อาหารไม่ย่อย (Indigestion): อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการอาหารไม่ย่อย (Indigestion) คืออะไร อาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทำไมจึงเกิดอาการอาหารไม่ย่อย เพราะอาหารที่กินเข้าไปหรือเพราะปัญหาที่เกิดจากกระเพาะอาหาร 

สาเหตุของการไม่ย่อยอาหาร 

อาหารไม่ย่อยเกิดจากจากการกินอาหารมากจนเกินไป หรือกินเร็วจนเกินไป รวมทั้งการกินอาหารรสจัด หรืออาหารที่มันมากจนเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้อาหารไม่ย่อยอีกด้วย หรือการนอนเร็วเกินไปหลังจากเพิ่งกินอาหารก็จะยิ่งทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น และทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง อาการอาหารไม่ย่อยมีดังนี้: อาการอื่นๆ โดยทั่วไป มีดังนี้:
  • รู้สึกอิ่มระหว่างมื้ออาหาร ไม่สามารถทานอาหารได้หมด
  • รู้สึกอิ่มมากทั้งๆที่ทานอาหารในปริมาณที่ปกติ
  • รู้สึกแสบร้อนช่วงกลางอก มีอาการผิดปกติของหลอดอาหาร
  • รู้สึกปวดบิดในกระเพาะอาหาร
  • มีก๊าซในกระเพาะอาหาร
หากมีอาการผิดปกติต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
  • อาเจียนอย่างรุนแรง
  • อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ
  • น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ
  • อุจจาระสีดำ
  • กลืนอาหารลำบาก
การกินยาประเภทยาต้านอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ เช่นยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และ นอร์เฟกเคน  อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงส่งผลให้มีอาการอาหารไม่ย่อยได้  อุปนิสัยการกินอาหารและการดำรงชีวิต อาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารไม่ย่อย หรือย่อยยากได้เช่น 
  • เป็นโรคกรดไหลย้อน (Gerd)
  • เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • มีอาการผิดปกติของตับอ่อนหรือท่อน้ำดี
  • เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
แผลในกระเพาะอาหาร คือส่วนที่เป็นแผลบริเวณที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร หลอดอาหารหรือลำไส้เล็ก สาเหตุมาจาก H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ติดต่อระหว่างคนสู่คน โดยเชื้อเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ในบางครั้งเราอาจไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของอาการอาหารไม่ย่อย อาการอาหารไม่ย่อยอาจเกิดจากสาเหตุที่กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เช่นอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ลำไส้เล็ก

การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย มีดังนี้

แพทย์จะสอบถามสาเหตุอาการ โดยทั่วไปของผู้ป่วย รวมทั้งสอบถามถึงพฤติกรรมการกินอาหาร ประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร และอาจมีการเอ็กซเรย์หน้าท้องร่วมด้วย เพื่อตรวจดูระบบการทำงานภายในกระเพาะอาหารว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ แพทย์อาจตรวจเลือด วัดการหายใจ หรือตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล  และอาจใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาอาการผิดปกติของกระเพาะอาหาร ในระหว่างที่แพทย์ทำการส่องกล้อง แพทย์จะใช้กล้องที่ลักษณะหลอดเล็กใส่ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารของผู้ป่วย เพื่อให้หลอดได้เข้าไปตรวจเช็คระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร และแพทย์จะตรวจเช็คเยื่อบุของทางเดินอาหาร และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อออกมาเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป  การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (GI) สามารถวินิจฉัยอาการได้ดังนี้
  • กรดไหลย้อน
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคที่เกิดจากอากรอักเสบ
  • โรคมะเร็งติดเชื้อ
 

