ลมพิษ (Hives หรือ Urticaria): ประเภท สาเหตุ วิธีการรักษา อาการ
ลมพิษหรือผื่นคัน หรือ (Urticaria หรือ Hives) คือ เป็นอาการคันตามผิวหนังที่จะทำให้ผิวหนังเป็นสีแดงหรือชมพู อาจจะมีอาการแสบบวมร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วลมพิษมักเกิดจากอาการแพ้ต่อบางอย่างเช่น อาหาร ยา หรือสภาพแวดล้อมภายนอก โดยผื่นแพ้อาจจะมีขนาดเล็กมาก หรือบริเวณกว้างก็เป็นได้
ในกรณีที่เกิดอาการลมพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจจะใช้ยาภูมิแพ้บรรเทาอาการได้ ผื่นส่วนใหญ่จะหายไปเอง หากผู้ป่วยมีอาการเป็นผื่นลมพิษเรื้อรัง พร้อมกับอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องมีการพบแพทย์
ลมพิษเกิดจากสาเหตุอะไร
โรคลมพิษเกิดจากอาการแพ้จากอาการที่รับประทานเข้าไปหรือการสัมผัสสารที่แพ้ หรือบางครั้งอาจจะโดนแมลงสัตว์กัดต่อย เมื่อคุณมีอาการแพ้ร่างกายของคุณจะเริ่มปล่อยฮิสตามีนเข้าสู่กระแสเลือด ในบางคนสาร
ฮิสตามีนอาจทำให้เกิดผื่นคันลมพิษ อาการบวมคันและอาการหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับลมพิษ
ลมพิษอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากอาการแพ้ บางครั้งเป็นผลมาจากความเครียด ความเจ็บป่วย หรือการติดเชื้อ บางครั้งเอุณหภูมิร้อนหรือเย็นเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุได้ หรือจากการระคายเคืองเนื่องจากเหงื่อออกมากเกินไป ในหลายครั้งจึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของลมพิษได้ และในบางคนอาจจะมีลมพิษเนื่องจากฮอร์โมนอย่างคนท้องเป็นลมพิษอาจจะเป็นได้เช่นกัน
ใครที่มีความเสี่ยงในการเกิดลมพิษ
ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้มักจะเป็นลมพิษ คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณใช้ยาหรือหากคุณสัมผัสกับสิ่งที่คุณอาจแพ้เช่นอาหารหรือละอองเกสรโดยไม่รู้ตัว หากคุณป่วยด้วยการติดเชื้อคุณอาจเสี่ยงต่อการเกิดลมพิษด้วย
อาการของลมพิษ
เมื่อเป็นลมพิษ ผิวหนังจะมีผื่นนูนแดงคัน น้อยบ้างเยอะบ้าง มีเม็ดแดงๆ ขึ้นตามตัวและมีขนาดแตกต่างกันไป มีอาการคัน แสบร้อนบริเวณดังกล่าว เกิดขึ้นได้บริเวณใบหน้า แขน ขา และลำตัว โดยส่วนใหญ่ ลมพิษอาจหายไปหรือเกิดขึ้นมาอีกครั้งในบางคนอาจจะมีอาการครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งวัน
ประเภทของลมพิษ
ลมพิษที่เกิดจากอาการแพ้
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของลมพิษคือปฏิกิริยาการแพ้ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้หรือลมพิษ :
- อาหาร (เช่น ถั่ว นม ไข่)
- สัตว์
- ละอองเกสร
- ฝุ่น
- รัแมลงสัตว์กัดต่อย
- ยา (ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะยารักษาโรคมะเร็งและไอบูโปรเฟน)
กรณีเกิดอาการลมพิษเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากโรคภูมิแพ้สามารถรักษาลมพิษได้ด้วยยาแก้แพ้
Anaphylaxis
Anaphylaxis (แอแนฟิแล็กซิส) คือปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน สาเหตุเกิดจากร่างกายได้รับสารกระตุ้นที่เกิดให้แพ้บางชนิด เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารดังกล่าว และกรณีร้ายแรงอาการนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะช็อกและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic hives)
ลมพิษชนิดเรื้อรัง (Chronic urticaria) คือลักษณะของลมพิษที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป
และอาจจะมีผลมาจากโรคอื่น ๆ ดังนี้เช่น:
- โรคเซลิแอค (Celiac Disease) คือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน
- โรค โรคเอสแอลอีหรือโรคพุ่มพวง โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคเอสแอลอี
- โรคเบาหวานประเภทที่ 1
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคไทรอยด์
อาการผิวแพ้ง่าย (Dermatographism)
ลมพิษชนิดนี้ถือว่าไม่รุนแรง อาจจะเกิดมาจากการเกามากเกินไปเลยทำให้ผิวมีการแแดงคัน และอาจจะลุกลาม
ลมพิษที่เกิดจากอุณหภูมิ
บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดลมพิษในคนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ลมพิษเย็นที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นจากน้ำเย็นหรือการสัมผัสอากาศ ในขณะที่ความร้อนในร่างกายจากการออกกำลังกายอาจทำให้เกิดลมพิษออกกำลังกาย หรืออากาศที่ร้อนเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุได้
ลมพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ
การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดลมพิษ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและคอหอย ไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ mononucleosis บางครั้งหากเป็นโรคตับอักเสบและหวัดมักทำให้เกิดลมพิษได้ด้วยเช่นกัน
การรักษาโรคลมพิษ
การรักษาในเบื้องต้นคือ ทายาแก้ลมพิษบริเวณผิวหนังที่เป็นผื่นแดง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่ถูกต้องและเหมาะสม บางครั้งอาจจะมายาแก้แพ้แบบรับประทานเพื่อบรรเทาอาการ
สำหรับยาทาน เพื่อช่วยควบคุมอาการให้ดีขึ้นตามแพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาให้ดังนี้
- ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- เซทริซีน (Cetrizine)
- คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
- ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine)
- ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)
และวิธีรักษาลมพิษอื่น ๆ เบื้องต้นเช่น
- ไม่เกาหรือสัมผัสกับผื่นลมพิษโดยตรง
- ลดความเครียดที่มี
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ควรอาบน้ำร้อน
เราสามารถป้องกันลมพิษไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันอาจช่วยให้คุณป้องกันลมพิษไม่ให้เกิด หากคุณมีอาการแพ้และคุณรู้ว่าสารใดมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและการรับประทานสิ่งสิ่งนั้นที่ทำให้เกิดการแพ้
ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/hives-urticaria-angioedema
- https://www.nhs.uk/conditions/hives/
- https://www.aad.org/public/diseases/a-z/hives-overview
- https://www.drugs.com/health-guide/hives-urticaria.html
- https://medlineplus.gov/hives.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team