• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

เบาจืด (Diabetes Insipidus) : อาการ สาเหตุและการรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
26/12/2020
in หาโรค
0
เบาจืด
0
SHARES
72
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • เบาจืดคืออะไร
  • โรคเบาจืดคืออะไร
  • โรคเบาจืด 4 ประเภท
  • โรคเบาจืดมีวิธีการรักษาอย่างไร
  • บทสรุป
Rate this post

เบาจืดคืออะไร 

โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดเมื่อไตของคุณไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ทั้งนี้โรคเบาจืดไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานทั่วไป ดังนั้นจึงหมายความว่าคุณสามารถเป็นโรคเบาจืดได้โดยไม่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาจืดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคเบาจืดทำให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรงและปัสสาวะบ่อย โรคเบาจืดมีหลายประเภทและสามารถรักษาได้ตามปกติ อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเบาจืด

Diabetes Insipidus

โรคเบาจืดคืออะไร

อาการหลักของโรคเบาจืดได้แก่อาการกระหายน้ำอย่างรุนเเรงเนื่องจากไม่สามารถควบคุมความกระหายน้ำได้และมีอาการปัสสาวะปริมาณมาก โดยปกติผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรปัสสาวะอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาจืดอาจปัสสาวะมากถึง 16 ลิตรต่อวัน

คุณอาจตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆหรือเคยมีประสบการณ์ปัสสาวะรดที่นอน

อาการของโรคเบาจืดทั่วไปที่เกิดในทารกและเด็กเล็กได้แก่

  • เกิดอารมณ์โมโหและหงุดหงิดง่าย
  • ปัสสาวะใส่ผ้าอ้อมมากผิดปกติหรือฉี่รดที่นอน รวมถึงปัสสาวะมากเกินไป
  • กระหายน้ำอย่างรุนเเรง
  • ขาดน้ำ
  • มีไข้สูง
  • ผิวแห้ง
  • เติบโตช้า 

สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาจืดสามารถมีอาการดังกล่าวได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการสับสน วิงเวียนศีรษะหรือเฉื่อยชา โรคเบาจืดทำให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนเเรง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะชัก สมองเสียหายและเสียชีวิตได้

ควรไปพบเเพทย์ทันที ถ้าหากลูกของคุณเคยมีอาการดังกล่าว

โรคเบาจืด 4 ประเภท

โรคเบาจืดมี 4 ประเภทได้แก่:

โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง

โรคเบาจืดชนิดนี้พบได้เป็นส่วนมากและเป็นโรคที่ทำให้เกิดจากความเสียหายกับต่อมใต้สมองและสมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งความเสียหายเหล่านี้ทำให้สมองไม่สามารถผลิตและกักเก็บรวมถึงหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (ADH) ออกมาตามปกติ เมื่อร่างกายไม่มีฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกจึงส่งผลทำให้เกิดการขับปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ

โรคเบาจืดประเภทนี้เกิดจากสาเหตุดังจ่อไปนี้ 

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคที่ทำให้เกิดสมองบวม
  • การผ่าตัด
  • เนื้องอก
  • ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ต่อมใต้สมอง
  • โรคทางพันธุกรรม (พบได้น้อยมาก)

โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต 

ความผิดปกติทางพันธุกรรมบางประเภทสามารถทำลายไตได้และส่งผลทำให้ไตไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก

นอกจากนี้โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของไตเกิดจาก

  • การใช้ยาเช่นยาลิเทียม (lithium) หรือยาเตตร้าไซคลิน 
  • ระดับแคลเซียมในร่างกายสูง
  • ระดับโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
  • โรคไตเรื้อรัง
  • กระเพาะปัสสาวะอุดตัน

โรคเบาจืดชนิดที่เกิดจากความผิดปกติในการกระหายน้ำ

โรคเบาจืดชนิดนี้เกิดจากการทำงานผิดปกติของกลไกการกระหายน้ำในต่อมฮิปโปทาลามัส ส่งผมทำให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนเเรงและต้องดื่มน้ำปริมาณมาก

โรคเบาจืดชนิดนี้มีสาเหตุเดียวกันกับโรคเบาจืดชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของสมองและมีความเกี่ยวข้องกับอาการป่วยทางจิตบางประเภทและการใช้ยาบางชนิดเช่นกัน

โรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

โรคเบาจืดชนิดนี้เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งเกิดจากการที่เอนไซม์ที่ผลิตโดยรกในครรภ์เข้าไปทำลายฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (ADH) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นจนเป็นสารเคมีอันตรายที่ทำให้ไตเกิดภาวะอ่อนไหวต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก รกในครรภ์มีบทบาทสำคัญในการหล่อเลี้ยงอาหารให้แก่ทารกและเป็นทางขับถ่ายของเสีย โรคเบาจืดชนิดนี้สามารถหายได้หลังจากคลอดบุตรเเล้ว

โรคเบาจืดมีวิธีการรักษาอย่างไร

การรักษาโรคเบาจืดขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาจืดที่วินิจฉัยพบและความรุนเเรงของโรค สำหรับโรคเบาจืดที่ไม่รุนเเรง แพทย์จะเเนะนำให้บริหารปริมาณของการดื่มน้ำเพื่อให้ถึงปริมาณที่กำหนดต่อวัน

การรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัด

วิธีรักษาส่วนใหญ่สำหรับโรคเบาจืดทุกประเภทคือการใช้ฮอร์โมนเดสโมเพรสซิน (DDAVP) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งสามารถใช้รับประทานและสเปรย์พ่นจมูกหรือฉีดเข้าร่างกาย ฮอร์โมนเดสโมเพรสซินเกิดจากการสังเคราะห์ฮอร์โมนวาโซเพรสซิน ในขณะที่การทานยาเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นคุณควรดื่มน้ำเป็นประจำและควรดื่มน้ำตอนที่กระหายน้ำเท่านั้น

โดยปกติฮอร์โมนเดสโมเพรสซินนำมาใช้รักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง แต่สามารถนำมาใช้รักษาโรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อย่างรุนเเรงได้เช่นกัน 

ยาและการใช้ยา

การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไตจะทำการรักษาปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับวิธีการรักษาอื่นๆด้แก่การทานฮอร์โมนเดสโมเพรสซินปริมาณมากร่วมกับการใช้ยาชนิดอื่นเช่นยาขับปัสสาวะหรือทานเพียงยาแอสไพรินเเละยาไอบลูโพรเฟน รวมถึงยาประเภทอื่นๆในกลุ่มเดียวกันเช่นยาอินโดเมทาซิน (TIVORBEX) เมื่อยายาเหล่านี้เเล้ว ควรดื่มน้ำตามให้มากๆหรือดื่มน้ำตอนที่คุณกระหายเท่านั้น

ถ้าหากโรคเบาจืดเกิดจากการทานยาที่คุณใช้อยู่ แพทย์จะแนะนำให้หยุดใช้ยาชนิดนั้นและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรหยุดใช้ยาเอง โดยไม่ปรึกาาแพทย์ก่อน

การรักษาตามอาการ

ถ้าหากโรคเบาหวานเกิดจากปัจจัยอื่นๆเช่น เนื้องอกหรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมใต้สมอง แพทย์จะทำการรักษาอาการที่เกิดขึ้นก่อนและทำการรักษาโรคเบาจืดเป็นลำดับถัดไป ถ้าจำเป็น 

โรคเบาจืดไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะ โดยเบื้องต้นสามารถรักษาอาการที่เกิดขึ้นเเละปัญหาทางด้านจิตใจ เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตและการทานอาหาร

การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคเบาจืด สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันภาวะขาดน้ำ คุณสามารถพกขวดน้ำไปด้วยเพื่อดื่มระหว่างวันหรือให้เด็กที่เป็นโรคเบาจืดดื่มน้ำทุกๆชั่วโมง โดยแพทย์จะช่วยระบุปริมาณน้ำที่คุณจำเป็นต้องดื่มในแต่ละวัน

การจดบันทึกเวลาการทานยาหรือสวมใสสายรัดข้อมือเพื่อเตือนว่าคุณมีภาวะเบาจืดสามารถช่วยให้ผู้อื่นทราบได้ในกรณีฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามภาวะขาดน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคเบาจืดจำเป็นต้องทราบว่ามีคนเป็นโรคนี้

บทสรุป

การรักษาโรคเบาจืดขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ควรรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อน โดยปกติโรคเบาจืดไม่ได้ทำให้เกิดโรคเรื้อรังหรือภาวะเเทรกซ้อนในระยะยาว     


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes-insipidus/symptoms-causes/syc-20351269
  • https://www.nhs.uk/conditions/diabetes-insipidus/
  • https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/diabetes-insipidus
  • https://www.webmd.com/diabetes/guide/what-is-diabetes-insipidus

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา (Amenorrhea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.