• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคแอมีลอยโตซีส (Amyloidosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
08/02/2021
in หาโรค
0
โรคแอมีลอยโตซีส
0
SHARES
90
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • แอมีลอยโดซิสคืออะไร?
  • ชนิดของโรคและสาเหตุมีอะไรบ้าง?
  • อาการของโรคอะมีลอยโดซิส
  • ผู้ที่มีความเสี่ยง
  • วินิจฉัยอย่างไร?
  • รักษาโรคอะมีลอยโดซิสอย่างไร?
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคอะมีลอยโดซิส
  • ภาพรวมของโรคอะมีลอยโดซิส
Rate this post

แอมีลอยโดซิสคืออะไร?

แอมีลอยโดซิสคือโรคหรือภาวะที่เกิดจากการมีสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอมีลอย เข้าไปจับตัวอยู่ในร่างกายและทำให้อวัยวะนั้นเสียหาย รวมถึงเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะนั้นล้มเหลว โรคนี้พบได้ยากแต่ก็เป็นโรคที่มีความรุนแรง

แอมีลอยโดซิสส่งผลต่ออวัยวะต่างๆเช่น:

  • หัวใจ

  • ไต

  • ลำไส้

  • ข้อต่อ

  • ตับl

  • ระบบประสาท

  • ผิวหนัง

  • เนื่อเยื่ออ่อน

บางครั้งแอมีลอยก็ไปสะสมอยู่ทั่วร่างกาย ที่เรียกว่าโรคอะมีลอยโดซิสทั่วกาย

โรคอะมีลอยโดซิสโดยทั่วไปมักไม่สามารถป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังสามารถจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยการรักษา

ชนิดของโรคและสาเหตุมีอะไรบ้าง?

ไขกระดูกตามปกติแล้วนั้นจะทำหน้าที่ผลิตเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดชนิดต่างๆเพื่อลำเลียงออกซิเจนให้แก่ร่างกายและต่อสู้กับเชื้อโรค รวมถึงช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด

นอกจากนี้ยังโรคอะมีลอยโดซิสอีกชนิดหนึ่งคือการติดเชื้อต่อสู้กับเซลล์เม็ดเลือดขาว(เซลล์พลาสม่า)ในการไขกระดูกทำให้เกิดการผลิตสารโปรตีนผิดปกติที่เรียกว่าอะมีลอย โปรตีนชนิดนี้จะจับตัวรวมเป็นกลุ่มก้อนและร่างกายไม่สามารถทำลายได้

สาเหตุหลักๆของโรคอะมีลอยโดซิสมาจากการสะสมของสารอะมีลอยตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ชนิดของอะมีลอยขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบของโรคของผู้ป่วยเป็นชนิดไหน โดยแบ่งออกดังต่อไปนี้:

ชนิดLight chain (AL) amyloidosis: เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อสารโปรตีนผิดปกติที่เรียกว่า light chains (เส้นเบา) ไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆเช่นที่บริเวณหัวใจ ไต ตับและผิวหนัง ชนิดนี้มักเรียกว่า primary amyloidosis

ชนิดAutoimmune (AA) amyloidosis: ชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังเกิดการติดเชื้อเช่นวัณโรคหรือเกิดจากโรคที่มีการอักเสบเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง พบว่ากว่าครึ่งของผู้ป่วยที่เป็นชนิด AA จะมีโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ร่วมด้วย โรคอะมีลอยโดซิสชนิด AA ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อไต บางครั้งอาจทำความเสียหายให้ต่อลำไส้ ตับและหัวใจด้วย ชนิดนี้เรามักเรียกว่า secondary amyloidosis

ชนิด Dialysis-related amyloidosis:  ชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตมาเป็นเวลานานเป็นผลทำให้ไตมีปัญหา และสารอะมีลอยนี้ยังไปสะสมอยู่ในข้อต่อและเอ็นทำให้เป็นสาเหตุของอาการปวดเกร็ง

ชนิด Hereditary (familial) amyloidosis: เป็นชนิดที่พบได้ยาก มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ มักส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ ตับและไต

ชนิด Senile amyloidosis: ชนิดนี้มักส่งผลต่อหัวใจในผู้สูงอายุ

อาการของโรคอะมีลอยโดซิส

โรคอะมีลอยโดซิสในช่วงระยะแรกอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน แต่จะเห็นความผิดปกติเมื่อโรคเริ่มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการที่แสดงออกมาแต่ละคนขึ้นอยู่กับอวัยวะใดของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ

Amyloidosis

หากโรคเกิดสารอะมีลอยที่หัวใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • หายใจสั้น

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วบ้างช้าบ้าง

  • เจ็บหน้าอก

  • ระดับความดันเลือดต่ำเป็นสาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะ

หากโรคเกิดขึ้นที่บริเวณไต ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมที่ขาเกิดขึ้นเพราะของเหลวสะสม(อาการบวมน้ำ) หรือปัสสาวะเป็นฟองจากโปรตีนส่วนเกิน

หากเกิดขึ้นที่ตับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บปวดและมีอาการบวมที่ช่องท้องส่วนบน

หากเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • คลื่นไส้

  • ท้องเสีย

  • ท้องผูก

  • เบื่ออาหาร

  • น้ำหนักลด

  • รู้สึกแน่นและจุกหลังรับประทานอาหาร

หากมีสารอะมีลอยในระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกเจ็บ ชา และเป็นเหน็บที่มือ เท้าและน่อง

  • รู้สึกหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน

  • คลื่นไส้

  • ท้องเสีย

  • ความสามารถในการรับรู้หนาวรู้ร้อนลดลง

อาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น:

  • เหนื่อยล้า

  • อ่อนเพลีย

  • มีรอยช้ำที่รอบดวงตาหรือบนผิวหนัง

  • ลิ้นบวม

  • เจ็บตามข้อ

  • กลุ่มอาการประสาทมือชา หรืออาการชาและเป็นเหน็บที่มือและนิ้วหัวแม่มือ

หากมีอาการต่างๆเหล่านี้มากเกินกว่า1-2วันควรไปพบแพทย์

ผู้ที่มีความเสี่ยง

ทุกคนมีความเสี่ยงต่อโรคอะมีลอยโดซิสทั้งสิ้น ปัจจัยเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก:

  • อายุ: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นชนิดที่พบได้บ่อยคือชนิด AL amyloidosis เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

  • เพศ: พบว่าเพศชายเป็นโรคนี้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

  • เชื้อชาติ: พบว่าคนแอฟริกันอเมริกันมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคอะมีลอยโดซิสชนิดกรรมพันธ์ุได้สูงกว่าคนเชื้อชาติอื่น

  • ผู้ที่มีประวัติทางครอบครัว: โรคอะมีลอยโดซิสชนิดกรรมพันธุ์สามารถส่งต่อกันในครอบครัวได้

  • ประวัติการใช้ยา: การติดเชื้อหรือมีโรคที่ทำให้เกิดอาการอักเสบทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะมีลอยโดซิสชนิดAAมากขึ้น

  • ผู้ที่มีปัญหาที่ไต: หากผู้ป่วยมีโรคไตและมีความจำเป็นต้องฟอกไต คุณก็จะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง การฟอกไตไม่สามารถกำจัดโปรตีนใหญ่ๆออกจากเลือดได้ดังนั้นจึงส่งผลต่อการทำงานของไต

วินิจฉัยอย่างไร?

แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติการใช้ยา อาการของโรคอะมีลอยโดซิสอาจคล้ายกับโรคอื่นๆทำให้การวินิจฉัยทำได้ยาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องบอกอาการที่เกิดขึ้นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดการวินิจฉัยโรคผิดพลาด

แพทย์อาจใช้การตรวจสอบดังต่อไปนี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติม

ตรวจเลือดและตรวจปัสาวะ: เพื่อช่วยหาระดับสารโปรตีนอะมีลอย การตรวจเลือดยังจะสามารถตรวจเช็คการทำงานของไทรอยด์และตับได้ด้วย

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram): เพื่อตรวจสอบการทำงานและขนาดของหัวใจ

การตัดชิ้นเนื้อตรวจ: การตรวจสอบด้วยวิธีนี้แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเยื่อตัวอย่างจากตับ เส้นประสาท ไต หัวใจ ไขมันหน้าท้องหรืออวัยวะส่วนอื่นๆ จากนั้นนำไปวิเคราะห์เพื่อแยกประเภทชนิดของโรคอะมีลอยโดซิสได้

การเจาะไขกระดูกและตัดชิ้นเนื้อ: การเจาะไขกระดูกคือการนำเข็มเล็กๆเข้าไปที่กระดูกแล้วดูดน้ำไขกระดูกออกมาเล็กน้อย และการตัดเนื้อไขกระดูกก็จะเป็นการตัดเอาเนื้อเยื่อจากด้านในกระดูกออกมาตรวจ การตรวจทั้งสองแบบอาจทำพร้อมกันหรือทำแยกกันได้ นอกจากนี้การนำตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจยังสามารถหาความผิดปกติของเซลล์ได้เช่นกัน

เมื่อได้รับผลการตรวจทั้งหมดแล้ว แพทย์จะสามารถหาชนิดของโรคได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจประเภทอื่น เช่นการย้อมพิเศษทางอิมมูโนฮีสโตเคมี(immunochemical staining) และการตรวจหาโปรตีนและการเผาผลาญสารอาหารโปรตีน(protein electrophoresis)

รักษาโรคอะมีลอยโดซิสอย่างไร?

โรคอะมีลอยโดซิสไม่สามารถรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการรักษาโรคนี้คือทำให้การสร้างสารโปรตีนอะมีลอยช้าลงและลดอาการต่างๆที่เกิดขึ้น

การรักษาทั่วไป

การใช้ยาเป็นตัวช่วยในการควบคุมอาการของโรคดังต่อไปนี้:

  • ยาบรรเทาอาการปวด

  • ใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน

  • ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย

  • ใช้ยาเจือจางเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

  • ใช้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ

การดูแลรักษาโรคอะมีลอยโดซิสจะขึ้นอยู่กับประเภทที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

การรักษาโรคอะมีลอยโดซิสชนิด AL

การรักษานี้จะใช้วิธีเคมีบำบัด โดยปกติยาเคมีบำบัดนำมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง แต่สามารถใช้กับโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเมื่อนำมาใช้กับโรคอะมีลอยโดซิสตัวยาจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติที่เป็นตัวการในการสร้างโปรตีนอะมีลอยขึ้น หลังจากการได้รับเคมีบำบัดผู้ป่วยอาจต้องใช้สเต็มเซลล์ การปลูกถ่ายไขกระดูกมาทดแทนเซลล์ไขกระดูกที่ถูกทำให้เสียหายไป

การใช้ยาบางตัวก็อาจช่วยรักษาโรคอะมีลอยโดซิสแบบAIได้ เช่น:

ยากลุ่ม Proteasome inhibitors: เป็นยาสำหรับยับยั้งโพรทีเอโซมซึ่งช่วยทำลายโปรตีนได้

การใช้สารปรับปรุงภูมิคุ้มกัน: เป็นสารที่ยับยั้งการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การรักษาอะมีลอยโดซิสชนิด AA

การรักษาชนิดนี้จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ส่วนหากเกิดการอักเสบจะทำการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ

การรักษาชนิด Dialysis-related amyloidosis

ผู้ป่วยสามารถรักษาชนิดนี้ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการฟอกไตที่ผู้ป่วยได้รับ หรืออาจใช้ทางเลือกอื่นเช่นการปลูกถ่ายไต

การรักษาโรคอะมีลอยโดซิสที่เกิดพันธุกรรม

ชนิดของโรคชนิดนี้เกิดจากโปรตีนที่ผิดปกติที่มาจากตับ ผู้ป่วยอาจต้องทำการปลูกถ่ายตับ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอะมีลอยโดซิส

โรคอะมีลอยโดซิสอาจสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะต่างๆที่สารดังกล่าวไปสะสมอยู่เช่น:

หัวใจ: โรคอะมีลอยโดซิสจะไปขัดขวางการทำงงานของหัวใจ ส่งผลให้การเต้นของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อะมีลอยในหัวใจเป็นสาเหตุให้การสูบฉีดของหัวใจทำงานอ่อนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยและมีอัตราความดันเลือดต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

ไต: อาจส่งผลกระทบต่อการขับของเสียออกจากเลือดและทำให้ไตทำงานหนักเกินไป นำไปสู่ภาวะไตวายได้

ระบบประสาท: เมื่ออะมีลอยไปสะสมอยู่ที่ระบบประสาทและทำความเสียหาย จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ชารู้สึกคล้ายถูกเข็มทิ่มที่นิ้วเท้าและนิ้วมือหรืออาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทอื่นๆ เช่นระบบที่ควบคุมการทำงานของลำไส้หรือความดันโลหิต

ภาพรวมของโรคอะมีลอยโดซิส

โรคอะมีลอยโดซิสไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถจัดการและควบคุมระดับอะมีลอยได้ด้วยการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาและหาวิธีวางแผนการรักษา เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนแผนการรักษาและอาการต่างๆที่เกิดขึ้น รวมถึงทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติต่อไป


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amyloidosis/symptoms-causes/syc-20353178

  • https://www.webmd.com/cancer/lymphoma/amyloidosis-symptoms-causes-treatments

  • https://www.nhs.uk/conditions/amyloidosis/

  • https://rarediseases.org/rare-diseases/amyloidosis/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
แอจีโออีดีม่า

แอจีโออีดีม่า (Angioedema) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.