แผลเป็นไฟไหม้ (Burn) : ประเภท การรักษา อาการ

แผลเป็นไฟไหม้ (Burn) คืออาการธรรมดาทั่วไปที่เกิดขึ้นภายในบ้าน โดยเฉพาะเด็ก คำว่า “ไฟลวก” มีความหมายมากกว่าความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้นกับอาการบาดเจ็บ โดยอาการเผาไหม้หมายถึงผิวหนังที่เกิดความเสียหายอย่างรุนเเรงซึ่งทำให้เซลล์ผิวหนังตาย คนส่วนใหญ่สามารถหายจากแผลเป็นไฟไหม้ได้เองโดยไม่เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บ สำหรับแผลไฟไหม้ที่รุนเเรงควรได้รับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนและทำให้เสียชีวิตได้

ระดับแผลเป็นไฟไหม้

แผลไฟไหม้แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ระดับที่หนึ่ง สอง และสาม โดยแผลเผาไหม้แต่ละระดับแบ่งตามความรุนเเรงและความเสียหายของผิวหนัง ซึ่งระดับที่หนึ่งเริ่มต้นจากผิวหนังเสียหายน้อยที่สุดและระดับที่สามคือผิวหนังเกิดความเสียหายอย่างรุนเเรง โดยมีอาการรุนเเรงดังต่อไปนี้ได้แก่ 
  • แผลไหม้ระยะแรก ผิวแดงและไม่มีผิหนังพุพอง
  • แผลไหม้ระยะที่ 2: เกิดแผลพุพองและมีสะเก็ดเกิดขึ้นบนผิวหนัง
  • แผลไหม้ระยะที่ 3: เกิดผิวหนังตกสะเก็ดและมีผิวหนังลอกเกิดขึ้น
นอกจากนี้แผลเผาไหม้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับได้แก่แผลเผาไหม้ทั้ง 3 ระดับและแผลเผาไหม้ที่เกิดอาการลุกลามเข้าสู่ชั้นผิวหนังเส้นเอ็นเเละกระดูก แผลเป็นไฟไหม้เกิดจากหลายสาเหตุได้แก่
  • สัมผัสกับความร้อนหรือน้ำร้อนลวก
  • สารเคมีเผาไหม้
  • ไฟฟ้าลวก
  • ไฟลวกเช่นไฟจากไม้ขีดไฟ เทียนและไฟแช็ก
  • ออกแดดมากเกินไป
แต่อย่างไรก็ตามประเภทของแผลไหม้ไม่ได้แบ่งตามลักษณะของสาเหตุของการเกิด ตัวอย่างเช่นการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกจัดอยู่ในแผลไหม้ระยะที่ 3 โดยขึ้นอยู่กับว่าน้ำร้อนมีระดับความร้อนเท่าไหร่และโดนลวกบนผิวหนังนานขนาดไหน การเผาสารเคมีไหม้และไฟฟ้าลวกควรไปพบเเพทย์ทันทีเพราะการเผาไหม้จากสองสาเหตุนี้ควรเข้ารับการรักษาทันที เนื่องจากแผลเผาไหม้เหล่านี้สามารถทำให้เกิดอันตรายในร่างกายแม้ว่าจะเกิดความเสียหายที่ผิวหนังเพียงเล็กน้อย

แผลไหม้ระยะแรก

แผลไหม้ระยะแรกเกิดจากบาดแผลขนาดเล็กเรียกว่า “บาดแผลชนิดตื้น” เนื่องจากเป็นบาดแผลขนาดเล็กที่อยู่ผิวหนังด้านนอก สัญญาณแผลไหม้ระยะแรกได้แก่  แผลเผาไหม้ระยะแรกเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • ผิวหนังแดง
  • อาการอักเสบหรืออาการบวม
  • อาการเจ็บปวด
  • ผิวแห้งและผิวซีดบริเวณที่เกิดแผลไหม้ 
เมื่อได้รับอาการบาดเจ็บที่ผิวหนังชั้นนอกสุด อาการของแผลเผาไหม้จะหายไปเองเมื่อเซลล์ผิวหนังหลุดลอกออกไป โดยปกติแผลเผาไหม้สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วันและไม่ทำให้เกิดแผลเป็นเกิดขึ้น คุณควรไปพบแพทย์ ถ้าหากเกิดแผลเผาไหม้ที่บริเวณผิวหนังขนาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่เกิน 3 นิ้วและเป็นแผลที่อยู่บนใบหน้าหรือข้อต่อหลักของร่างกายได้แก่ 
  • หัวเข่า
  • ข้อเท้า
  • เท้า
  • กระดูกไขสัน
  • หัวไหล่
  • ข้อศอก
  • แขน
โดยปกติแผลไหม้ระยะเเรกสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ซึ่งเมื่อเกิดแผลควรรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ โดยการรักษาแผลไหม้สามารถรักษาได้ด้วยวิธีด้วยต่อไปนี้ 
  • ใช้น้ำสบู่ล้างแผลในน้ำเย็นเป็นเวลา 5 นาทีหรือนานกว่านั้น
  • ทานยาแก้ปวดพาราเซลตามอลหรือไอบลูโฟรเพนเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ทายา  lidocaine (ยาชา) กับเจลว่านหางจรเข้หรือครีมเพื่อทำให้ผิวเรียบเนียน
  • ใช้ยาทาแผลไฟไหม้และใช้ผ้าก๊อซพันหลวมๆที่บริเวณเกิดแผลไหม้
ไม่ควรใช้น้ำเเข็งประคบที่แผลไฟหม้เพราะจากทำให้อาการเลวร้ายมากขึ้นและไม่ควรใช้สำลีก้านที่แผลไหม้เพราะอาจทำให้เส้นใยสำลีติดที่บาดแผลและเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานเนยและไข่แต่อย่างไรก็ตามการทานอาหารสองประเภทนี้ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าส่งผลต่อการติดเชื้อหรือไม่

แผลไหม้ระยะที่ 2

แผลเป็นไฟไหม้ (Burn) : ประเภท การรักษา อาการ แผลไหม้ระยะที่ 2 เป็นแผลที่ค่อนข้างรุนเเรงเนื่องจากเกิดความเสี่ยงหายของเนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น โดยแผลไหม้ในระยะนี้ทำให้เกิดแผลพุพองขึ้นบนผิวหนังและทำให้เกิดอาการบวมเเดงเจ็บปวด  แผลพุพองบางชนิดเป็นแผลเปิดและมีน้ำหนองไหลออกมา เมื่อเวาผ่านไป แผลไหม้บริเวณนั้นจะหนาขึ้นเเละมีลักษณะอ่อนนุ่ม เกิดการอักเสบโดยเฉียบพลันและมีหนองเกิดขึ้นบนแผล เนื่องจากลักษณะทางธรรมชาติของร่างกายบางแผลชนิดนี้ควรรักษาบริเวณที่พันแผลให้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น นอกจากนี้แผลไหม้ระยะที่ 2 บางชนิดอาจต้องใช้เวลารักษามากกว่า 3 อาทิตย์และสามารถหายได้อย่างสมบูรณ์ภายใน 2-3 อาทิตย์โดยปราศจากแผลเป็นแต่สีผิวบริเวณที่เกิดแผลไหม้มักเปลี่ยนแปลงไป แผลพุพองที่รุนเเรงจำเป็นต้องใช้เวลารักษาที่ยาวนานขึ้น ในบางกรณีที่รุนเเรงอาจจำเป็นต้องการปลูกถ่ายผิวหนังเพื่อซ่อมเเซมส่วนที่เกิดความเสียหาย โดยการปลูกถ่ายผิวหนังเป็นการนำผิวหนังส่วนที่มีสุขภาพดีมาปลูกถ่ายบริเวณที่นำผิวหนังที่เสียหายเนื่องจากถูกไฟไหม้ออก  เมื่อแผลไหม้ระยะที่ 1  ควรหลีกเลี่ยงการใช้สำลีก้านเนื่องจากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย สำหรับการรักษาแผลไหม้ระยะที่ 2 สามารถทำได้ด้วยวิธีดังตอนไปนี้
  • ใช้น้ำเย็นล้างเป็นเวลา 15 นาทีหรือนานกว่า 
  • หาซื้อยาทานเองจากร้านขายยาเช่นยาพาราเซลตามอลหรือไอบลูโพรเฟน
  • ทายาแผลไฟไหม้เมื่อเกิดแผลพุพอง 
อย่างไรก็ตามควรพบเเพทย์เพื่อทำการรักษาทันทีหากเกิดแผลไฟไหม้และเกิดการลุกลามบนพื้นที่ดังต่อไปนี้ 
  • ใบหน้า
  • มือ
  • สะโพก
  • ขาหนีบ
  • เท้า

แผลไหม้ระยะที่ 3

นอกจากแผลไหม้ระยะที่ 4 เเล้ว แผลไหม้ระยะที่ 3 เป็นแผลที่รุนเเรงมากที่สุด เป็นแผลที่ทำให้เกิดความเสียหายที่ผิวหนังเป็นวงกว้างและลึกมากขึ้น มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผลไหม้ระยะที่  3 ว่าเป็นแผลที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากที่สุด อย่างไรก็ตามลักษณะของแผลชนิดนี้ทำให้เกิดความเสียหายที่ผิวหนังอย่างรุนเเรงและไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากระบบประสาทถูกทำลาย ทั้งนี้อาการของแผลไหม้ระยะที่ 3 ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • มีผิวเงาวาวหรือผิวหนังสีขาว 
  • ผิวไหม้เกรียม
  • ผิวหนังกลายเป็นสีน้ำตาลหรือขาว
  • เกิดผิวหนังลอกมากขึ้น
  • ไม่มีผิวพุงพองเกิดขึ้น
หากไม่รักษาแผลนี้ด้วยการผ่าตัด แผลไหม้ชนิดนี้ก่อให้เกิดแผลเป็นรุนเเรงและทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาแผลไหม้ระยะที่  3 ทันที สำหรับแผลระยะนี้ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง ควรโทรหาหน่วยฉุกเฉิน 191ในขณะที่คุณรอเข้ารัยการรักษาควรยกบริเวณที่เกิดแผลให้สูงขึ้นกว่าหัวใจ ไม่ควรใช้ผ้าคลุมบริเวณที่เกิดแผลและมั่นใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในแผล

ภาวะแทรกซ้อน

เมื่อเปรียบเทียบแผลไหม้ระยะที่หนึ่งและสอง แผลไหม้ระยะที่สามเป็นแผลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทำให้สูญเสียเลือดและเกิดอาการช็อกหมดสติได้มากที่สุด ดังนั้นเมื่อเกิดแผลไหม้รุนเเรงชนิดขึ้นจึงทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งในขณะเดียวกันแผลไหม้ทุกชนิดยังทำให้เกิดการติดเชื้อสูงและทำให้แบคทีเรียเข้าสู่กระดูกผ่านผิวหนังได้ โรคบาดทะยักสามารถเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นกับแผลไฟไหม้ทุกชนิด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ส่งผลทำให้ระบบประสาทเกิดความเสียหายจึงทำให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อหดตัว โดยปกติสมาชิกทุกคนในบ้านควรได้รับตัวกระตุ้นวัคซีนบาดทะยักทุกๆ 10 ปีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้แผลไหม้ที่รุนเเรงมีความเสี่ยงทำให้เกิดสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไปและภาวะเลือดในร่างกายลดลงต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไปและเป็นภาวะเเทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแผลไหม้อย่างไม่คาดคิด โดยปกติอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างเฉียบพลันเนื่องจากการบาดเจ็บ สำหรับภาวะเลือดในร่างกายลดลงต่ำหรือปริมาณเลือดในร่างกายต่ำเกินไปเมื่อร่างกายสูญเสียเลือดมากเกินไปจากแผลไฟไหม้ 

บทสรุปสำหรับแผลไหม้

แผลไหม้ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีการรักษที่เหมาะสม ซึ่งแผลไหม้ระยะนี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้เล็กน้อยแต่เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์ผิวสามารถผลัดผิวเป็นเหมือนเดิมได้ หลักการสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงความเสียหายและการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากแผลไฟไหม้ในอนาคต  สำหรับแผลไหม้ระยะที่ 2-3 อย่างรุนเเรงสามารถทำให้เกิดปัญหาในเนื้อเยื่อที่ส่วนลึกและกระดูกรวมถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 
  • การผ่าตัด
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรภาพ
  • การดูเเลสุขภาพในระยะยาว
สิ่งสำคัญควรเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดสำหรับรักษาอวัยวะที่เกิดแผลไฟไหม้และไม่ควรลืมหาเเรงกำลังใจสนับสนุน เนื่องจากมีกลุ่มสนับสนุนจากผู้ที่มีประสบการณ์เกิดแผลไฟไหม้และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาที่สามารถให้คำแนะนำและกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เกิดแผลไฟไหม้ได้ โดยคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนเช่นมูลนิธิช่วยเหลือผู้ป่วยและเด็กที่เกิดแผลไหม้ได้ 

 การเยียวยาที่บ้านสำหรับการเผาไหม้

นอกจากครีม ผ้าพันแผล และยาที่จำหน่ายที่ร้านขายยา ยังมีวิธีรักษาแผลไฟไหม้ที่บ้านอื่นๆ ที่สามารถลองใช้ได้ รวมถึง:
  • ว่านหางจระเข้ – ว่านหางจระเข้เป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย ในรูปแบบเจลใช้รักษาแผลไฟไหม้ได้ 
  • น้ำผึ้ง – สามารถใช้เป็นยาต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และสารต้านอนุมูลอิสระ การใช้น้ำผึ้งเฉพาะที่สามารถช่วยรักษาบาดแผลได้ โดยเฉพาะในแผลไฟไหม้ 
  • ปิโตรเลียมเจลลี่ – ชั้นบางๆ นี้สามารถช่วยป้องกันแผลไหม้จากการติดเชื้อได้ 
จะบอกได้อย่างไรว่าแผลไหม้ติดเชื้อและเมื่อใดควรได้รับการดูแลเพิ่มเติม แผลไหม้ที่ไม่รุนแรงสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ร้านขายยา เช่นผ้าพันแผล BAND – AID ®ยี่ห้อ HYDRO SEAL ® อย่างไรก็ตาม สำหรับแผลไหม้ที่ร้ายแรงกว่านั้น คุณควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ได้ หากแผลไหม้เจ็บปวดมากขึ้น หรือมีของไหลจากแผล มีรอยแดง มีไข้ และ/หรือบวม แสดงว่าคุณอาจติดเชื้อจากแผลไหม้ ติดต่อแพทย์หากคุณคิดว่าอาจเป็นกรณีนี้ คุณควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์หากคุณสังเกตเห็นสิ่งต่อไปนี้:
  • แผลไหม้ไม่หายภายในสองสัปดาห์ และ/หรือยังคงมีขนาดใหญ่อยู่ 
  • สัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีน้ำมูก แดง หรือบวม
  • อาการใหม่ที่อธิบายไม่ได้ 
  • รอยแผลเป็นที่มีนัยสำคัญ

คำถามที่พบบ่อย

คุณควรปิดแผลไหม้หรือปล่อยให้แผลแห้งโดยไม่ผิดแผล

คุณควรปิดแผลไหม้ด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าและป้องกันการติดเชื้อ แต่ให้แน่ใจว่าห่ออย่างหลวมๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการกดทับบนผิวหนังที่ไหม้9 .

คุณควรทำให้แผลไหม้ชื้นหรือแห้ง 

คุณควรรักษาแผลไหม้ให้ชุ่มชื้นเพราะหากบริเวณนั้นแห้ง คุณจะเสี่ยงต่อการทำลายผิวหนัง แบคทีเรียสามารถเข้าไปและทำให้เกิดการติดเชื้อได้

เราจะป้องกันการไหม้ได้อย่างไร 

มีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลไหม้ที่บ้าน:
  • ลดอุณหภูมิของน้ำเมื่ออาบน้ำ ซักผ้า หรือทำความสะอาด
  • เก็บอาหารและเครื่องดื่มร้อนให้ห่างจากขอบโต๊ะและเคาน์เตอร์
  • ถอดปลั๊กอุปกรณ์ให้ความร้อนเมื่อไม่ใช้งาน
  • เก็บไม้ขีดไฟและไฟแช็กไว้ในที่ปลอดภัย
  • จัดเก็บวัตถุไวไฟอย่างปลอดภัย
  • สวมครีมกันแดด SPF 30 หรือสูงกว่า

บทสรุปสำหรับแผลไหม้

แผลไหม้ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีการรักษที่เหมาะสม ซึ่งแผลไหม้ระยะนี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้เล็กน้อยแต่เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์ผิวสามารถผลัดผิวเป็นเหมือนเดิมได้ หลักการสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงความเสียหายและการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากแผลไฟไหม้ในอนาคต  สำหรับแผลไหม้ระยะที่ 2-3 อย่างรุนเเรงสามารถทำให้เกิดปัญหาในเนื้อเยื่อที่ส่วนลึกและกระดูกรวมถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 
  • การผ่าตัด
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูสมรรภาพ
  • การดูเเลสุขภาพในระยะยาว
สิ่งสำคัญควรเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดสำหรับรักษาอวัยวะที่เกิดแผลไฟไหม้และไม่ควรลืมหาเเรงกำลังใจสนับสนุน เนื่องจากมีกลุ่มสนับสนุนจากผู้ที่มีประสบการณ์เกิดแผลไฟไหม้และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาที่สามารถให้คำแนะนำและกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เกิดแผลไฟไหม้ได้ โดยคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนเช่นมูลนิธิช่วยเหลือผู้ป่วยและเด็กที่เกิดแผลไหม้ได้ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา 

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/burns/symptoms-causes/syc-20370539
  • https://www.nhs.uk/conditions/burns-and-scalds/
  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/pain-caused-by-burns
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด