• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
25/02/2021
in หาโรค, โรคระบบสืบพันธุ์
0
ปัสสาวะรดที่นอน
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาพรวม
  • สาเหตุของการปัสสาวะรดที่นอน
  • ปัจจัยเสี่ยงของการปัสสาวะรดที่นอน
  • การปรับวิถีชีวิตเพื่อจัดการกับการปัสสาวะรดที่นอน
  • การรักษาการปัสสาวะรดที่นอน
  • การตัวเองดูแลที่บ้าน
Rate this post

ภาพรวม

การปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting) คือการที่ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะในเวลากลางคืน ศัพท์ทางการแพทย์เรียกการปัสสาวะรดที่นอนว่า Nocturnal enuresis ซึ่งการปัสสาวะรดที่นอนเป็นปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ แต่ในหลายๆกรณีถือเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง

การปัสสาวะรดที่นอนเป็นขั้นพื้นฐานในการพัฒนาสำหรับเด็กบางคน อย่างไรก็ตามมันสามารถเป็นอาการของภาวะเจ็บป่วยหรือโรคในผู้ใหญ่ ร้อยละ 2 ของผู้ใหญ่ที่เคยปัสสาวะรดที่นอน อาจมาจากหลายสาเหตุและอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

สาเหตุของการปัสสาวะรดที่นอน

สภาวะทางกายและจิตใจสามารถทำให้บางคนเกิดการปัสสาวะรดที่นอน สาเหตุทั่วไปในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีการปัสสาวะรดที่นอนได้แก่:

  • มีกระเพาะปัสสาวะขนาดเล็ก

  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection :UTI)

  • ความเครียด ความกลัว หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัย

  • ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • ต่อมลูกหมากโต

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือการหยุดหายใจผิดปกติระหว่างการนอน

  • ท้องผูก

ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลสามารถเป็นเหตุให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอนในบางคน ในร่างกายของทุกคนจะสร้างฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะขึ้น (Antidiuretic hormone :ADH) ฮอร์โมนดังกล่าวจะบอกให้ร่างกายชะลอการผลิตปัสสาวะตลอดคืน ระดับที่ต่ำของปัสสาวะจะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะขนาดปกติสามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ตลอดคืน

Bedwetting

ผู้ที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เพียงพอจะเกิดการปัสสาวะในเวลากลางคืน เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถกักเก็บปริมาณปัสสาวะที่มากขึ้นได้

โรคเบาหวานก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เป็นเหตุให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอนในผู้ใหญ่ หากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร่างกายของคุณจะไม่สามารถนำกลูโคสหรือน้ำตาลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และอาจผลิตปัสสาวะในปริมาณที่มากขึ้น การผลิตปัสสาวะที่มากขึ้นเป็นเหตุให้เด็กและผู้ใหญ่ที่ปกติไม่ปัสสาวะตอนกลางคืนเกิดการปัสสาวะรดที่นอนได้

ปัจจัยเสี่ยงของการปัสสาวะรดที่นอน

เพศและพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการนำไปสู่การปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก ทั้งเด็กหญิงและชายอาจมีประสบการณ์การปัสสาวะรดที่นอนในช่วงเป็นเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี แต่ในเด็กชายจะมีภาวะดังกล่าวต่อเนื่องไปจนโต

ประวัติครอบครัวก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เด็กจะมีแนวโน้มปัสสาวะรดที่นอนหากผู้ปกครองพี่น้อง หรือสมาชิกคนอื่นในบ้านเคยปัสสาวะรดที่นอน โดยมีโอกาสเกิดกว่าร้อยละ 70 หากทั้งพ่อและแม่เคยปัสสาวะรดที่นอนในวัยเด็ก

การปัสสาวะรดที่นอนมักพบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder :ADHD) นักวิจัยยังไม่พบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการปัสสาวะรดที่นอนและภาวะสมาธิสั้น

การปรับวิถีชีวิตเพื่อจัดการกับการปัสสาวะรดที่นอน

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่างอาจช่วยยุติการปัสสาวะรดที่นอนได้ สำหรับผู้ใหญ่ การจำกัดปริมาณของเหลวเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเกิดปัสสาวะรดที่นอน พยายามไม่ดื่มน้ำหรือของเหลวอื่นๆก่อนนอน 2-3 ชม.เพื่อลดความเสี่ยงในการปัสสาวะรดที่นอน

ควรดื่มของเหลวส่วนใหญ่ในแต่ละวันก่อนถึงเวลามื้อค้ำ แต่อย่าไปจำกัดปริมาณของเหลวโดยรวมของคุณ การทำเช่นนี้จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างเมื่อถึงเวลาเข้านอน สำหรับเด็ก การจำกัดของเหลวก่อนเข้านอนไม่สัมพันธ์กับการลดลงของการปัสสาวะรดที่นอน

การลองงดคาเฟอีน หรือดื่มแอลกอฮอร์ในตอนเย็น คาเฟอีนและแอลกอฮอร์จะไประคายเคืองกระเพาะปัสสาวะและกระตุ้นให้ขับปัสสาวะ จึงเป็นเหตุให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น

การเข้าห้องน้ำก่อนเข้านอนเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่างก่อนนอนนั้นสามารถช่วยได้

ปัสสาวะรถที่นอนในเด็ก

ช่วงชีวิตในวัยเด็กที่มีความเครียดทำให้บางครั้งเป็นเหตุให้เกิดปัสสาวะรดที่นอน ความขัดแย่งกับที่บ้าน หรือโรงเรียนอาจเป็นสาเหตุให้เด็กฝันร้ายจนปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน ตัวอย่างอื่นๆที่ทำให้เกิดภาวะเครียดในเด็กและอาจไปกระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอนได้แก่:

  • การเกิดของน้อง

  • การย้ายที่อยู่ใหม่

  • การเปลี่ยนแปลงอื่นในกิจวัตรประจำวัน

การพูดคุยกับเด็กถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น การทำความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจเด็กจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถหยุดและก้าวผ่านพฤติกรรมการปัสสาวะรดที่นอนได้

แต่ในเด็กที่กลับมามีการปัสสาวะรดที่นอนอีกครั้ง ทั้งที่ไม่เกิดการปัสสาวะรดที่นอนกว่า 6 เดือน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางสุขภาพ ควรปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับการปัสสาวะรดที่นอนครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองภายในสัปดาห์หรือมากกว่านั้นหรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วย

หลีกเลี่ยงการลงโทษลูกจากเหตุการณ์ปัสสาวะรดที่นอน สิ่งสำคัญคือการพูดคุยอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการปัสสาวะรดที่นอนที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามันจะหยุดได้ในที่สุด

นอกจากนี้ การอนุญาตและส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบมากขึ้นตามวัย เช่น การนำผ้าแห้งมาเช็ดเมื่อตื่นจากการปัสสาวะรดที่นอน เปลี่ยนชุดนอนและชุดชั้นในที่เปียกให้เรียบร้อย

ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยออกแบบการเลี้ยงดูและสนับสนุนสิ่งแวดล้อมเพื่อบุตรหลานของคุณ

ระหว่างที่มีการปัสสาวะรดที่นอนอาจเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก ให้พูดคุยกับกุมารแพทย์หากลูกของคุณอายุเกิน 5 ปีและยังคงมีปัสสาวะรดที่นอน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ภาวะนี้อาจหยุดได้เองเมื่อลูกของคุณเข้าสู่วัยแรกรุ่น

การรักษาการปัสสาวะรดที่นอน

การปัสสาวะรดที่นอนที่เกิดจากสภาวะทางการแพทย์จำเป็นต้องรับการรักษานอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ยาสามารถรักษาอาการต่างๆได้ ซึ่งการปัสสาวะรดที่นอนเป็นอาการอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น:

  • ยาปฏิชีวนะสามารถกำจัดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้

  • ยาต้านโคลิเนอจิก (Anticholinergic drugs) ช่วยให้ลดการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ

  • เดสโมเพรสซิน (Desmopressin acetate) จะเพิ่มระดับของฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ ให้ผลิตปัสสาวะช้าลงในเวลากลางคืน

  • ยาที่ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนดีไฮโดรเทสโทสสเตอโรน (Dihydrotestosterone :DHT) จะลดการบวมของต่อมลูกหมาก

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการควบคุมภาวะเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การปัสสาวะรดที่นอนเกี่ยวข้องกับปัญหาทางการแพทย์ควรแก้ไขด้วยการจัดการอย่างเหมาะสม

การตัวเองดูแลที่บ้าน

เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มปัสสาวะรดที่นอนหลังอายุ 6 ปี โดยวัยนี้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะจะแข็งแรงและพัฒนาเต็มที่มากขึ้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต, การรรักษาด้วยยา และการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนช่วยให้เด็กและผู้ใหญ่เอาชนะการปัสสาวะรดที่นอนได้

ระหว่างที่จะเอาชนะการปัสสาวะรดที่นอนโดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต คุณยังคงต้องไปพบแพทย์เพื่อแยกแยะสาเหตุทางการแพทย์อื่นที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์หากคุณไม่เคยปัสสาวะรดที่นอน แต่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bed-wetting/symptoms-causes/syc-20366685

  • https://www.nhs.uk/conditions/bedwetting/

  • https://www.webmd.com/sleep-disorders/bedwetting-causes

  • https://kidshealth.org/en/teens/enuresis.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
สมองพิการ

สมองพิการ (Cerebral Palsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.