• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease) : อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
0
SHARES
19
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคมือเท้าปากคืออะไร
  • สาเหตุของโรคมือเท้าปาก (HFMD)
  • อาการของโรคมือเท้าปาก
  • ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปากบ้าง
  • วิธีการรักษาโรคมือเท้าปาก (HFMD)
  • การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
  • การป้องกันโรคมือเท้าปาก
4.8 / 5 ( 17 votes )

โรคมือเท้าปากคืออะไร 

โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าโรคมือเท้าปากเกิดจากอะไร โรคนี้เกิดจากการติด เชื้อไวรัส coxsackievirus ส่วนใหญ่ ไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดยตรงกับมือ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดผ่านการสัมผัสกับน้ำลาย อุจจาระหรือ การหายใจของผู้ติดเชื้อ มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ถึงอย่างไรสามารถพบได้ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ได้เช่นกัน 

โรคมือเท้าปากมีลักษณะเป็นแผลพุพอง หรือแผลใน และเมื่อเป็นแล้วสามารถแพร่เชื้อได้ให้คนทุกวัย  แต่มักโดยทั่วไปมักจะมีอาการเล็กน้อยที่หายไปเองภายในไม่กี่วัน

โรคมือเท้าปาก (HFMD)

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก (HFMD)

โรคมือเท้าและปากเกิดจากการติดเชื้อ coxsackievirus ซึ่งส่วนใหญ่เป็น coxsackievirus A16 coxsackievirus เป็นกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า enteroviruses ในบางกรณี enteroviruses ชนิดอื่นอาจทำให้เกิดโรคมือเท้าและปาก

ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดาย โดยโรคมือเท้าปากระยะแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อหนึ่งอาทิตย์ โดยที่หากไปสัมผัสกับเชื้อของผู้ที่เป็นผ่านทาง :

  • หนองหรือของเหลวจากแผล
  • น้ำลาย
  • อุจจาระ
  • ละอองจากการไอหรือจาม

อาการของโรคมือเท้าปาก

อาการอาจจะแสดงออกมาภายใน หนึ่งอาทิตย์หลังจากได้รับเชื้อ โรคมือเท้าปากอาการเริ่มต้นจะเริ่มจากมาไข้ก่อน และตามด้วย : 

  • ปวดหัว
  • มีไข้สูง
  • เบื่ออาหาร
  • ไอหรือเจ็บคอ

ลักษณะโรคมือเท้าเปื่อยภายนอก

  • มีการบวมแดงในคอ มีตุ่มพอง
  • ตามมือและเท้ามีผื่นแดง ตุ่มพอง
  • มือปากเท้าเปื่อย

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปากบ้าง

Hand, Foot, and Mouth Disease
Hand, Foot, and Mouth Disease

โดยทั่วไปแล้วโรคมือเท้าปากในเด็ก พบได้บ่อยมากกว่าในช่วงวัยอื่น ๆ หากเป็นวัยที่ต้องไปตามโรงเรียน ก็อาจจะพบการแพร่กระจายของไวรัสได้ง่ายขึ้น เมื่ออาการเกิดก็สามารถสังเกตผื่นคันในเด็กได้เบื้องต้นเด็กมักสร้างภูมิคุ้มกันให้กับโรคหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ก็พบได้หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

วิธีการรักษาโรคมือเท้าปาก (HFMD)

โดยทั่วไปแล้วโรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาสำหรับตัวโรคโดยตรง แต่จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น และการติดเชื้อจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าหากไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะทำการรักษาได้ดังนี้: 

  • ให้ยาบรรเทาการเจ็บคอ
  • ยาแก้ปวดเช่น acetaminophen หรือ ibuprofen เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว
  • สั่งยาหรือยาทาเพื่อบรรเทาแผลพุพองและผื่น

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านอย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการหายเร็วขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการดื่มของร้อน
  • งดรับประทานของเย็น
  • งดการดื่มโซดา หรือน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
  • งดรับประทานอาหารรสจัดและของเค็ม

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคมือเท้าและปากได้ง่ายๆโดยการตรวจร่างกาย ตรวจสอบในช่องปาก ดูลักษณะของแผลและผื่น และสอบถามอาการอื่น ๆ

แพทย์อาจทำการกวาดหาตัวอย่างในลำคอหรือเก็บตัวอย่างจากอุจจาระที่สามารถทดสอบหาไวรัสได้

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

  • รักษาสุขอนามัยล้างมือบ่อยๆ และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะ ถ้วย ช้อน แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ
  • ทานอาหารปรุงสุก
  • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • http://www.mayoclinic.com/health/hand-foot-and-mouth-disease/DS00599
  • https://kidshealth.org/en/parents/hfm.html
  • https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/enteroviruses/hand-foot-and-mouth-disease-hfmd

[ABTM id=1109]

Tags: ผิวหนังไวรัส
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
งูสวัด

งูสวัด (Shingles) : อาการ สาเหตุ วัคซีน ใครที่มีความเสี่ยงเป็น

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.