• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
25/12/2020
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ไตอักเสบ
0
SHARES
38
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของโรคไตอักเสบคืออะไร
  • อาการของโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง
  • วิธีการรักษาโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง
Rate this post

ไตอักเสบคืออะไร

โรคไตอักเสบเป็นการติดเชื้อของกลุ่มเลือดฝอยไตซึ่งเป็นส่วนประกอบของไตที่เกิดจากการรวมตัวของหลอดเลือดขนาดเล็ก หลอดเลือดเหล่านี้ทำหน้าที่กรองเลือดและขับของเหลวส่วนเกิน ถ้าหากเส้นเลือดฝอยที่ไตเกิดความเสียหาย ไตของคุณจะทำงานผิดปกติและทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้

บางครั้งอาการนี้เรียกว่าภาวะไตอักเสบรุนเเรง โรคไตอักเสบเป็นโรคที่รุนเเรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตดังนั้นควรรักษาทันที โรคไตอักเสบแบ่งเป็นไตอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรังหรือเรียกว่า โรคไบร์ท 

อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ การวินิจฉัยและวิธีการรักษาโรคไตอักเสบ 

Glomerulonephritis

สาเหตุของโรคไตอักเสบคืออะไร

สาเหตุของโรคไตอักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของโรคว่าเป็นชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

ไตอักเสบเฉียบพลัน

โรคไตอักเสบเฉียบพลันเกิดจากการติดเชื้อเช่นคออักเสบหรือมีฝีเกิดขึ้นที่รากฟัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อมากเกินไป โดยปกติอาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ถ้าหากความผิดปกติเหล่านี้ไม่หายไป จำเป็นต้องทำการรักษาเพื่อป้องกันไตเสียหายในระยะยาว

โรคบางชนิดเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้ ซึ่งได้แก่โรคดังนี้

  • คออักเสบ
  • โรคภูมิแพ้ลูปัส
  • โรคกู๊ดพาสเจอร์เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่พบได้ยาก ซึ่งเกิดจากการที่แอนตี้บอดี้โจมตีเนื้อเยื่อดีของไตและปอด
  • โรคที่เกิดจากสารอะมัยลอยด์เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อมีสารโปรตีนเกิดขึ้นอย่างผิดปกติที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ
  • โรคหลอดเลือดอักเสบ GPA หรือแกรนูโลมาโตสิส วิท โพลีแองจิไอติสเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในหลอดเลือด
  • โรคโพลีอาเทอร์ไรติสเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์โจมตีเส้นเลือดใหญ่

การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เช่นยาไอบลูโพรเฟน (Advil) และยานาพรอกซิน (Aleve) เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทานยาเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือทานยาเป็นในระยะเวลานานโดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

ไตอักเสบเรื้อรัง

โรคไตอักเสบเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้ระยะเวลายาวนานหลายปีหรือมีอาการที่ปรากฎขึ้นน้อยมาก ซึ่งก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและความเสียหายที่ไต จนกระทั่งเกิดไตล้มเหลวอย่างรุนเเรง

โรคไตอักเสบเรื้อรังไม่มีสาเหตุของการเกิดที่แน่นอนเสมอไป โรคทางพันธุกรรมบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ โรคไตรั่วเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอายุน้อยและมีการมองเห็นหรือการได้ยินที่ไม่ค่อยดี นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้แก่

  • โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันบางประเภท
  • มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
  • สัมผัสกับสารละลายไฮโดรคาร์บอน

รวมถึงการเกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันที่สามารถทำให้เกิดโรคไตอักเสบเรื้อรังได้ในอนาคต

อาการของโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง

อาการของโรคไตอักเสบขึ้นอยู่กับประเภทเเละระดับความรุนเเรง ซึ่งแบ่งได้ตามประเภทดังต่อไปนี้

ไตออักเสบเฉียบพลัน

อาการเบื้องต้นของโรคไตอักเสบได้แก่: 

