• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ปัสสาวะเล็ด (Urinary incontinence) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
01/01/2021
in หาโรค, โรคระบบทางเดินหายใจ
0
ปัสสาวะเล็ด
0
SHARES
16
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของการปัสสาวะเล็ด
  • เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
  • การรักษาอาการปัสสาวะเล็ด
Rate this post

ปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ซึ่งสามารถพบได้มากในเพศหญิง โดยปัสสาวะเล็ดนั้นมีอยู่สามประเภท ในบางคนอาจจะเกิดอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ หรือจาม  อีกประเภทคือเกิดอาการต้องการปัสสาวะบ่อยบางครั้งจนเกินไป และผู้ที่มีปัสสาวะรั่วไหลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมช่วย

Urinary Incontinence

สาเหตุของการปัสสาวะเล็ด

เช่น: 

  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง เนื่องจากอายุมากขึ้น
  • ความเสียหายทางกายภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • ต่อมลูกหมากโต
  • มะเร็ง 

สาเหตุบางอย่างสามารถรักษาได้ง่าย และเป็นปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่สาเหตุบางอย่างก็มีความรุนแรงและรักษาได้ยาก

ความชรา

เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่รองรับกระเพาะปัสสาวะจะอ่อนแรงลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัสสาวะเล็ด

คุณภาพชีวิตที่ดี และการดูแลสุขภาพดี เป็นผลดีต่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่เสื่อมไปตามวัย หรือเสื่อมช้าลง

ความเสียหายของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นกล้ามเนื้อรองรับกระเพาะปัสสาวะ ความเสียหายของกล้ามเนื้อส่วนนี้จะมีผลทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ อาจมีสาเหตุจากการผ่าตัดมดลูก การตั้งครรภ์ หรือการคลอดบุตร

ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโตเป็นอาการที่เกิดในผู้ชาย ต่อมลูกหมากอยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งของเหลวเพื่อปกป้องและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุ จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายมักจะประสบกับภาวะปัสสาวะเล็ด

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด บางครั้งการรักษามะเร็งอาจทำให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ยากขึ้น แม้แต่เนื้องอกขนาดเล็ก ก็สามารถทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้ 

สาเหตุอื่นๆ (ที่อาจเป็นไปได้)

สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด มีดังนี้:

  • ท้องผูก 
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • นิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือ อาการอักเสบของต่อมลูกหมาก
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาระงับประสาท และยารักษาโรคหัวใจบางชนิด

บางครั้ง วิถีการดำเนินชีวิตอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดชั่วคราว เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ชั่วคราว

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

คนที่มีภาวะปัสสาวะเล็ด จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ เพราะปัสสาวะเล็ดอาจมีสาเหตุที่ร้ายแรงกว่าการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงอาจไม่ได้ร้ายแรง แต่ภาวะปัสสาวะเล็ดก็คงยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต การพูดคุยซักถามจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยถึงสาหตุของอาการได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งสามารถเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม

ในบางกรณี การอั้นฉี่ไม่อยู่ อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน 

หากมีอาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์:

  • มีปัญหาในการพูด หรือเดิน
  • อ่อนแรง หรือรู้สึกเสียวซ่านในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • สูญเสียการมองเห็น 
  • สับสน 
  • หมดสติ 
  • อุจจาระเล็ด

การรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด อาจมีการใช้ยา ผ่าตัด หรือวิธีอื่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การบริหารอุ้งเชิงกราน การบริหารกระเพาะปัสสาวะ  ซึ่งวิธีดังกล่าวจะสามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้

ในบางกรณี แพทย์อาจไม่สามารถรักษาอาการปัสสาวะเล็ดได้ แต่อาจแนะนำวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้ เช่น:

  • ปรับปริมาณอาหาร หรือจำกัดปริมาณน้ำดื่ม
  • จัดเตรียมทางเข้าห้องน้ำให้สามารถเดินได้สะดวกและรวดเร็ว
  • ใช้แพมเพิร์ส (สำหรับผู้ใหญ่) หรือผ้าอนามัย
  • กำหนดเวลาเข้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันการเข้าห้องน้ำไม่ทันเวลา

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/165408
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-incontinence/symptoms-causes/syc-20352808
  • https://www.nia.nih.gov/health/urinary-incontinence-older-adults

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

Tags: มะเร็งวิทยา
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ปากแตก

ปากแตก (Cracked Mouth) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.