• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home การติดเชื้อ

ลิ้นไก่อักเสบ (Uvulitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
05/03/2021
in การติดเชื้อ, หาโรค
0
ลิ้นไก่อักเสบ
0
SHARES
797
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ลิ่นไก่อักเสบคืออะไร
  • อาการลิ้นไก่อักเสบ
  • สาเหตุของลิ้นไก่อักเสบ
  • ปัจจัยเสี่ยงของลิ้นไก่อักเสบ
  • การรักษาที่บ้าน
  • การวินิจฉัยลิ้นไก่อักเสบ
  • การรักษาทางการแพทย์ของลิ้นอักเสบ
  • ปรึกษาแพทย์
Rate this post

ลิ่นไก่อักเสบคืออะไร

ลิ้นไก่อักเสบ (Uvulitis) คือการอักเสบ ที่ทำให้ลิ้นไก่บวม ระคายเคือง แต่อาการเป็นเพียงชั่วคราว อย่างไรก็ตามหากลิ้นไก่บวมอย่างรุนแรงอาจรบกวนความสามารถในการกลืน การอักเสบที่เกิดขึ้นไม่ใช้เรื่องปกติ โดยเฉพาะการบวมของลิ้นไก่ยังไปจำกัดการหายใจอีกด้วย

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ลิ้นไก่อักเสบ บางครั้งอาการลิ้นไก่อักเสบก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาที่บ้าน หรือบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา

ลิ้นไก่ (Uvula) เป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นเนื้อห้อยลงมาเหนือลิ้นค่อนไปทางด้านหลังของปาก มันเป็นส่วนหนึ่งของเพดานปาก โดยช่วยปิดช่องจมูกเมื่อเกิดการกลืน ลิ้นไก่ช่วยดันอาหารเข้าไปในลำคอ

อาการลิ้นไก่อักเสบ

หากคุณเกิดมีลิ้นไก่อักเสบ ลิ้นไก่จะมีลักษณะแดง, บวม และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ลิ้นไก่อักเสบอาจสัมพันธ์กับ:

  • อาการคันคอ  แสบคอ หรือเจ็บคอ

  • เกิดตุ่มในลำคอ

  • นอนกรน

  • การกลืนลำบาก

  • การหายใจลำบาก

หากคุณมีอาการลิ้นไก่บวมร่วมกับมีไข้หรือปวกท้อง ควรปรึกษาแพทย์ นี่อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหาทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

สาเหตุของลิ้นไก่อักเสบ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้ลิ้นไก่อักเสบ การอักเสบคือปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายเมื่อเกิดการโจมตี สิ่งกระตุ้นการอักเสบได้แก่:

  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต

  • การติดเชื้อ

  • การบาดเจ็บ

  • พันธุกรรม

Uvulitis

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต

แน่นอนว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตสามารถนำไปสู่ปฏิกิริยาที่ทำให้ลิ้นไก่บวม ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่:

  • สารก่อภูมิแพ้: การกลืนหรือการสูดดมสารก่อภูมิแพ้บางชนิด เช่น ฝุ่น  ขนสัตว์ ละอองเรณู หรืออาหารบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคน หนึ่งในปฏิกิริยาเหล่านี้ก็คืออาการบวมตามส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งที่ลิ้นไก่

  • ยา: ยาบางอย่างอาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ลิ้นไก่บวม

  • ภาวะขาดน้ำ: การที่ร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดลิ้นไก่อักเสบได้ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องปกติ แต่ในบางคนก็มีลิ้นไก่บวมหลังจากดื่มแอลกอฮอร์มากเกินไปจนขาดน้ำ

  • สารเคมีหรือสารอื่นๆ: การสูดดมสารที่เป็นพิษเข้าไปในร่างกายนำไปสู่ปฏิกิริยามากมาย เช่น ลิ้นไก่บวม สารเหล่านี้ได้แก่ บุหรี่ และในงานวิจัยหนึ่งคือกัญชา

  • การนอนกรน: การนอนกรนอาจเป็นผลมาจากการบวมของลิ้นไก่ ในบางกรณีอาจเป็นสาเหตุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการนอนกรนของคุณทำให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างหนักจนทำให้ลิ้นไก่ของคุณระคายเคือง

การติดเชื้อ

แน่นอนว่าการติดเชื้อนำไปสู่การระคายเคืองของลิ้นไก่เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ ตัวอย่างของการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลิ้นไก่อักเสบ ได้แก่:

  • ไข้หวัด

  • โรคโมโนนิวคลิโอสิส (Mononucleosis)

  • โรคครูป (Croup)

ส่วนการติดเชื้อส่วนใหญ่ทำให้เกิดคออักเสบที่เป็นเหตุให้ลิ้นไก่ระคายเคืองและนำไปสู่การอักเสบ คออักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes

หากคุณติดเชื้อที่ต่อมทอนซิล หรือต่อมทอนซิลอักเสบ การอักเสบที่รุนแรงจะทำให้ต่อมกดเบียดลิ้นไก่ เป็นเหตุให้ลิ้นไก่ระคายเคืองและบวมในที่สุด

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases :STDs) บางชนิดอาจมีส่วนทำให้เกิดลิ้นไก่อักเสบ ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกบร่องจากเชื้อเอชไอวีและโรคเริมที่อวัยวะเพศมีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องปากซึ่งอาจทำให้ลิ้นไก่บวม

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บของลิ้นไก่อาจมีสาเหตุมาจากยาหรือการผ่าตัด การที่อาเจียนบ่อยๆหรือเกิดกรดไหลย้อนจากโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease :GERD) ทำให้ภายในลำคอและลิ้นไก่ระคายเคืองได้

ลิ้นไก่สามารถถูกทำลายระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจ เช่น ระหว่างการผ่าตัด ลิ้นไก่อาจบาดเจ็บระหว่างการผ่าตัดต่อมทอนซิล นี่เป็นหัตถการในการเอาต่อมทอนซิลออกซึ่งต่อมทอนซิลจะวางตัวอยู่สองข้างของลิ้นไก่

พันธุกรรม

ภาวะผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า แองจีโออีดีมา (Angioedema) เป็นเหตุให้เกิดการบวมของลิ้นไก่และลำคอ รวมทั้งใบหน้า, มือ และเท้าสองข้างบวม อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวเกิด 1 ใน 10,000 ถึง 1 ใน 50,000 คนเท่านั้นตามข้อมูลของสมาคม the US Hereditary Angioedema Association

ลิ้นไก่ยาวเป็นภาวะทางพันธุกรรมที่พบได้น้อย โดยลิ้นไก่จะยาวกว่าปกติ มันมีลักษณะคล้ายกับลิ้นไก่อักเสบแต่ไม่ได้เกิดการอักเสบและไม่ทำให้เกิดลิ้นไก่อักเสบ ด้วยลักษณะที่คล้ายลิ้นไก่อักเสบ มันจึงไปรบกวนการหายใจ อย่างไรก็ตามจะไม่เหมือนลิ้นไก่อักเสบเมื่อภาวะลิ้นไก่ยาวจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียว

ปัจจัยเสี่ยงของลิ้นไก่อักเสบ

ทุกคนสามารถเป็นลิ้นไก่อักเสบได้ แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ คุณอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากคุณ:

  • มีอาการแพ้

  • สูบบุหรี่

  • สัมผัสกับสารเคมีและสิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม

  • มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

การรักษาที่บ้าน

หากคุณมีอาการลิ้นบวมหรือเจ็บคอ เป็นอาการที่ร่างกายบอกว่าเกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้นในร่างกาย การรักษาที่บ้านบางอย่างสามารถช่วยให้คุณแข็งแรงและบรรเทาอาการคะคายเคืองคอได้:

  • ทำให้คอเย็นลงด้วยการดูดเศษน้ำแข็ง ไอศกรีม หรือน้ำผลไม้แบบแท่งแช่แข็งอาจช่วยได่เช่นกัน

  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆเพื่อบรรเทาอาการคอแห้ง, คันคอ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและงีบหลับช่วงกลางวันหากทำได้

ตรวจสอบว่าร่างกายว่าได้รับน้ำอย่างเพียงพอ หากคุณเจ็บคอเมื่อดื่ม ให้ลองดื่มในปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้งตลอดทั้งวัน ปัสสาวะควรมีสีอ่อน หากมีสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำตาลแสดงว่าคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอและอาจขาดน้ำได้

การวินิจฉัยลิ้นไก่อักเสบ

หากมีไข้หรือคอบวม ให้ไปพบแพทย์ นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษา เตรียมให้ประวัติทางการแพทย์แก่แพทย์:

  • เกี่ยวกับยาที่คุณซื้อทานเองหรือยาตามคำสั่งแพทย์ทั้งหมดที่คุณทาน

  • ประวัติการใช้บุหรี่

  • ประวัติการลองรับประทานอาหารใหม่ๆ

  • ประวัติการสัมผัสสารเคมีหรือสารผิดปกติ

  • เกี่ยวกับอาการของคุณ เช่น อาการปวดท้อง, มีไข้ หรือขาดน้ำ

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะดังกล่าวโดยการตรวจร่างกาย หากมีลักษณะคล้ายกันแพทย์ก็จะป้ายเชื้อที่ลำคอส่งตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา แพทย์อาจป้ายเชื้อจากรูจมูกส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ พวกเขาจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจเพื่อระบุหรือแยกแยะการติดเชื้ออื่นๆ

หากผลการตรวจยังไม่สามารถสรุปได้ คุณอาจต้องพบแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ การตรวจเลือดและผิวหนังสามารถช่วยระบุอาการหรือสารอื่นๆที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้

การรักษาทางการแพทย์ของลิ้นอักเสบ

เมื่อคุณมีอาการคล้ายหวัด, อาการบวมมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา อีกทั้งการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยปกติหากรักษาตรงจุดจะช่วยแก้ไขอาการลิ้นอักเสบได้

การติดเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบนอย่างเดียวซึ่งมียาต้านเชื้อไวรัสในการรักษา

ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แม้ว่าอาการจะหายดีให้รับประทานยาทั้งหมดตามที่แพทย์สั่ง หากอาการของคุณอาจเป็นโรคติดต่อ ให้อยู่บ้านจนกว่าแพทย์จะแจ้งว่าคุณหมดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น

การแพ้

หากตรวจการแพ้แล้วผลออกมาเป็นบวก ให้พยายามเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ แพทย์มักจะรักษาการแพ้ด้วยยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) หรือสเตียรอย การแพ้แบบรุนแรง (Anaphylaxisis) เป็นปฏิกิริยาต่อการแพ้ที่รุนแรง แพทย์จะใช้อะดรีนาลีนในการรักษาปฏิกิริยาดังกล่าว

โรคทางพันธุกรรมแองจิโออีดีมา (Angioedema)

แพทย์จะรักษาด้วยยาดังต่อไปนี้:

  • สารยับยั้งเอสเทอเรส C1

  • ตัวยับยั้งพลาสมา Kallikrein

  • bradykinin receptor antagonist

  • แอนโดรเจน (Androgens)

ปรึกษาแพทย์

การที่ลิ้นอักเสบไม่ใช่เเรื่องปกติ ส่วนใหญ่จะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา บางครั้งการบวมสามารถรักษาได้ที่บ้าน แม้ว่าบางครั้งลิ้นอักเสบมีสาเหตุมาจากยาที่จำเป็นต้องรักษา

หากลิ้นอักเสบยังไม่หายได้ด้วยตัวเองหรือการรักษาที่บ้าน หรือลิ้นอักเสบมีผลต่อการหายใจ ควรปรึกษาแพทย์ พวกเขาสามารถช่วยหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณอีกทั้งยังแนะนำเคล็ดลับในการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/ency/article/001257.htm

  • https://www.webmd.com/oral-health/causes-swollen-uvula

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/315997


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคตึกเป็นพิษ

โรคตึกเป็นพิษ (Sick Building Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.