  • ใบหน้าบวม
  • ปัสสาวะบ่อยเเละมีปริมาณน้อย
  • ปัสสาวะปนเลือด ซึ่งทำให้ปัสสาวะมีสีดำ
  • มีของเหลวในไตเพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดอาการไอ
  • ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น

ไตอักเสบเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการใดเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดโรคขึ้นแบบช้าๆจนมีอาการคล้ายกับไตอักเสบแบบเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดหรือโปรตีนขับออกมากับปัสสาวะ ซึ่งสามารถตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • ความดันเลือดสูง
  • ข้อเท้าและใบหน้าบวม
  • ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน
  • เกิดฟองในปัสสาวะเนื่องจากโปรตีนส่วนเกิน
  • ปวดท้อง
  • เลือดกำเดาไหลบ่อย

ภาวะไตล้มเหลว

สำหรับโรคไตขั้นรุนเเรงสามารถทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนล้า
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • นอนไม่หลับ
  • ผิวแห้งและคัน
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน

วิธีการรักษาโรคไตอักเสบมีอะไรบ้าง

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการที่ปรากฎและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตอักเสบ

หนึ่งในทางเลือกของการรักษาคือการควบคุมความดันเลือด โดยเฉพาะถ้าหากภาวะความเลือดสูงเป็นสาเหตุของโรคไตอักเสบ ซึ่งการควบคุมความดันเลือดทำได้ยากมากเมื่อไตทำงานผิดปกติ ในกรณีนี้แพทย์จะให้ยาทเพื่อควบคุมความดันเช่นยากลุ่ม ACE inhibitors ซึ่งได้แก่

  • ยา captopril
  • ยา lisinopril (Zestril)
  • ยา perindopril (Aceon)

นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถให้ยา แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์หรือ ARBs เช่น

  • ยา losartan (Cozaar)
  • ยา irbesartan (Avapro)
  • ยา valsartan (Diovan)

นอกจากนี้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ยังสามารถนำมาใช้ได้เช่นกันถ้าหากระบบภูมิคุ้มกันของคุณเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของไต ซึ่งยาชนิดนี้จะช่วยลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

วิธีอื่นๆที่นำมาใช้เพื่อกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่าการฟอกพลาสมา (plasmapheresis) เป็นกระบวนการที่นำของเหลวออกจากเลือด ซึ่งเรียกว่าพลาสมาและทำการฉีดของเหลวเข้าเส้นเลือดดำใหญ่หรือการบริจาคพลาสมาที่ไม่มีแอนตี้บอดี้อยู่

สำหรับการรักษาโรคไตเรื้อรัง คุณจำเป็นต้องลดปริมาณของโปรตีน เกลือและโพแทสเซียมในอาหาร นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องดื่มน้ำปริมาณมาก แพทย์แนะนำให้การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริมและคุณจำเป็นต้องทานยาขบปัสสาวะเพื่อลดอาการบวม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพไตจากผู้เชี่ยวชาญและปรึกษานักโภชนาการเพื่อเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพไตในปริมาณที่เหมาะสม

ถ้าหากคุณเป็นโรคไตอักเสบรุนเเรงจนกลายเป็นภาวะไตล้มเหลว คุณจำเป็นต้องทำการฟอกไต สำหรับกระบวนการการฟอกไตทำโดยเครื่องฟอกไตที่ทำการกรองเลือด สำหรับโรคไตอักเสบชั้นรุนเเรงในท้ายที่สุดคุณอาจจำเป็นผ่าตัดปลูกถ่ายไต


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/glomerulonephritis/symptoms-causes/syc-20355705
  • https://www.kidney.org/atoz/content/glomerul
  • https://medlineplus.gov/ency/article/000484.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: แบคทีเรีย
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
เลือดเป็นกรด

เลือดเป็นกรด (Acidosis) : อาการ สาเหตุและการรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.