การรักษาอาหารไม่ย่อยด้วยการใช้ยา

มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถรักษาอาการอาหารไม่ย่อยได้ แต่การใช้ยาอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้  การใช้ยาลดกรดที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป เช่นยา Maalox และ Mylanta ช่วยต้านกรดในกระเพาะอาหาร แต่อาจทำให้ท้องเสียหรือท้องผูกได้ ตัวยาประเภท H2 receptor antagonists (H2RAs) ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่ส่งผลค้างเคียงดังนี้  ตัวยาประเภท Prokinetics เช่นยา Reglan และ Motilium ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหารแต่อาการข้างเคียงจะส่งผลดังนี้  ตัวยาประเภท proton pump inhibitors หรือ PPIs เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump หรือเอนไซม์ ส่งผลให้มีอาการข้างเคียงดังนี้ วิธีแก้อาการอาหารไม่ย่อยด้วยธรรมชาติมีดังนี้ มาดูกันว่าอาหารไม่ย่อยกินอะไรได้บ้าง 
  • ผักผลไม้อย่างมะละกอ แอปเปิล ผักชีลาวมีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร ส่วน แครอต พาร์สลีย์ กะหล่ำปลี และน้ำมันมะกอกชนิดพิเศษ ก็มีสรรพคุณเป็นยาลดกรด ลดการระคายเคือง 
  • นำตะไคร้แก่สดๆ ทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (50-60 กรัม) ต้มเอาน้ำ แก้อาการแน่นจุกเสียด
  • นำขิงสด 30 กรัม ชงในน้ำเดือด 500 มิลลิกรัม แช่ไว้ 1 ชั่วโมง แล้วกรองดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ แก้ท้องอืดอาหารไม่ย่อยและปวดท้อง
  • อาหารรสขมช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมาทำงานได้ดี ลองกินมะกอก หรือชาสมุนไพรรสขมก่อนอาหารก็จะไม่มีอาการอึดอัดแน่นท้องตามมา
  • ชงชากะเพรา โดยต้มใบกะเพราและยอดสด 1 กำมือ ประมาณ 25 กรัม ในน้ำเปล่า 1 ลิตร ดื่มแทนน้ำ เพื่อช่วยบำรุงธาตุ ขับลม ลดอาการจุกเสียด ชากะเพรานี้เหมาะสำหรับขับลมในเด็ก
วิธีการดูแลรักษาให้ไม่เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้เองที่บ้าน มีดังนี้
  • ในแต่ละวันควรกินอาหารมื้อเล็ก  ไม่ควรกินมากเกินไปในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รสชาติมันจนเกินไป หรืออาหารที่ทำให้เกิดอาหารปวดท้อง หรืออาหารที่ย่อยยาก
  • ไม่ควรกินเร็วเกินไป และไม่ควรเอนตัวลงนอนทันที ภายหลังการกินอาหาร
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน
  • ลดการกินกาแฟ กินน้ำอัดลม และเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หยุดยาที่ส่งผลต่อเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง เช่น  NSAIDs
  • ควรลดความเครียด หรือเล่นโยคะ ผ่อนคลายความเครียด
อาการอาหารไม่ย่อย เป็นปัญหาของสุขภาพที่พบได้บ่อย หากมีอาการผิดปกติไม่ควรนิ่งเฉย ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจส่งผลให้ 
  • มีอาการเรื้อรัง
  • เจ็บปวดรุนแรง
  • ดื้อยาหรือร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่สั่งโดยแพทย์
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและถึงชีวิตได้  Indigestion

คำถามที่พบบ่อย

อาหารไม่ย่อยกินเวลานานแค่ไหน  ระยะเวลาที่อาหารไม่ย่อย อาการอาหารไม่ย่อยที่ไม่รุนแรงส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หรือแม้แต่ยา ในกรณีเหล่านี้ อาการจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง และแม้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอีกเป็นเวลา 2-3 วัน อาการจะหายไปเองหรือหลังจากปรับเปลี่ยนอาหารหรือวิถีชีวิต อาหารไม่ย่อยหายได้เองหรือไม่ อาหารไม่ ย่อยมักจะหายไปเองและจะผ่านไปตามเวลา ตัวอย่างเช่น หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยหลังจากรับประทานอาหารมื้อใหญ่ อาการไม่สบายท้องของคุณอาจลดลงเมื่อร่างกายของคุณเริ่มย่อยอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อย่างไรก็ตาม การใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างสามารถช่วยรักษาและป้องกันอาการอาหารไม่ย่อยได้ อาหารไม่ย่อยร้ายแรงหรือไม่  อาหารไม่ย่อยขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวกับส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารเช่น แผลเป็นที่หลอดอาหารหรือทางเดินอาหารจากกระเพาะอาหาร อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ของอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง อาหารไม่ย่อยเป็นปัญหาร้ายแรงหรือไม่ หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยและอาการใดๆ ต่อไปนี้ คุณอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่านั้นและควรไปพบแพทย์ทันที: อุจจาระสีดำคล้ายน้ำมันดิน อาเจียนเป็นเลือด กลืนลำบากหรือกลืนลำบาก ทำไมอาหารไม่ย่อยถึงไม่หายไป  อาหารไม่ย่อยมักเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน เช่น โรคกรดไหลย้อน (GERD) แผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคถุงน้ำดีแทนที่จะเป็นอาการของมันเอง เรียกอีกอย่างว่าอาการอาหารไม่ย่อย หมายถึงอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบายในช่องท้องส่วนบนอย่างต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ น้ำดื่มช่วยเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อหรือไม่ ประการแรก น้ำสามารถช่วยเจือจางกรดในกระเพาะ อาหารและทำให้ระคายเคืองต่อหลอดอาหารน้อยลง สิ่งนี้สามารถลดอาการแสบร้อนกลางอกที่เป็นลักษณะของอาการเสียดท้องได้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำยังช่วยชะล้างกรดในกระเพาะอาหารกลับลงไปในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อยทุกวันแย่ไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์สำหรับอาการเสียดท้อง? หากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อยครั้ง (มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์) หรือมีอาการเสียดท้องร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก คุณควรไปพบแพทย์

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/indigestion/ 
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/indigestion/symptoms-causes/syc-20352211
  • https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/stomach-liver-and-gastrointestinal-tract/indigestion
  • https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/indigestion-dyspepsia/symptoms-causes

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด