ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal syndrome) คือ อาการผิดปกติที่เกิดกับนักดื่มสุราอย่างหนัก แล้วหยุดดื่ม หรือลดลงอย่างกะทันหัน

ภาวะถอนพิษสุราจะเกิดผลกระทบกับร่างกาย และอารมณ์ร่วมกันตั้งแต่ความวิตกกังวลเล็กน้อย และความเหนื่อยล้าไปจนถึงอาการคลื่นไส้ ประสาทหลอน หรือรุนแรงถึงอาการชัก จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

Alcohol Withdrawal Syndrome

อาการของภาวะถอนพิษสุรา

อาการของภาวะถอนพิษสุราจะเกิดขึ้นเมื่อนักดื่มสุราหยุดดื่มสุราเป็นเวลา 6 ชั่วโมง หรือไม่กี่วันหลังจากหยุดดื่ม โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

อาการจะแย่ลงใน 2-3 วัน และอาการจะรุนแรงขึ้น โดยสามารถคงอยู่นานเป็นหลายสัปดาห์ อาการถอนพิษสุราที่รุนแรงเราเรียกว่า Delirium tremens (DT) แสดงอาการได้ดังนี้

  • สับสนมึนงงอย่างมาก

  • มีไข้

  • มีอาการชัก

  • ภาพหลอน หรือมีความเจ็บปวดที่ไม่มีอยู่จริง

  • ประสาทหลอนทางการได้ยิน

  • ประสาทหลอนทางการมองเห็น

ภาวะถอนพิษสุราเป็นภาวะที่ฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะทำให้เกิดไข้ ภาพหลอน และปัญหาของหัวใจ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร่งด่วน

สาเหตุของภาวะถอนพิษสุรา

การดื่มสุรามากเกินไปจะทำให้ตื่นตัว และรบกวนระบบประสาท หากดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำแล้วอาจจะต้องพึ่งพาแอลกอฮอล์ในระยะยาว ภาวะถอนพิษสุรา คือ ภาวะที่ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถปรับตัวกับการขาดแอลกอฮอล์ได้ โดยทำให้เกิดภาวะดังกล่าวเมื่อหยุด หรือลดแอลกอฮอล์อย่างกะทันหัน

ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะถอนพิษสุรา

ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อภาวะถอนพิษสุรา

ภาวะถอนพิษสุรานักพบได้บ่อยในบรรดานักดื่มสุราที่จำเป็นต้องหยุดดื่มเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ

ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หนักคือ เพศหญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 8 แก้ว/สัปดาห์ หรือเพศชายที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 15 แก้ว/สัปดาห์ โดยการดื่ม 1 แก้ว สามารถประมาณการได้ดังนี้

  • สุรา เหล้ารัม วิสกี้ วอดก้า 1.5 ออนซ์

  • ไวน์ 5 ออนซ์

  • เหล้ามอลต์ 8 ออนซ์

  • เบียร์ 12 ออนซ์

การดื่มสุราหนักสำหรับผู้หญิงคือดื่ม 4 แก้ว/การดื่ม 1 ครั้ง และสำหรับผู้ชายคือดื่ม 5 แก้ว/การดื่ม 1 ครั้ง

การวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรา

แพทย์จะทำการซักถามประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อหาสัญญาณของภาวะถอนพิษสุราดังนี้

  • มือสั่น

  • ใจเต้นผิดปกติ

  • สูญเสียน้ำ

  • มีไข้

และแพทย์อาจจะตรวจสอบทางพิษวิทยาร่วมด้วย โดยวิธีนี้จะทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย

ความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุราสามารถกำหนดความรุนแรงได้ด้วยอาการ 10 อย่างดังต่อไปนี้

  • กระสับกระส่าย

  • วิตกกังวล

  • ได้ยินไม่ถนัด

  • กระบวนการคิดไม่ชัดเจน

  • ปวดศีรษะ

  • คลื่นไส้ และอาเจียน

  • เหงื่อออกมาก

  • การสัมผัสผิดปกติ

  • ตัวสั่น

  • มองเห็นผิดปกติ

คำถามที่แพทย์มักจะถาม เพื่อวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรา

  • ชืออะไร?

  • วันนี้วันที่เท่าไร?

  • รู้สึกอย่างไรกับศีรษะ?

  • ปั่นป่วนในท้องหรือเปล่า?

  • รู้สึกเหมือนแมลงกัดใต้ผิวหนังไหม?

การรักษาภาวะถอนพิษสุราเรื้อรัง

การรักษาภาวะถอนพิษสุราจะรักษาตามความรุนแรงของอาการ บางกรณีสามารถรักษาได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการชักที่จะเกิดขึ้น

เป้าหมายแรกในการรักษาคือการบรรเทาความไม่สบาย และให้คำแนะนำกับผู้ป่วยในการรักษาภาวะพิษสุราเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยตนเองที่บ้าน

สำหรับภาวะถอนพิษสุราสามารถรักษาได้ที่บ้าน โดยให้ครอบครัว หรือคนใกล้ชิดดูแล หากมีอาการแย่ลงต้องรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที นอกจากนี้ยังต้องคอยดูแล เพื่อพาผู้ป่วยไปรับการติดตามอาการจากทางแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

หากสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมาะสมสำหรับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออก

การรักษาที่โรงพยาบาล

ภาวะถอนพิษสุราที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และบรรเทาอาการ

ยารักษาภาวะถอนพิษสุรา

ภาวะถอนพิษสุราสามารถรักษาด้วยยาดังนี้ไปนี้

  • โลราซีแพม (Ativan)

  • โคลนาซีแพม (Klonopin)

  • อัลปราโซแลม (Xanax)

  • ไดอะซีแพม (Valium)

นอกจากนี้สามารถใช้วิตามินเสริม เพื่อทดแทนวิตามินที่จำเป็นที่หายไปจากการใช้แอลกอฮอล์ เมื่อการถอนพิษสุราสำเร็จแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับวิตามิน และอาหารเสริม เพื่อทดแทนโภชนาการที่ขาดหายไป

การป้องกัน และภาพรวมของภาวะถอนพิษสุรา

ผู้ที่ถอนพิษสุราได้สำเร็จ จะทำให้มีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่อาการนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิด และเหนื่อยล้าจะคงอยู่ไปสักระยะหนึ่ง (หลายเดือน)

หากภาวะถอนพิษสุราเรื้อรังรุนแรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ก่อนที่ร่างกายจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย

การป้องกันภาวะถอนพิษสุราที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหนักเป็นประจำ หากต้องการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะสามารถลดแอลกอฮอล์ได้อย่างปลอดภัย และกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงอีกครั้ง

อาการแทรกซ้อนของภาวะถอนพิษสุรา

กลุ่มอาการถอนพิษสุรา (AWS) คือชุดของอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหยุดกะทันหันหรือลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงอย่างมาก อาการอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งบางส่วนอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการถอนพิษสุรามีดังนี้
  • โรคจิตที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน Delirium Tremens (DT): นี่คืออาการ ที่รุนแรงที่สุดและเกิดขึ้นในบางกรณีเล็กน้อย โดยทั่วไป DTs จะเริ่มใน 48 ถึง 72 ชั่วโมงหลังการดื่มครั้งสุดท้าย และอาจรวมถึงความสับสนอย่างรุนแรง ภาพหลอน ความปั่นป่วน มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว และอาการชัก DT อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
  • อาการชัก:การถอนพิษสุราอาจทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรกหลังจากดื่มครั้งสุดท้าย อาการชักอาจแตกต่างกันไปในความรุนแรงและอาจเกิดขึ้นอีก
  • ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด: การถอนพิษสุราอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง และการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ กรณีที่รุนแรงอาจส่งผลให้หัวใจวายหรือหัวใจวายได้
  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร:คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงเป็นอาการทั่วไปของการถอนพิษสุรา อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งอาจร้ายแรงได้หากไม่ได้รับการแก้ไข
  • ภาวะแทรกซ้อนทางจิตเวช:ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวนเป็นเรื่องปกติในระหว่างการถอนพิษสุรา ในกรณีที่ร้ายแรง บุคคลอาจประสบกับความคิดฆ่าตัวตายหรือแนวโน้มที่จะทำร้ายตนเอง
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ: หายใจช้าและตื้น อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการถอนพิษสุรารุนแรง สิ่งนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและจำเป็นต้องมีการแทรกแซงทางการแพทย์ทันที
  • ภาวะโภชนาการบกพร่อง:การดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวมักนำไปสู่ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี และการถอนพิษสุราอาจทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น การขาดสารอาหารอาจทำให้เกิดความอ่อนแอ ความสับสน และปัญหาสุขภาพอื่นๆ
  • ความไวต่อการติดเชื้อ:แอลกอฮอล์อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และการถอนตัวอาจทำให้ความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อลดลง
  • อาการป่วยที่มีอยู่เดิมแย่ลง:การถอนพิษสุราอาจทำให้อาการป่วยที่มีอยู่แล้วรุนแรงขึ้น เช่น โรคตับ ตับอ่อนอักเสบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน:แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนนี้จะค่อนข้างหายาก แต่รุนแรงสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจ การหายใจล้มเหลว หรือเหตุการณ์ทางการแพทย์ที่รุนแรงอื่นๆ
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่มีอาการถอนพิษสุราควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีประวัติเสพแอลกอฮอล์หนักหรือเป็นเวลานาน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถให้การรักษาและการสนับสนุนที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการให้ยาเพื่อจัดการกับอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ในกรณีที่ถอนพิษสุราอย่างรุนแรง มักแนะนำให้ทำการล้างพิษทางการแพทย์ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการดูแลเพื่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลที่ถอนพิษสุรา การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆ และการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการถอนพิษสุราได้อย่างมาก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/mental-health/addiction/alcohol-withdrawal-symptoms-treatments

  • https://www.webmd.com/mental-health/addiction/alcohol-withdrawal-symptoms-treatments#1

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6084325/

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/322373


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด