• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

บาดทะยัก (Tetanus) : อาการ สาเหตุ การรักษา การป้องกันโรค

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค, โรคระบบประสาท
0
0
SHARES
183
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคบาดทะยักคืออะไร
  • สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก
  • อาการโรคบาดทะยัก
  • การรักษาโรคบาดทะยัก
  • การป้องกันโรคบาดทะยัก
4.7 / 5 ( 18 votes )

โรคบาดทะยักคืออะไร 

โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือโรคแผลติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็งตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ บางครั้งโรคบาดทะยักอาจจะส่งรุนแรงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้  

จากสิถิติผู้ป่วยโรคบาดทะยักในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปี 2516 มีผู้ป่วยเป็นโรคบาดทะยักจำนวน 1,494 ราย และในปี  2520 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,975 รายในปี 2520 คิด เป็นอัตราป่วยด้วยโรคบาดทะยักต่อประชากร แสนคนเท่ากับ 3.67 และ 4.49 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคบาดทะยักแล้วเสียชีวิตมี 273 คน ในปี 2516 เพิ่มเป็น 427 คน ในปี 2520 อัตราตายนี้คิดได้เป็น 18.3 ถึง 21.7% ของผู้ป่วย ดังนั้นการเป็นโรคบาดทะยักนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวลมาก ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาทันที แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัค แต่วัคซีนโรคบาดทะยัคจำเป็นต้องฉีดซ้ำทุก ๆ 10 ปี

โรคบาดทะยัก (Tetanus)

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

สาเหตุของโรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani ที่มีสปอร์ที่แพร่กระจายตามบริเวณฝุ่น หรือพื้นดิน และมูลสัตว์ และเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานตามพื้นที่ต่าง ๆ นอกร่างกาย แบคทีเรียมีความทนทานต่อความร้อน จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ เมื่อผู้ป่วยมีบาดแผลและสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคบาดทะยักขึ้น และเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วสปอร์ของแบคทีเรียจะแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ประสาทส่วนกลางผลิตสารพิษ ทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย 

สาเหตุการบาดเจ็บที่อาจจะก่อให้เกิดการได้รับเชื้อบาดทะยักมีดังนี้ 

  • แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 
  • แผลจากการถูกมีดบาด การเจาะ รอยสัก
  • แผลติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • แผลฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือผิวหนัง
  • แผลจากการถูกแมวข่วน หรือสุนัขกัด

อาการโรคบาดทะยัก

เมื่อรับเชื้อบาดทะยักมาแล้ว เชื้อจะทำการฟักตัวเป็นเวลา 3-21 วัน โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมาภายใน 14 วัน โรคบาดทะยักจะส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งอาจนำไปสู่การเกร็งบริเวณขากรรไกร และกล้ามเนื้อลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการชักและเกร็งในกล้ามเนื้อต่างๆ เช่นบริเวณกราม หน้าท้องหน้าอก หลังและคอ 

นอกจากนี้บาดทะยักอาจจะส่งผลให้ :

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีไข้ เหงื่อออก
  • ความดันสูง

การรักษาโรคบาดทะยัก

การรักษาโรคบาดทะยักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย และมีหลายทางเลือกในการรักษา :

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จำพวกเพนิซิลลินในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • การให้ยา tetanus immune globulin (TIG) เพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • ทำความสะอาดแผลที่ติดเชื้อแบคทีเรีย 
  • ในบางกรณีอาจจะมีการผ่าชิ้นเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกไป

ภาวะแทรกซ้อนของโรคบาดทะยัก 

ด้วยอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่รุนแรงอาจจะส่งผลเสียอื่น ๆ ต่อสุขภาพตามมาเช่น : 

  • การหายใจติดขัด
  • โรคปอดบวม (การติดเชื้อของปอด)
  • สมองถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจน
  • การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ

การป้องกันโรคบาดทะยัก

วิธีป้องกันโรคบาดทะยักที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือการ ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยปัจจุบันนี้การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักจะต้องฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่เด็ก 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน จากนั้น 15-18 เดือน และอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ขวบ โดยวัคซีนป้องกันบาดทะยักควรฉีดทุก ๆ 10 ปี 

และเมื่อเกิดบาดแผลผู้ป่วยควรทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อไหร่ที่แผลสดหรือแผลที่เปิดได้รับการสัมผัสกับ ดิน ฝุ่น สภาวะแวดล้อมภายนอก ผู้ป่วยควรระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดบาดทะยัก 


ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/syc-20351625
  • https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tetanus
  • https://www.cdc.gov/tetanus/index.html
  • https://www.nhs.uk/conditions/tetanus/
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459217/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: แบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post

โรคปวดท้อง (Abdominal Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.