• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

กลุ่มอาการวิลเลียม (Williams Syndrome) : อาการ การวินิจฉัย การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
14/03/2021
in หาโรค, โรคทางพันธุกรรม
0
กลุ่มอาการวิลเลียม
0
SHARES
24
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • อาการของกลุ่มอาการวิลเลียมเป็นอย่างไร
  • แพทย์วินิจฉัยกลุ่มอาการวิลเลียมได้อย่างไร
  • ตัวเลือกในการรักษากลุ่มอาการวิลเลียม
  • ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวของกลุ่มอาการวิลเลียม
  • กลุ่มอาการวิลเลียมป้องกันได้อย่างไร
Rate this post

กลุ่มอาการวิลเลียม หรือเรียกอีกชื่อว่า กลุ่มอาการวิลเลียม-บอยเรน (Williams-Beuren Syndrome) คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการการเติบโตของผู้ป่วย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดและหัวใจ เส้นเลือดตีบ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและโครงกระดูกและความบกพร่องทางการเรียนรู้

แม้จะมีความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับกลุ่มอาการวิลเลียมได้ถึงแม้ว่าคนในครอบครัวจะไม่เคยมีประวัติการมีกลุ่มอาการวิลเลียมเลยก็ตาม ข้อมูลจากสถาบันความผิดปกติของระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง (National Institute of Neurological Disorders and Stroke) เผยให้เห็นว่า การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม โดยไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม มักเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการวิลเลียม ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมมีโอกาสถึง 50% ในการส่งผ่านกลุ่มอาการนี้ไปสู่บุตรหลานได้

นักวิทยาศาสตร์พบว่า การหลุดหายไปของยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 7 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการวิลเลียม ซึ่งมียีนราว 25 ยีนที่หลุดหายไปจากโครโมโซมคู่ดังกล่าว ยีนอิลาสตินที่ทำให้เลือดมีความยืดหยุ่นเป็นยีนส์อีกหนึ่งตัวที่หลุดหายไป ทั้งนี้ หากไม่มียีนตัวนี้จะเกิดข้อบกพร่องของหัวใจและเกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต

อาการของกลุ่มอาการวิลเลียมเป็นอย่างไร

กลุ่มอาการวิลเลียมเป็นแสดงอาการหลายอย่างร่วมกัน ในกลุ่มโรคทางอายุรกรรมบางกลุ่มจะมีอาการไม่ชัดเจนเสมอไปแม้จะจะเป็นมาแต่กำเนิดก็ตาม เมื่ออาการเริ่มเกิดและชัดเจนขึ้น แพทย์จะใช้วิธีจดบันทึกอาการต่าง ๆ และทำการวินิจฉัยจากกลุ่มอาการนั้น ๆ กลุ่มอาการวิลเลียมประกอบด้วยอาการจำเพาะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการอย่างมาก

อาการทั่วไปของกลุ่มอาการวิลเลียม  ได้แก่ :

  • ลักษณะบนใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น ปปากกว้างกว่าปกติ สันจมูกแบน มีช่องระหว่างฟันกว้าง และริมฝีปากหนาอิ่ม

  • มีอาการโคลิค หรือมีปัญหาในการรับประทานอาหาร

  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)

  • ความผิดปกติในการเรียนรู้

  • นิ้วก้อยคดงอ

  • โรคกลัวเฉพาะอย่าง เป็นโรคกลัวบางชนิด

  • ภาวะตัวเตี้ย

  • พูดช้า

  • หน้าอกยุบ หรือหน้าอกจมผิดปกติ

  • ระดับความบกพร่องทางสติปัญญาแตกต่างกัน

  • มีน้ำหนักตัวและกล้ามเนื้อแรกเกิดน้อย

  • ไตผิดปกติ

  • สายตายาว

ลักษณะบุคลิกภาพที่พบบ่อยในผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียม  ได้แก่ :

  • สนใจเกี่ยวกับดนตรี

  • ไม่ชอบการสัมผัสร่างกาย

  • มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากเกินปกติ

  • มีความไวต่อเสียงดัง

แพทย์วินิจฉัยกลุ่มอาการวิลเลียมได้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มอาการวิลเลียมสามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะทางกายภาพ นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้ได้โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติกาเพื่อตรวจหายืนหรือตำแหน่งพันธุกรรมบนโครโมโซม (FISH) ซึ่งเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ตรวจลำดับดีเอ็นเอหรือลำดับพันธุกรรมด้วยสารเคมีที่ตรวจได้จากแสงอัลตราไวโอเลต การตรวจนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดูว่ามียีนขาดหายไปหรือไม่

การทดสอบอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการวิลเลียมอาจรวมถึง การทำอัลตร้าซาวด์ไต การตรวจความดันโลหิต และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจด้วยวิธีเหล่านี้ยังช่วยให้แพทย์เห็นระดับแคลเซียมในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ข้อต่อหย่อนและม่านตาผิดปกติ

ตัวเลือกในการรักษากลุ่มอาการวิลเลียม

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษากลุ่มอาการวิลเลียม การรักษาจะเน้นการบรรเทาอาการที่เกิดจากกลุ่มอาการวิลเลียม ภาวะหลอดเลือดตีบสามารถรักษาให้หายได้หากกลุ่มอาการวิลเลียมทำให้เกิดอาการของภาวะนี้ การทำกายภาพบำบัดและการบำบัดการพูดผิดปกติก็มีประโยชน์เช่นกัน

Williams Syndrome

ทั้งนี้ การรักษามักขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากไม่ได้มีเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาที่ตายตัว แต่จำเป็นต้องตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อดูระบบหัวใจและหลอดเลือดและติดตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมควรเลี่ยงรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริมเนื่องจากระดับของสารเหล่านี้ในเลือดสูงอยู่แล้ว

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวของกลุ่มอาการวิลเลียม

ภาวะทางอายุรกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลต่ออายุขัยของผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียม การสะสมของแคลเซียมอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตและหลอดเลือดตีบอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในระดับหนึ่งด้วย การเรียนรู้ทักษะการช่วยเหลือตนเองและการมีการบำบัดดูแลช่วงวัยเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมสามารถใช้ชีวิตได้เองตามปกติได้ คนที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมบางคนจำเป็นต้องอยู่กับผู้ดูแลหรืออยู่ในบ้านที่มีผู้ดูแล

กลุ่มอาการวิลเลียมป้องกันได้อย่างไร

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันกลุ่มอาการวิลเลียม ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นกลุ่มอาการวิลเลียมสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ถึงโอกาสที่จะมีลูกที่มีกลุ่มอาการวิลเลียมว่ามีมากน้อยแค่ไหน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/220139

  • https://medlineplus.gov/genetics/condition/williams-syndrome/

  • https://williams-syndrome.org/

  • https://rarediseases.org/rare-diseases/williams-syndrome/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.