โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch-Schönlein Purpura) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

ภาพรวม

โรคฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา (Henoch-Schönlein purpura (HSP)) คือโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบและมีเลือดรั่ว ชื่อโรคตั้งตามนายแพทย์ชาวเยอรมันสองท่าน Johann Schönlein และ Eduard Henoch เป็นแพทย์ที่อธิบายโรคนี้ให้คนไข้ในปี 1800

อาการที่แสดงให้เห็นได้ชัดของโรค HSP คือการขึ้นผื่นสีแดงอมม่วงที่บริเวณขาและก้น ผื่นที่ขึ้นมาแลจะดูคล้ายรอยฟกช้ำ โรค HSP ยังเป็นสาเหตุให้ข้อบวม มีอาการกับระบบทางเดินอาหาร และไตมีปัญหา

โรค HSP มักพบในเด็ก ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบนเหมือนโรคหวัด ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้มักจะหายได้เองโดยไม่มีความจำเป็นต้องรักษา

สาเหตุของโรคคืออะไร

โรค HSP มีสาเหตุมาจากการอักเสบในหลอดเลือดเล็ก เมื่อหลอดเลือดมีการอักเสบพวกมันก็จะมีเลือดรั่วออกมาสู่ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดผื่น เลือดยังสามารถรั่วในช่องท้องและไตได้ด้วย

โรค HSP ที่ปรากฎให้เห็นเป็นเพราะการตอบสนองต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่มากเกินไป ตามปกติแล้วระบบภูมิต้านทานของเราจะผลิตโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี้ที่มีหน้าที่ค้นหาและทำลายผู้บุกรุกเช่นเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ในผู้ป่วยที่เป็นโรค HSP จะพบแอนติบอดี้ชนิด A (IgA)สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

เกินกว่าครึ่งของคนที่ป่วยเป็นโรค HSP จะมีอาการหวัดหรือมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนผื่นจะขึ้น การติดเชื้ออาจไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานให้ทำงานหนักเกินไปและปล่อยแอนติบอดี้มาทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด

สิ่งกระตุ้นโรค HSP คือ:

อาจมีเรื่องยีนเข้ามาเกี่ยวข้องกับโรค HSP เพราะบางครั้งพบว่ามีการถ่ายทอดกันในครอบครัว

อาการของโรค HSP

อาการหลักๆของโรค HSP คือการขึ้นผื่นสีแดงอมม่วงที่บริเวณขา เท้าหรือก้น ผื่นดังกล่าวอาจขึ้นที่ใบหน้า แขน หน้าอกหรือลำตัวได้ จุดในรอยผื่นดูคล้ายรอยฟกช้ำ หากคุณกดลงไปที่รอยผื่น รอยสีม่วงจะคงอยู่จะไม่เปลี่ยนเป็นสีขาว

โรค HSP ส่งผลกระทบต่อข้อต่อ ลำไส้ ไตและระบบอื่นๆ ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • ข้อต่อเจ็บและบวม โดยเฉพาะเข่าและข้อเท้า

  • มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด

  • มีเลือดในปัสสาวะ (ซึ่งอาจจะน้อยเกินกว่าจะเห็น) และสัญญานอื่นๆที่แสดงว่าไตเสียหาย

  • อัณฑะบวม (เฉพาะในเด็กผู้ชายที่เป็นโรค HSP)

  • โรคลมชัก (พบได้น้อย)

อาการปวดข้อและอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอาจเริ่มมีอาการประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนผื่นขึ้นให้เห็น

บางครั้งโรคนี้ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับไตแบบถาวรได้.

การรักษาโรค HSP

โรค HSP นี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สามารถหายได้เองภายในสองสามสัปดาห์ การพักผ่อน ทานน้ำเยอะๆ ทานยาบรรเทาอาการปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่น ไอบูโรเฟน หรืออะเซตามีโนเฟนหรือยาพาราเซตามอน ก็สามารถช่วยให้คุณหรือลูกของคุณรู้สึกดีขึ้นได้แล้ว.

ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาพวกยากลุ่ม NSAIDs เช่น นาพรอกเซน หรือไอบูโรเฟน หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เพราะยากลุ่ม NSAIDs บางครั้งอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม และควรหลีกเลี่ยงในรายที่ไตมีการอักเสบหรือบาดเจ็บ

สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง บางครั้งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาสเตียรอยด์ในคอร์สระยะสั้นๆ เพื่อลดการอักเสบในร่างกาย เพราะยาสเตียรอยด์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียงได้ ควรปฏิบติตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องการรับประทานยาอย่างเคร่งครัด

Henoch-Schönlein Purpura

หากเกิดภาวะแทรกซ้อนภายในระบบลำไส้ คุณอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไข

วินิจฉัยโรค HSP

แพทย์จะตรวจสอบคุณและลูกของคุณสำหรับอาการโรค HSP รวมถึงผื่นและอาการเจ็บข้อต่อด้วย

การตรวจสอบต่อไปนี้จะสามารถช่วยให้แพทย์วินิฉัยโรคและตัดโรคที่มีอาการใกล้เคียงกันออกไปได้:

  • การตรวจเลือด: เพื่อประเมินจำนวนเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง ดูการอักเสบและการทำงานของไต

  • ตรวจปัสสาวะ แพทย์จะเช็คหาเลือดหรือโปรตีนในปัสสาวะ  ที่อาจเป็นสัญญานว่าไตอาจถูกทำให้เสียหาย

