โรคโลหิตจาง (Anemia) : คืออะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยโรค การรักษา 

โรคโลหิตจาง (Anemia) คืออะไร 

โรคโลหิตจาง (Anemia) คืออะไรโรคโลหิตจางจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมีน้อยเกินไป ภายในเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยโปรตีนชื่อ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกาย ดังนั้นหากจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมีต่ำเกินไปน้อยเกินไป แสดงว่าร่างกายมีปริมาณออกซิเจนน้อยเกินไปด้วยเช่นกัน อาการโลหิตจาง ส่งผลมาจากการส่งลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกายน้อยลง ทำให้เลือดจางเกิดภาวะ Anemia หรือ โรคโลหิตจาง  ผู้มีความเสี่ยงของโรคโลหิตจางส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและผู้ที่มีโรคมะเร็งเรื้อรัง

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

ในร่างกายของคนเรา ธาตุเหล็ก วิตามินบี-12 และโฟเลต เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย โดยปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายจะผลิตเฉลี่ยแทนที่ต่อวัน 0.8 ถึง 1% ของทุกวัน และจะมีอายุได้ถึง 100-120 วัน หากร่างกายขาดความสมดุลในการสร้างเม็ดเลือดแดงหรือมีเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะโลหิตจาง   ปัจจัยที่ทำให้การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงลดน้อยลง สิ่งผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เซลล์ผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง มีดังนี้
  • การถูกกระตุ้นของฮอร์โมน erythropoietin เพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงจากไตลดน้อยลงโ
  • ร่างกายได้รับธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโฟเลต ไม่เพียงพอ
  • ร่างกายอยู่ในภาวะขาดไทรอยด์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย  ในอีกทางหนึ่งของร่างกายที่ทำให้การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงลดน้อยลง หรือภาวะที่เกิดจากเสียเลือด มีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • อุบัติเหตุ
  • เป็นแผลในทางเดินอาหาร
  • มีประจำเดือน
  • การคลอดบุตร
  • ศัลยกรรม
  • โรคตับแข็ง หรือที่มาจากการที่ตับเป็นแผล 
  • พังผืดในกระดูก 
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก, ที่มาจากอาการเม็ดเลือดแดงของทารกในครรภ์แตก ความผิดปกติของตับและม้าม
  • ความผิดของตับและม้าม
  • การขาดกลูโคส -6-phosphate dehydrogenase (G6PD)
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
แต่ในโดยรวมแล้ว สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก ซึ่งสาเหตุนี้นับมาจากจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากจำนวนรวมทั้งหมด  

ความต้องการด้านโภชนาการสารอาหารในแต่ละวัน

โรคโลหิตจาง (Anemia) คือ

ธาตุเหล็ก

ความต้องการของวิตามินและธาตุต่อร่างกาย ส่วนใหญ่ร่างกายของผู้หญิงจะต้องได้รับธาตุเหล็กและโฟเลตมากกว่าผู้ชาย เนื่องผู้หญิงจะสูญเสียธาตุเหล็กในช่วงเวลาของการมีรอบประจำเดือน และการตั้งครรภ์ รวมทั้งการให้นมบุตร  อาจส่งผลให้อยู่ในภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ส่วนผู้หญิงและผู้ชาย ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ต้องได้รับธาตุเหล็กจากการบริโภคอาหารอย่างน้อย 8 มิลลิกรัม  อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ :
  • ตับไก่และตับวัว
  • เนื้อไก่งวงสีเข้ม
  • เนื้อแดงเช่นเนื้อวัว
  • อาหารทะเล
  • ธัญพืชเสริม
  • ข้าวโอ๊ต
  • ถั่ว
  • ผักขม

โฟเลต

โฟเลตเป็นรูปแบบของกรดโฟลิกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุเกิน 14 ปีต้องได้รับปริมาณโฟเลตเทียบเท่าอาหาร 400 ไมโครกรัม ต่อวัน สำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องได้รับโฟลอย่างน้อย 600 ไมโครกรัม ต่อวัน อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ได้แก่ :
  • ตับวัว
  • ถั่ว
  • ผักขม
  • ถั่วภาคเหนือที่ดี
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • ไข่
คุณสามารถเพิ่มกรดโฟลิกในอาหารของคุณด้วยซีเรียลและอาหารจำพวกขนมปัง

วิตามิน B-12

สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามิน B-12 ต่อวัน คือ 2.4 mcg สำหรับผู้หญิง และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับวิตามิน B-12 อย่างน้อย 2.6 mcg ต่อวันและผู้หญิงที่ให้นมบุตรต้องได้รับวิตามิน B-12 อย่างน้อย 2.8 mcg ทุกวัน ตับเนื้อและหอยลายเป็นแหล่งวิตามิน B-12 ที่ดีที่สุด อาหารที่มีวิตามิน -12 อื่น ๆ ได้แก่ :
  • ปลา
  • เนื้อสัตว์
  • สัตว์ปีก
  • ไข่
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่าง

อาการของโรคโลหิตจางเป็นอย่างไร

อาการโลหิตจางส่วนใหญ่จะมีภาวะซีด และอาจเป็นหวัดได้ง่าย  อาการที่พบได้มีดังนี้ :
  • มีอาการมึน หรือวิงเวียนศีรษะ หากยืนหรือลุกอย่างรวดเร็ว
  • มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ เช่น ชอบของเย็น อยากกินดิน และกินของสกปรก
  • ไม่ค่อยมีสมาธิและมีอาการเหนื่อยล้า
  • ท้องผูก 
โรคโลหิตจางบางชนิดอาจส่งผลให้ลิ้นอักเสบ มีสีแดง และมีอาการปวดลิ้นได้ หากอยู่ในอาการโรคโลหิตจางอยู่ในภาวะรุนแรงอาจทำให้เป็นลมหมดสติได้   อาการอื่น ๆ ได้แก่ :
  • เล็บเปราะ
  • หายใจถี่
  • แน่นหน้าอก 
หากผู้ป่วยโรคโลหิตจาก มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีอาการโรคโลหิตจางขั้นรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายได้

ผู้ที่มีอาการที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง จะมีอาการดังนี้ :

ผู้ที่มีอาการหรือมีภาวะโลหิตจางควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการหน้ามืดหรือเจ็บหน้าอก
อ่านเพิ่มเติม : High blood sugar (Hyperglycemia): symptoms, causes, treatment

การวินิจฉัยโรคโลหิตจาง (Anemia)

Anemia คือ แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพเบื้องต้นของผู้ป่วย รวมทั้งประวัติการรักษาของบุคคลในครอบครัวด้วย และตรวจร่างกาย และนำเลือดไปตรวจเช็คในห้องปฏิบัติการ วิธีการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง ได้แก่ :
  • Complete blood count (CBC) : ตรวจเลือดเพื่อต้องการตรวจสอบจำนวนและขนาดของเซลล์เม็ดเลือดแดง ว่ามีเม็ดเลือดผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นค่าระดับของเซลล์เม็ดเลือดอื่น ๆ อีกด้วย เช่นเซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งดูสภาพเกล็ดเลือดว่าเป็นปกติหรือไม่
  • Serum iron levels : ตรวจเลือดเพื่อดูว่าร่างกายขาดธาตุเหล็กหรือไม่
  • Ferritin test :  ตรวจเลือดเพื่อหาค่าเฟอร์ริตินในร่างกาย
  • Vitamin B-12 test : ตรวจเลือดเพื่อดูระดับวิตามินบี 12 ในร่างกายและตรวจสอบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปหรือไม่
  • Folic acid test: ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของโฟเลต ว่าการทำงานของโฟเลตต่ำหรือไม่ 
  • Stool test for occult blood : การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ หากการทดสอบเป็นบวกก็หมายความว่าการทำงานของเลือดภายในลำไส้อาจมีปัญหา เช่น แผลในกระเพาะอาหาร, ลำไส้ใหญ่บวม, และมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจเช็คเพิ่มเติม
  • Upper G.I : การตรวจกระเพาะอาหาร
  • barium enema : เป็นวิธีการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนแป้งแบเรียมและลมเข้าทางทวารหนัก
  • Chest X-rays: เอ็กซเรย์หน้าอก
  • CT scan ช่องท้อง

การพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะโลหิตจาง

  • ประเมินอาการและอาการแสดงภาวะซีด ได้แก่ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง วิงเวียนศรีษะ หายใจตื้น หอบ ง่วงซืม หัวใจเต้นเร็วมีอาการซีดตามปลายมือปลายเท้า 
  • ให้ผู้ป่วยผักผ่อนเพื่อลดการใช้ออกซิเจนของร่างกายโดยไม่จำเป็น
  • เยื่อบุตามี Postural Hypotension
  • กระตุ้นให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารสูง มีธาตุเหล็ก ได้แก่ นม ไข่แดง ตับ ผักใบเขียว เป็นต้น
  • แนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

วิธีการรักษาโรคโลหิตจาง (Anemia)

สาเหตุของโรคโลหิตจากมาจากการขาดวิตามิน B-12 ธาตุเหล็ก และโฟเลต ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจ จำเป็นต้องฉีดวิตามิน B-12 เข้าไปในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่ได้ถูกดูดซึมวิตามิน B-12 จากอาหารโดยตรแพทย์อาจะให้คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารอื่นๆ ในปริมาณที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วน จะช่วยป้องกันการกลับมาเป็นโรคโลหิตจางได้ หากผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรง มีระดับฮีโมโกลบินต่ำ หรือจำเป็นต้องถ่ายเลือด แพทย์อาจใช้วีธีฉีดฮอร์โมนอีริโธรปัวอีติน (erythropoietin) เข้าสู่ไขกระดูกเพื่อเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงให้กับผู้ป่วย  

คำถามที่พบบ่อย 

วิธีที่เร็วที่สุดในการรักษาโรคโลหิตจางคืออะไร  เลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
  • เนื้อแดง เนื้อหมู และสัตว์ปีก
  • อาหารทะเล.
  • ถั่ว.
  • ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม
  • ผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกดและแอปริคอต
  • ซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก ขนมปัง และพาสต้า
  • เมล็ดถั่ว
รักษาโรคโลหิตจางด้วยตนเองได้อย่างไร  การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น แหล่งที่ดีของธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่ว ถั่ว และอาหารเสริม (มองหาธัญพืชที่เสริมธาตุเหล็ก 100% ของมูลค่ารายวัน) รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีมากขึ้น วิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ อะไรคือ 3 สาเหตุหลักของโรคโลหิตจาง  ร่างกายของคุณต้องการธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน เฮโมโกลบินเป็นโปรตีนที่อุดมด้วยธาตุเหล็กซึ่งให้สีแดงแก่เลือด นำออกซิเจนจากปอดไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ภาวะโลหิตจางมีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่การเสียเลือด การผลิตเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ และการทำลายเม็ดเลือดแดงในอัตราที่สูง อาหารอะไรที่ควรหลีกเลี่ยงหากคุณเป็นโรคโลหิตจาง 
  • ชาและกาแฟ
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด
  • อาหารที่มีแทนนิน เช่น องุ่น ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
  • อาหารที่มีไฟเตตหรือกรดไฟติก เช่น ข้าวกล้องและผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีทั้งเมล็ด
  • อาหารที่มีกรดออกซาลิก เช่น ถั่วลิสง ผักชีฝรั่ง และช็อกโกแลต
โรคโลหิตจางร้ายแรงแค่ไหน  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อหัวใจหรือปอดเช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (หัวใจเต้นเร็ว) หรือหัวใจล้มเหลว โดยที่หัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้เพียงพอในความดันที่เหมาะสม การอดนอนทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้หรือไม่  ผลการวิจัยพบว่าเวลานอนสั้นอาจนำไปสู่ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินต่ำ และการนอนที่ถูกรบกวนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจาง มีการจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการนอนหลับตอนกลางคืนกับความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจางในประชากรทั่วไป ไข่ดีสำหรับโรคโลหิตจางหรือไม่  ระดับธาตุเหล็กต่ำเป็นเรื่องที่ผู้บริจาคโลหิตมักกังวล ดังนั้นคุณอาจสงสัยว่าไข่เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดีที่จะช่วยคุณได้หรือไม่ โชคดีที่ไข่เป็นแหล่งที่ดีของธาตุเหล็ก โปรตีน และวิตามินที่จำเป็นอื่นๆ

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anemia/symptoms-causes/syc-20351360
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-anemia-basics
  • https://www.niddk.nih.gov/health-information/blood-diseases/anemia-inflammation-chronic-disease
  • https://www.onhealth.com/content/1/anemia_causes_treatments
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด