• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคผื่นกุหลาบ (Pityriasis-rosea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in หาโรค, โรคผิวหนัง
0
0
SHARES
236
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการผื่นกุหลาบ
  • การวินิจฉัยผื่นกุหลาบ
  • สาเหตุการเกิดผื่นกุหลาบ
  • ตัวเลือกการรักษา
  • ภาวะแทรกซ้อนจากผื่นกุหลาบ
  • โดยภาพรวม
4.8 / 5 ( 20 votes )

โรคผื่นกุหลาบ (Pityriasis-rosea) คือ ผื่นที่ผิวหนังมีสาเหตุจากการติดเชื้อทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นกุหลาบมีลักษณะเป็นผิวหนังรูปไข่และจะเกิดบนส่วนต่าง ๆ บนร่างกายของคุณ มักเกิดได้กับทุกวัยโดยส่วนใหญ่เกิดในระหว่างอายุ 10-35 ปี

โรคผื่นกุหลาบ (Pityriasis-rosea)

อาการผื่นกุหลาบ

อาการผื่นกุหลาบที่ผิวหนังจะมีลักษณะแตกต่างจากผื่นชนิดอื่น ๆ เนื่องจากอาการเริ่มแรกที่ปรากฏจะเป็นแผ่นขนาดใหญ่ สามารถวัดได้กว้างถึง 4 เซนติเมตร ลักษณะแผ่นเป็นรูปวงรีหรือวงกลม มักเกิดที่แผ่นหลัง หน้าท้องหรือหน้าอกส่วนใหญ่อาการของรอยจะอยู่ประมาณ2-3 วันหรือเป็นสัปดาห์

ผื่นจะเปลี่ยนไปตามลักษณะที่ปรากฏ ผื่นกุหลาบในบางคนอาจมีรอยที่มีขนาดเล็ก แต่อาจจะพบได้ยาก 

รอยที่มีขนาดเล็กมักจะแพร่กระจายและสร้างรูปแบบที่คล้ายกับต้นสนที่แผ่นหลัง ผื่นกุหลาบส่วนใหญ่มักจะไม่ปรากฎบนฝ่าเท้า ใบหน้าฝ่ามือ หรือหนังศีรษะ

ผื่นกุหลาบอาจทำให้เกิดอาการคันปานกลาง จนถึงขั้นรุนแรง 

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากผื่นกุหลาบ เช่น:

  • มีไข้(fever)
  • เจ็บคอ
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ปวดศรีษะ

บางคนอาจประสบกับอาการเหล่านี้ก่อนที่จะมีผื่นเกิดขึ้นบนผิวหนัง

การวินิจฉัยผื่นกุหลาบ

ควรรีบพบแพทย์หากมีผื่นที่ผิวหนังที่ผิดปกติ แพทย์อาจวินิจฉัยอาการผื่นแดงจากการสังเกตผิวหนังของคุณหรือแพทย์อาจส่งต่อไปยังแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง

แม้ว่าผื่นกุหลาบไม่ง่ายต่อการวินิจฉัยเพราะลักษณะอาการดูเหมือนเป็นผื่นผิวหนังประเภทอื่นๆ  เช่น กลาก หรือโรคสะเก็ดเงิน 

ในระหว่างการนัดหมายแพทย์จะตรวจสภาพผิวและผื่นคัน แพทย์อาจจะขูดผื่นออกเป็นชิ้น ๆ แล้วส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดสอบ

สาเหตุการเกิดผื่นกุหลาบ

ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของผื่นกุหลาบ แม้ว่าผื่นจะมีลักษณะคล้ายลมพิษหรือมีปฏิกิริยาทางผิวหนัง แต่ไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ นอกจากนี้เชื้อราและแบคทีเรียจะไม่ทำให้เกิดผื่นชนิดนี้ นักวิจัยเชื่อว่า pityriasis rosea เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง

ผื่นกุหลาบอาจไม่ใช่โรคติดต่อ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรแตะหรือสัมผัสผิวที่เป็นผื่นกุหลาบจากคนอื่น 

ตัวเลือกการรักษา

ในกรณีส่วนใหญ่ผื่นจะหายไปเองภายใน1-2 เดือนแม้ว่าจะสามารถรักษาได้นานถึง 3 เดือนหรือนานกว่านั้นในบางกรณี

ในขณะที่คุณรอให้ผื่นหายไปการรักษาแบบใช้ยาตามใบสั่งแพทย์และการเยียวยาที่บ้านสามารถช่วยบรรเทาอาการคันที่ผิวหนังได้ ดังนี้:

  • ยาแก้แพ้เช่น diphenhydramine (Benadryl) และ cetirizine (Zyrtec)
  • ครีมไฮโดรคอร์ติโซนต่อต้านอาการคัน
  • แช่น้ำข้าวโอ๊ตอุ่น

ภาวะแทรกซ้อนจากผื่นกุหลาบ

ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการคันจนทนไม่ได้ แพทย์อาจให้ยารักษาผื่นกุหลาบที่มีฤทธิ์แรงกว่าที่มีอยู่ตามร้านขายยาทั่วไป เช่นเดียวกับโรคสะเก็ดเงิน การได้รับแสงแดดตามธรรมชาติและการรักษาด้วยแสงอาจช่วยให้ลดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง

การได้รับแสง UV สามารถยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของผิวและลดการระคายเคือง อาการคันและการอักเสบ บางคนที่มีผิวสีเข้มผิวอาจกลายเป็นจุดสีน้ำตาลเมื่อผื่นหายไป แต่จุดเหล่านี้อาจจางหายไปในที่สุด

หากคุณกำลังตั้งครรภ์และมีผื่นขึ้นไปควรรีบพบแพทย์ ผื่นกุหลาบในการตั้งครรภ์นั้นอาจส่งผลต่อโอกาสในการแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนด 

โดยภาพรวม

ผื่นกุหลาบไม่ได้เป็นโรคติดต่อ อาจไม่พบได้บ่อยและไม่ได้ทำให้เกิดเป็นแผลถาวร

แต่ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผื่นนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่ควรรีบพบแพทย์เพื่อดูอาการผื่นหากรักษาแล้วอาการแย่ลงหรือไม่ดีขึ้น


ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลบทความของเรา

  • https://dermnetnz.org/topics/pityriasis-rosea/
  • https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/pityriasis-rosea
  • https://kidshealth.org/en/parents/pityriasis-rosea.html
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/pityriasis-rosea-a-to-z

ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

พยาธิไส้เดือน (Ascariasis) : สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.