  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจแพทย์จะเอาผิวหนังชิ้นเล็กๆส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ หาแอนติบอดี้ชนิดเอ ที่สะสมอยู่ในผิวหนังและหลอดเลือดของผู้ที่ป่วยเป็นโรค HSP การตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจก็สามารถตรวจสอบว่าไตมีความเสียหายหรือไม่ได้เช่นกัน

  • การอัลตราซาวน์ การตรวจนี้จะใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพภายในช่องท้อง เพื่อให้เห็นอวัยวะด้านในช่องท้องและไตได้ดียิ่งขึ้น

  • การซีทีสแกน การตรวจวิธีนี้ใช้เพื่อประเมินอาการปวดท้องและหาสาเหตุของอาการ

โรค HSP ในผู้ใหญ่และเด็ก

มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรค HSP คือเด็ก โดยเฉพาะตั้งแต่อายุระหว่าง 2-6 ขวบ โรคนี้มีอาการไม่รุนแรงในเด็กต่างจากผู้ใหญ่ ผื่นที่ขึ้นในผู้ใหญ่อาจมีอาการเจ็บและเป็นตุ่มหนอง และไตอาจได้รับความเสียหายมากกว่า

ในเด็กโรค HSP จะดีขึ้นภายในสองสามสัปดาห์ แต่กับผู้ใหญ่อาการจะอยู่นานกว่า

การติดตาม

ส่วนใหญ่แล้วโรค Henoch-Schönlein purpura จะดีขึ้นภายในหนึ่งเดือน แต่โรคนี้สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

โรค HSPสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ในผู้ใหญ่ไตอาจได้รับความเสียหายจนถึงขั้นรุนแรง อาจต้องได้รับการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไต และลำไส้บางส่วนอาจยุบแฟบลงเองเป็นสาเหตุของการอุดตัน ที่เรียกว่าโรคลำไส้กลืนกัน ก็เป็นเรื่องที่รุนแรงได้

ในหญิงตั้งครรภ์ โรค HSP อาจเป็นสาเหตุให้ไตเสียหายแลัวอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่นความดันเลือดสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนของโรค HSP

Henoch-Schönlein Purpura (HSP) เป็นการอักเสบของหลอดเลือด แม้ว่า HSP มักจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่บางครั้งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกรณีที่รุนแรงหรือยืดเยื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นบางประการ ได้แก่:
  • ปัญหาโรคไต : ปัญหาไตเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุดของ HSP อาจมีตั้งแต่ความเสียหายของไตเล็กน้อย ซึ่งเห็นเป็นโปรตีนหรือเลือดในปัสสาวะ ไปจนถึงสภาวะที่รุนแรงกว่า เช่น โรคไต หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน เด็กบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับไตในระยะยาวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • ภาวะแทรกซ้อนในทางเดินอาหาร : HSP อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร และภาวะลำไส้กลืนกัน เป็นภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหารที่รุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด
  • ปัญหาข้อต่อ : อาการปวดข้อและบวมเป็นอาการที่พบบ่อยของ HSP ในบางกรณี ภาวะแทรกซ้อนของข้อต่ออาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อต่อในระยะยาว
  • อาการบวมของถุงอัณฑะ : ในเด็กผู้ชาย HSP อาจทำให้ถุงอัณฑะบวมอย่างเจ็บปวด สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องน่าตกใจ แต่โดยปกติแล้วจะเป็นเพียงชั่วคราวและแก้ไขได้โดยไม่มีปัญหาระยะยาว
  • รอยแผลเป็นที่ผิวหนัง : ในกรณีที่รุนแรงของ HSP รอยโรคที่ผิวหนังอาจเป็นแผลและทิ้งรอยแผลเป็นไว้
  • ภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาท : แม้จะพบไม่บ่อย แต่ HSP อาจส่งผลต่อเส้นประสาท ซึ่งนำไปสู่ภาวะต่างๆ เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ
  • การบิดของลูกอัณฑะ : ในบางกรณี HSP อาจทำให้เกิดการบิดของลูกอัณฑะ ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สายน้ำอสุจิบิดเบี้ยว ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ลูกอัณฑะไม่ได้ ต้องมีการแทรกแซงการผ่าตัดทันที
  • การมีส่วนร่วมของระบบทางเดินหายใจ : แม้จะพบไม่บ่อยนัก แต่ HSP อาจส่งผลต่อปอด ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ไอ หายใจลำบาก และปอดอักเสบ
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ : ในกรณีที่รุนแรงมากหรือเมื่อ HSP เกี่ยวข้องกับสภาวะที่ซ่อนอยู่อื่น ๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบที่ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ รวมถึงหัวใจ ตับ และระบบประสาทส่วนกลาง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือกรณีส่วนใหญ่ของนี้ จะหายได้โดยไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนมักขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการนำเสนอครั้งแรกและการมีอยู่ของปัจจัยเสี่ยงบางประการ การประเมินและการจัดการทางการแพทย์อย่างทันท่วงทีสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและปรับปรุงผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับไตอย่างมีนัยสำคัญ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมี HSP จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามผลกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อติดตามและรักษาอย่างเหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/henoch-schonlein-purpura/symptoms-causes/syc-20354040

  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/henoch-schonlein-purpura-causes-symptoms-treatment#1

  • https://www.cdc.gov/arthritis/communications/features/living-with-joint-pain.html

  • https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/17752-joint-pain/possible-causes

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด