Cellulitis (โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) : อาการ สาเหตุ การรักษา

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ Cellulitis คืออะไร

โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ Cellulitis คือ การที่บริเวณผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการอักเสบโดยเชื้อแบคทีเรียนี้อาจจะผ่านเข้าสู่ผิวหนังจากแผลเปิด หรือผิวหนังที่บอบบาง  เมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้ผิวหนังมีอาการปวดร้อนบวม แดง บริเวณนั้น สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากมีการติดเชื้อขั้นรุนแรง การติดเชื้ออาจจะเข้าสู่กระแสเลือดทำให้อันตรายถึงชีวิตได้  ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย แต่มักเกิดบริเวณขา รวมถึงสามารถแพร่กระจายไปในต่อมน้ำเหลืองได้ด้วย

สาเหตุของโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

Cellulitis เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นผิวหนัง ชนิดที่พบได้บ่อย คือ Streptococcus และ Staphylococcus  ที่เข้าสู่แผลทางผิวหนังหรือผิวหนังที่แตกแห้ง แผลผ่าตัด แผลแมลงสัตว์กัดต่อย หรืออื่นๆ แต่ทั้งนี้ Cellulitis ไม่ใช่โรคติดต่อเนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นใน จึงไม่สามารถรับเชื้อมาจากผู้อื่นได้  ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิด Cellulitis ได้ มีดังนี้

อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

อาการของ Cellulitis หรือโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมีดังนี้: 
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เจ็บ มีผื่นผิวหนังลุกลามอย่างรวดเร็ว
  • ผิวมัน แน่น ตึง บวม
  • มีไข้
  • ผิวแดงอักเสบ เจ็บ
  • ผิวบริเวณที่ติดเชื้ออุ่น
  • มีฝีและหนอง
หากมีอาการที่รุนแรงจะสังเกตุได้จากผู้ป่วยมักมีอาการไข้และหนาวสั่น ร่างกายอ่อนล้า วิงเวียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และเหงื่อนออก หากมีอาการดังนี้ร่วมด้วยแล้วผู้ป่วยควรพบแพทย์โดยด่วน อาการเช่นนี้อาจหมายถึงว่าเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบกำลังแพร่กระจาย:  คุณควรเข้ารับการรักษาโดยด่วน 

การวินิจฉัย Cellulitis

แพทย์ะสามารถวินิจฉัย Cellulitis ได้เพียงแค่การประเมินทางสายตา และ การตรวจร่างกายเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจจะมีการตรวจเลือด:

การรักษาโรคเซลล์ผิวหนังอักเสบ

การรักษาโรคเซลล์ผิวหนังอักเสบ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฎิชีวิวะนะประมาณ 5 ถึง 14 วัน และอาจจะสั่งจ่ายยาแก้ปวดให้ด้วย ผู้ป่วยควรพักผ่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น พยามยกแขนหรือขาที่ติดเชื้อให้สูงเพื่อลดอาการบวม เซลล์ผิวหนังอักเสบจะหายภายใน 7 ถึง 10 วันหลังจากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ แต่อาจจะนานกว่านั้นหากคุณมีสภาพร่างกายหรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หลังจากทานยาปฎิชีวะนะได้สามวันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาการแย่ลง มีไข้ ผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะให้ยาปฎิชีวินะทางสายน้ำเกลือ หากคุณมีภูมิคุ้มกันต่ำลง มีไข้ และความดันต่ำ แผลติดเชื้อไม่ดีขึ้น 

การผ่าตัดเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

ยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปจะกำจัดเชื้อให้หมดไปได้ แต่หากป่วยเป็นฝีร่วมด้วยอาจต้องมีการผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณนั้นก่อน จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าฝี แล้วปล่อยให้หนองไหลออกมา

Cellulitis เป็นโรคติดต่อหรือไม่

โดยปกติแล้วโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจจะเกิดขึ้นได้หากคุณไปสัมผัสแผลของผู้ป่วยติดเชื้อเมื่อคุณมีแผลเปิด คุณอาจจะได้รับเชื้อแบคทีเรียนั้นได้ หากคุณมีอาการผิวหนังอักเสบหรือน้ำกัดเท้า หรือกลาก

รู้หรือไม่ น้ำกัดเท้า อาจจะทำให้เป็นโรคผิวหนังร้ายแรงได้

การรักษาโรค Cellulitis ที่บ้าน

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรค Cellulitis รักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งจ่ายเท่านั้นเพื่อเป็นการรักษาที่ถูกวิธีและได้ผล เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายมากสามารถแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่คุกคามชีวิตได้ แต่คุณสามารถรักษาอาการปวดอื่น ๆ นอกเหนือจากยาที่แพทย์ให้ได้ โดยทำตามคำแนะนำตามนี้ ทำความสะอาดแผลให้สะอาด หากติดเชื้อที่ขา ให้ยกขาเหนือระดับหัวใจ ซึ่งจะช่วยลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวด

อาการแทรกซ้อนของโรคเซลล์ผิวหนังอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของ Cellulitis อาจรุนแรงมากหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนอาจจะมีอาการดังนี้:
  • ความเสียหายของเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง (แผลเรื้อรัง)
  • อาจจะต้องตัดเนื้อหรือบริเวณที่เป็นโรคทิ้งไป
  • ความเสียหายต่ออวัยวะภายในที่ติดเชื้อ
  • อาการช็อค
  • เสียชีวิต

จะเป็นอย่างไรบ้างหากไม่รักษาโรคเนื้อเยื่ออักเสบ

หากปล่อยให้เป็นโรคเนื้อเยื่ออักเสบโดยไม่รักษา อาการเนื้อเยื่ออักเสบสามารถ แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายและพัฒนาเป็นภาวะที่คุกคามชีวิตซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน โรคเนื้อเยื่ออักเสบในผู้สูงอายุยังสามารถทำลายระบบระบายน้ำเหลืองและทำให้เกิดอาการบวมอย่างถาวรในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเนื้อเยื่ออักเสบ

ทุกคนสามารถเป็นโรคเซลลูไลติสได้ แต่ปัจจัยบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้

การติดเชื้อหรือการบาดเจ็บที่ทำให้ผิวหนังแตก

ต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากทำให้แบคทีเรียสามารถผ่านผิวหนังได้:
  • การบาดเจ็บที่ทำให้ผิวหนังแตก (เช่น บาดแผล แผลพุพอง รอยกัด แผลเจาะ รอยสัก รอยเจาะ)
  • โรคผิวหนังเรื้อรัง (เช่นเท้าของนักกีฬาและโรคเรื้อนกวาง)
  • อีสุกอีใสและโรคงูสวัด
  • การใช้ยาฉีด

การป้องกันโรคเนื้อเยื่ออักเสบ

หากคุณมีแผลหากให้ทำความสะอาดแผลทันทีและใส่ยาฆ่าเชื้อที่แผล ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล เปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวันจนกว่าแผลจะตกสะเก็ด หมั่นคอยสังเกตุแผลดูอาการว่ามีอาการบวมแดงหรือติดเชื้อหรือไม่ 

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/cellulitis#1
  • https://www.aad.org/public/diseases/a-z/cellulitis-treatment
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK549770/
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cellulitis/symptoms-causes/syc-20370762
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด