hip

ภาวะทุพโภชนาการ: อาหารเพื่อสุขภาพจะมีสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพของกระดูก เช่น โปรตีน วิตามินดี และแคลเซียม หากได้รับแคลอรี่หรือสารอาหารไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ หรือภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักได้เช่นกัน ทั้งนี้จาก  งานวิจัยแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ พบว่า ผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหารมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสะโพกแตกหักได้มากกว่าผู้ที่ได้รับสารอาหารเพียงพอ นอกจากนี้ เด็ก ๆ เองก็ควรจะได้รับแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอเพื่อสุขภาพของกระดูกในอนาคต

ภาวะกระดูกสะโพกหักมีอาการอย่างไร

อาการของกระดูกสะโพกหักอาจรวมถึง:

  • มีอาการปวดบริเวณสะโพกและขาหนีบ

  • ขาข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักมักจะสั้นกว่าขาข้างที่มีกระดูกสะโพกปกติ

  • เดินไม่สะดวก หรือทิ้งน้ำหนักตัวไปบนขาหรือสะโพกข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักไม่ได้

  • เกิดสะโพกอักเสบ

  • มีอาการบวมช้ำ

กระดูกสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากสงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก ให้พบแพทย์ได้ทันที

การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก

แพทย์อาจสังเกตเห็นสัญญาณที่ชัดเจนของกระดูกสะโพกหัก เช่น บวมช้ำ หรือผิดรูป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการประเมินผลเบื้องต้น

การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายช่วยให้แพทย์ระบุตำแหน่งของกระดูกที่หักได้ชัดเจนขึ้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำเอกซเรย์ถ่ายภาพสะโพก หากทำแล้วไม่เผยให้เห็นกระดูกที่หัก แพทย์อาจเลือกใช้วิธีอื่นแทน เช่น สร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

MRI อาจเผยให้เห็นตำแหน่งของกระดูกสะโพกที่หักได้ดีกว่าการฉายรังสีเอกซ์ เครื่องมือการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพนี้สามารถสร้างภาพบริเวณสะโพกโดยละเอียดได้มาก ทั้งนี้ แพทย์จะสามารถดูภาพเหล่านี้บนฟิล์มหรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย

 CT เป็นวิธีการถ่ายภาพที่สามารถสร้างภาพของกระดูกสะโพก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และไขมันโดยรอบได้

การรักษากระดูกสะโพกหัก

แพทย์อาจต้องพิจารณาอายุและสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนที่จะวางแผนการรักษา หากผู้ป่วยอายุมาก ๆ และมีโรคประจำตัวต่าง ๆ นอกเหนือจากกระดูกสะโพกหักแล้ว แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึง:

  • การรักษาด้วยยา

  • ศัลยกรรมรักษา

  • กายภาพบำบัด

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดเพื่อลดความรู้สึกปวด นอกจากนี้ วิธีที่แพทย์เลือกใช้บ่อยที่สุดคือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสะโพก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกคือการเอาส่วนที่เสียหายของสะโพกออกและใส่ชิ้นส่วนสะโพกเทียมเข้าไปแทนที่ หากผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดไปด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การฟื้นตัวและแนวโน้มระยะยาว

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในสองสามวันหลังการผ่าตัด และอาจต้องใช้เวลาซักเพื่อพักฟื้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเกิดการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก

ในหลายกรณี แม้ว่าการผ่าตัดจะประสบความสำเร็จ แต่ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นในภายหลังได้เช่นกัน และนอกจากนี้ กระดูกสะโพกหักอาจทำให้ความสามารถในการเดินและขยับเขยื้อนลดลง แต่หากผู้ป่วยลุกขึ้นเดินเหินไม่ได้ ก็อาจนำไปสู่ภาวะอื่นได้อีก เช่น:

  •  แผลกดทับ

  • เลือดอุดตันที่ขาหรือปอด

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

  •  ปอดบวม 

สำหรับผู้สูงอายุ

ภาวะกระดูกสะโพกหักอาจรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นผู้สุงอายุ เนื่องจากความเสี่ยงของการผ่าตัดในผู้สูงอายุ และความต้องการการฟื้นตัวทางกายภาพ

ทั้งนี้ หากการฟื้นตัวไม่คืบหน้า ผู้ป่วยอาจต้องเข้าพักในสถานพยาบาลในระยะยาว การสูญเสียความคล่องตัวและการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะซึมเศร้า และอาจทำให้การฟื้นตัวเกิดขึ้นได้ช้า

สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตัวจากการผ่าตัดสะโพก และป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักขึ้นมาใหม่ได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทแคลเซียมช่วยสร้างความหนาแน่นของกระดูกได้ แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ขาเพื่อป้องกันกระดูกหักและสร้างความแข็งแรง ทั้งนี้ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายหลังการผ่าตัดสะโพกก่อนเสมอ

เตรียมตัวเมื่อต้องพบแพทย์

แพทย์หรือสถานพยาบาลอาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติคนไข้ และถามคำถาม เช่น:

  • ผู้ป่วยเพิ่งหกล้มมา หรือได้รับบาดเจ็บที่สะโพกหรือไม่

  • ปวดมากแค่ไหน

  • ผู้ป่วยสามารถทิ้งน้ำหนักตัวที่ขาข้างสะโพกที่บาดเจ็บได้หรือไม่

  • ผู้ป่วยเคยตรวจความหนาแน่นของกระดูกหรือไม่

  • ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่า มีโรคประจำตัวอื่น ๆ หรือไม่

  • ผู้ป่วยกำลังใช้ยาอะไรบ้าง รวมทั้ง รับประทานวิตามินและอาหารเสริมอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์หรือเป็นคนสูบุหรี่หรือไม่

  • ผู้ป่วยเคยเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่

  • ผู้ป่วยมีปัญหาอื่น ๆ อีกหรือไม่

  • คนในครอบครัวของผู้ป่วยมีประวัติเกิดกระดูกหักหรือเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่

  • ผู้ป่วยสามารถเดินเหินและช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้หรือไม่


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hip-fracture/diagnosis-treatment/drc-20373472

  • https://www.nhs.uk/conditions/hip-fracture/

  • https://www.webmd.com/osteoporosis/what-happens-when-you-have-a-hip-fracture


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ความเจ็บปวด
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

กระแดด (Actinic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.