• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Seizure) : อาการ สาเหตุและการรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ภาวะชักจากไข้สูง
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • อาการของภาวะไข้ชัก
  • สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง
  • การรักษาภาวะชักจากไข้สูง
  • บทสรุป
Rate this post

ภาพรวม

โดยปกติภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Seizure) เกิดขึ้นในเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ปี โดยปกติเด็กจะมีอาการไข้ชักเมื่อมีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 102.2 ถึง 104°F (39 ถึง 40°C)

ภาวะไข้ชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รวดเร็วยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้มากยิ่งขึ้น โดยปกติภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ป่วย โดยส่วนใหญ่ภาวะชักจากไข้สูงมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุ 12-18 เดือน

ภาวะชักจากไข้สูงมี 2 ประเภทได้แก่ ภาวะไข้ชักธรรมดาและภาวะไข้ชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียว ซึ่งภาวะไข้ชักธรรมดาเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากกว่า

Febrile Seizure

อาการของภาวะไข้ชัก

อาการภาวะชักจากไข้สูงมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของไข้ชัก

อาการของภาวะชักจากไข้สูงแบบธรรมดาได้แก่

  • หมดสติ
  • มีอาการแขนขากระตุกหรือมีอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรง (โดยปกติมีเกิดอาการตัวสั่นเป็นจังหวะ)
  • เป็นอาการสับสนหรือเหนื่อยหลังจากเกิดอาการชัก
  • แขนและขาไร้ความรู้สึก

ภาวะชักจากไข้สูงเป็นภาวะชักปกติที่พบได้ส่วนใหญ่และสามารถเกิดขึ้นประมาณ 15 นาที โดยปกติภาวะชักจากไข้สูงธรรมดามักเกิดขึ้น 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง 

อาการของภาวะชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียวได้แก่ 

  • หมดสติ
  • มีอาการแขนขากระตุกหรือมีอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรง 
  • โดยปกติมักเกิดอาการอ่อนเเรงที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง

ภาวะชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียวเกิดขึ้นมากกว่า 15 นาที ซึ่งมีการชักกระตุกเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงเวลา 30 นาทีและอาการชักสามารถเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงเช่นกัน 

ภาวะไข้ชักธรรมดาและภาวะชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียวสามารถเกิดขึ้นอย่างซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเป็นอาการของภาวะชักจากไข้สูงที่เกิดขึ้นอีกครั้งโดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • ลูกของคุณมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเมื่อมีอาการชักครั้งเเรกและอาจมีไข้ลดลง
  • เมื่อมีอาการชักครั้งถัดไป มักเกิดขึ้นภายในปีที่เริ่มต้นเกิดอาการชัก
  • อุณหภูมิของไข้อาจไม่สูงเท่ากับอาการไข้ชักครั้งเเรก
  • ลูกของคุณเป็นไข้บ่อย

ภาวะไข้ชักดังกล่าวนี้มีเเนวโน้มเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 เดือน

สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง

ภาวะชักจากไข้สูงมักเกิดขึ้นเมื่อลูกของคุณมีอาการป่วยแต่หลายครั้งที่ภาวะนี้เกิดขึ้นก่อนที่คุณจะทราบว่าลูกของคุณมีอาการป่วย เนื่องจากโดยปกติอาการไข้ชักมักเกิดขึ้นตั้งแต่วันเเรกที่เด็กมีอาการป่วย ซึ่งเด็กอาจยังไม่มีอาการป่วยแสดงออกมา สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะชักจากไข้สูงมีหลายประการได้แก่

  • อาการไข้มักเกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีน MMR (โรคคางทูมและหัดเยอรมัน) โดยส่วนใหญ่อาการไข้สูงหลังจากการฉีดวัคซีนมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 8 ถึง 14 วันหลังจากที่เด็กได้รับการฉีดวัคซีน
  • มีไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดภาวะชักจากไข้สูงได้ โดยโรคผื่นดอกกุหลาบเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ชักได้มากที่สุด
  • ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะชักจากไข้สูง จึงทำให้ลูกมีความเสี่ยงเกิดอาการไข้ชักได้สูง

การรักษาภาวะชักจากไข้สูง

ในขณะที่เกิดภาวะไข้ชักโดยปกติไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือควรพาเด็กไปเข้ารับการรักษาเมื่อเกิดภาวะชักขึ้นครั้งหนึ่ง

ควรติดต่อทีมแพทย์ฉุกเฉินทันทีเมื่อเกิดอาการไข้ชัก แพทย์จำเป็นต้องมั่นใจว่าลูกของคุณไม่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้อาการเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อเกิดไข้ชักกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี 

ในขณะที่เด็กเกิดอาการชักควรปฏิบัติตามชั้นตอนดังต่อไปนี้

  • นำเด็กพลิกตัวนอนตะเเคง
  • ไม่ควรนำสิ่งใดก็ตามใส่เข้าไปในปากของเด็ก
  • ไม่ควรจำกัดการเคลื่อนไหวของอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรงหรือแขนขากระตุก
  • ควรนำสิ่งของหรือวัตถุที่เป็นอันตรายไปวางไว้ไกลจากตัวของผู้ที่เกิดอาการชัก (เฟอร์นอเจอร์หรือของแหลงคม)
  • ระยะเวลาของการเกิดภาวะไข้ชัก

ควรโทรหาเบอร์ 1669 ถ้าหากเกิดอาการชักมากกว่า 5 นาทีหรือเด็กไม่หายใจ

หลังจากที่อาการชักจากไข้ขึ้นสูงจบลง ควรพาเด็กไปพบเเพทย์ทันทีและควรให้ยาลดไข้กับเด็กอย่างเช่น ยาไอบลูโพเฟน (Advil) ถ้าหากเด็กมีอายุมากกว่า 6 เดือนควรให้ยา acetaminophen (Tylenol) นอกจากนี้ควรเช็ดตัวให้เด็กด้วยผ้าชุบน้ำที่อยู่ในอุณหภูมิห้องเพื่อทำให้ไข้ลดลง

การรักษาตัวใจโรงพยาบาลจำเป็นเมื่อเด็กมีอาการติดเชื้อรุนเเรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยส่วนใหญ่เด็กไม่จำเป็นต้องใช้ยาประเภทใดก็ตามเพื่อรักษาภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง

การรักษาภาวะชักจากไข้ที่เกิดขึ้นซ้ำได้แก่การรักษาด้วยขั้นตอนที่กล่าวข้างต้นร่วมกับการใช้เจลยา diazepam (Valium) ใช้สอดเข้าที่ถาวรหนัก โดยคุณจะได้รับการสอนวิธีใช้เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้เองที่บ้าน ถ้าหากลูกของคุณมีอาการไข้ชักเกิดขึ้นซ้ำ 

เด็กที่มีอาการไข้ชักเกิดขึ้นซ้ำมีโอกาสเป็นโรคลมบ้าหมูได้สูงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

บทสรุป

โดยปกติภาวะชักจากไข้สูงไม่มีอะไรที่น่ากังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าอาการภาวะไข้ชักอาจทำให้ดูน่าหวาดกลัวเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กโดยเฉพาะครั้งเเรก อย่างไรก็ตามควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันทีหลังจากมีภาวะชักจากไข้สูงเกิดขึ้น โดยแพทย์จะทำการยืนยันว่าเด็กมีอาการไข้ชักเกิดขึ้นและวางแผนการรักษาต่อไปในอนาคต

ควรติดต่อทีมแพทย์ฉุกเฉินทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น

  • คอตึง
  • อาเจียน
  • หายใจลำบาก
  • นอนหลับยาก

โดยปกติเด็กสามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติหลังจากอาการชักจบลงโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆเกิดขึ้น


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/febrile-seizure/symptoms-causes/syc-20372522
  • https://www.nhs.uk/conditions/febrile-seizures/
  • https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Febrile-Seizures-Fact-Sheet
  • https://kidshealth.org/en/parents/febrile.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: ไวรัส
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
กลุ่มอาการเทอร์เนอร์

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.