• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
13/02/2021
in หาโรค, โรคทางพันธุกรรม
0
โรคกินไม่หยุด
0
SHARES
41
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการโรคกินไม่หยุด
  • อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกินไม่หยุด
  • โรคกินไม่หยุดสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง
Rate this post

โรคกินไม่หยุด Binge eating disorder (BED) คือ การผิดปกติของการรับประทานอาหารที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ๆ หนึ่ง ประมาณ 2 เปอร์เซนต์ของประชากรโลกป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น คอเรสเตอรอลสูง และ เบาหวาน 

ความผิดปกติในการรับประทานอาหารนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาหารเพียงอย่างเดียว มันถือเป็นความผิดปกติทางจิตเวช ผู้คนมักจะเป็นโรคนี้เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า

Binge Eating Disorder

อาการโรคกินไม่หยุด

ผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดอาจรับประทานอาหารในปริมาณที่เยอะมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่หิวก็ตาม บ่อยครั้ง ความเครียดและภาวะซึมเศร้านั้นเป็นสาเหตุและอาจกระตุ้นการเกิดโรคนี้

ผู้ป่วยมักอาจรู้สึกปลดปล่อยและผ่อนคลายระหว่างการกินแต่หลังจากนั้นมักจะรู้สึกผิดและสูญเสียการควบคุมได้

ในการวินิจฉัยโรคนี้ อาจพบอาการเหล่านี้:

  • รับประทานเร็วกว่าปกติ

  • กินอิ่มจนรู้สึกอึดอัด

  • รับประทานอาหารเยอะทั้ง ๆ ที่ไม่หิว

  • ระบประทานอาหารคนเดียว เพราะเกิดความรู้สึกอึดอัดใจ และอาย

  • รู้สึกผิด หรือรู้สึกรังเกียจตัวเอง

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักประสบความรู้สึกไม่มีความสุขและกังวลใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการกินที่มากเกินไป รูปร่าง และน้ำหนักของพวกเขา

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกินไม่หยุด

สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก แต่เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ดังนี้:

  • สาเหตุทางพันธุกรรม: ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการตอบสนองต่อโดพามีนที่ไว โดพามีนคือสารเคมีในสมองที่หลั่งเมื่อรู้สึกได้รับรางวัลหรือมีความสุข มีหลักฐานชี้ชัดว่าความผิดปกตินี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

  • เพศ: โรคกินไม่หยุดพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

  • ความเปลี่ยนแปลงในสมอง: มีสัญญานต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในสมองที่ส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่ออาหารสูงขึ้นและการควบคุมตัวเองต่ำลง

  • ขนาดของร่างกาย: เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีน้ำหนักตัวมาก และผู้ป่วย 25-50 เปอร์เซนต์ที่เป็นโรคนี้ ทำศัลยกรรมลดน้ำหนักเพื่อให้ถึงเกณฑ์ที่ปกติ

  • รูปลักษณ์: ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีมุมมองที่ลบ ๆ ต่อรูปร่างของตัวเอง ไม่พอใจในร่างกาย ควบคุมอาหาร และความวิตกกังวลที่มากไปต่อรูปร่างส่งผลให้เกิดความผิดปกตินี้

  • กินมากเกินไป: การกินที่มากเกินไปทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นอาการแรกของความผิดปกตินี้

  • ความบอบช้ำทางจิตใจ: เครียดต่าง ๆ ในชีวิต เช่น การเหยียดหยาม ความตาย การที่ต้องอยู่ไกลจากครอบครัว อุบัติเหตุทางรถยนต์ การถูกล้อเลียนกลั่นแกล้งในวัยเด็ก ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ทั้งสิ้น

  • ปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ: เกือบ 80 เปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีความผิดปกติทางจิตเวช อย่างเช่น โรคกลัวสิ่งต่าง ๆ  โรคซึมเศร้า ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ ปัญหาจากการใช้สารเสพติด

ความต่อเนื่องของโรคกินไม่หยุดอาจถูกกระตุ้นได้จาก ความเครียด การควบคุมอาหาร ความคิดลบ ๆ เกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างของตัวเอง การเข้าถึงอาหารได้ง่าย  ความเบื่อหน่าย

โรคกินไม่หยุดสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

แผนการรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค และเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละคน

เป้าหมายของการรักษาอาจโฟกัสที่พฤติกรรมการกิน น้ำหนักที่เกิน รูปร่าง ปัญหาสุขภาพจิต หรือ ทั้งหมดนี้รวมกัน

ทางเลือกของการรักษาต่าง ๆ มีดังนี้ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี การบำบัดด้วยการลดน้ำหนัก และการใช้ยา  โดยอาจทำได้โดยการรักษาแบบตัวต่อตัว กลุ่ม หรือ การรักษาด้วยตัวเอง

บางคนอาจใช้การรักษาเพียงวิธีเดียว ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีรวมกัน

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

Cognitive behavioral therapy (CBT) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดในแง่ลบ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับการกิน รูปร่าง และน้ำหนัก

เมื่อสาเหตุของความรู้สึกลบ ๆ ได้ถูกจำแนกออกมาแล้ว วิธีการต่าง ๆ ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกหรือความคิดเหล่านั้น

การช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างเช่น การตั้งเป้าหมาย การรับประมทานอาหารตามรูปแบบเดิมเสมอ เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างของตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้รักษาโรคกินไม่หยุด งานวิจัยหนึ่งพบว่า หลังจากเข้าร่วมการบำบัด 20 ครั้ง 79 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยไม่กินมากอีกต่อไป 59 เปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จภายหลังการบำบัด 1 ปี

ทางเลือกอีกอย่างนึงก็คือ ผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยเองได้เองโดยการปฏิบัติตามวิธีที่ได้รับคำแนะนำ อาจจะเข้าพบนักบำบัดบ้างเพื่อได้รับความช่วยเหลือในการตั้งเป้าหมายต่าง ๆ

การรักษาด้วยตัวเองนั้นมีราคาถูกกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่า ด้วยเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ช่วยให้ง่ายขึ้น

จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

Interpersonal psychotherapy (IPT) จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล นั้นมาจากความคิดที่ว่าการกินไม่หยุดคือวิธีการแก้ปัญหาสำหรับปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความเศร้าโศก ปัญหาความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในชีวิต หรือปัญหาทางสังคมที่ซ่อนอยู่

เป้าหมายของการบำบัดตชคือการจำแนกปัญหาต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี รับรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้นภายใน 12-16 สัปดาห์

การบำบัดวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งแบบเป็นกลุ่มและแบบตัวต่อตัวกับนักบำบัด หรือบางครั้งต้องทำควบคู่กับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)

มีหลักฐานพิสูจน์ว่าการบำบัดชนิดนี้ให้ผลลัพท์ที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเทียบได้กับการบำบัดแบบ CBT

การบำบัดวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากกับผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีการรับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำ

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

Dialectical behavior therapy (DBT)  พฤติกรรมบำบัดแบบวิภาษวิธี ให้มุมมองของการกินไม่หยุดว่าเป็นการตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่ดีต่าง ๆ ที่คน ๆ นึงไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้

การบำบัดนี้จะสอนให้ผู้ป่วยควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเองกับเรื่องแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันโดยไม่ใช้การกินเป็นวิธีแก้ปัญหา

สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของวิธีนี้คือ การมีสติ อดทนต่อความกังวลใจ การควบคุมอารมณ์ และ การมีปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาผู้หญิง 44 คนที่เข้ารับการบำบัดวิธีนี้ พบว่า 89 เปอร์เซ็นต์ หยุดพฤติกรรมการกินไม่หยุดเมื่อจบการบำบัด แต่เมื่อผ่านไป 6 เดือนพบว่าตัวเลขนี้ลดไปอยู่ที่ 56 เปอร์เซนต์

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับผลในรยะยางของการรักษาด้วยวิธีนี้เมื่อเทียบกับ CBT และ IPT

การบำบัดด้วยการลดน้ำหนัก

การบำบัดด้วยการลดน้ำหนักมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักลง ซึ่งอาจทำให้กินน้อยลง และช่วยให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับรูปร่างมากขึ้น

ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตแบบช้า ๆ โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ในขณะที่คอยสังเกตอาหารที่กินเข้าไปและความคิดเกี่ยวกับอาหารในแต่ละวัน ควรจะลดน้ำหนักให้ได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

ในขณะที่การลดน้ำหนักอาจช่วยให้รูปร่างดีขึ้นได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ ที่มากับนำหนักตัวที่มากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพในการหยุดภาวะกินไม่หยุดได้เท่า CBT หรือ IPT

เช่นเดียวกับการลดน้ำหนักอันเนื่องมาจากน้ำหนักมากเกินไป การรักษาด้วยวิธีนี้ยังเห็นผลแค่ในระยะสั้น และน้ำหนักลดลงได้เพียงปานกลางเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยวิธีอื่น

การรักษาด้วยยา

มียาหลายชนิดที่สามารถรักษาโรคกินไม่หยุดได้ ซึ่งมีราคาถูกและรวดเร็วกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียาใดที่มีประสิทธิภาพเท่าการรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดแบบต่าง ๆ

ยาที่สามารถรักษาได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้า กลุ่มยากันชัก เช่น โทพิราเมท และยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น เช่น lisdexamfetamine

นักวิจัยพบว่ายาจริง ๆ นั้นใช้รักษาโรคกินไม่หยุดได้ผลมากกว่ายาหลอกในระยะสั้น ๆ ยาต่าง ๆ นั้นมีประสิทธิภาพ 48.7 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยาหลอกนั้นมีผลเพียง 28.5 เปอร์เซนต์เท่านั้น

ยาต่างๆ นั้นอาจช่วยลด ความอยากอาหาร ความครอบงำ และอาการของโรคซึมเศร้าได้

ถึงแม้ว่าการรักษานี้ดูเหมือนจะได้ผล แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังเป็นแค่ผลในระยะสั้น ๆ ยังคงต้องมีข้อมูลที่มากขึ้นอีกเกี่ยวกับผลในระยะยาว

นอกจากนี้ อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้ เช่น ปวดหัว มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รบกวนการนอน ความดันเลือดสูงขึ้น และความวิตกกังวล

เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดส่วนมากมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า ดังนั้นอาจต้องรักษาด้วยยาอื่นร่วมด้วย


นี่คือที่มาในบทความของเรา 

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/binge-eating-disorder/symptoms-causes/syc-20353627

  • https://www.nhs.uk/conditions/binge-eating/

  • https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/binge-eating-disorder/default.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป (Hyperthermia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.