ปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) คือมีอาการปวดเรื้อรังที่หน้า เนื่องจากเส้นประสาท trigeminal ที่มาเลี้ยงใบหน้า

เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้ามีสองเส้น ซ้ายและขวา ทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวดและความรู้สึกอื่นจากใบหน้าส่งไปที่สมอง เส้นประสาทแต่ละเส้นแยกเป็นสามสาขา (หน้าผาก กลางใบหน้าและคาง) มีความเป็นไปได้ที่จะปวดเส้นประสาททุกเส้นหรือเส้นใดเส้นหนึ่ง ทำให้ปวดบางส่วนหรือทุกส่วนของใบหน้าก็ได้

ความเจ็บปวดเกิดได้แม้มีสิ่งกระตุ้นเล็กน้อย เช่นหวีผม โกนหนวด อาการปวดแปลบคล้ายไฟฟ้าช็อตหรือถูกแทง ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการปวดแปลบๆ ปวดไม่นาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะปวดนานขึ้น บ่อยขึ้น ผู้ป่วยมักมีวงจรปวด คือ ปวดๆหายๆนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และเบาลง แต่บางรายอาการปวดจะมากขึ้นและมักปวดตลอดเวลา

ไม่มีการตรวจเฉพาะสำหรับโรคนี้ ดังนั้นการวินิจฉัยอาจต้องใช้เวลา การรักษาขึ้นกับสาเหตุและความรุนแรง  มียาหลายชนิดที่ช่วยลดความเจ็บปวดและลดจำนวนครั้งของความปวด บางครั้งอาจต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด

อาการปวดเส้นประสาทใบหน้า

ความเจ็บปวดจากเส้นประสาทนี้มักเป็นการเจ็บแปลบและกระตุกคล้ายไฟฟ้าช็อต มักปวดที่ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งและ อาจถูกกระตุ้นโดยเสียงหรือสัมผัส ความเจ็บปวดเกิดได้จากการ กิจกรรมตามปกติเช่น

  • แปรงฟัน
  • โกนหนวด
  • แต่งหน้า
  • สัมผัสใบหน้า
  • กินหรือดื่ม
  • พูด
  • ลมพัดปะทะใบหน้า
Trigeminal Neuralgia

ความเจ็บปวดอาจนานเพียงไม่กี่วินาทีหรือนาที อาจเกิดเป็นระยะยาวนานเป็นวัน สัปดาห์หรือเดือน และตามด้วยช่วงสงบ

อาการอาจแย่ลง มีความเจ็บปวดมากขึ้น บ่อยขึ้น ในบางครั้งมีความเจ็บปวดตลอดเวลา

สาเหตุปวดเส้นประสาทใบหน้า

หลายกรณีไม่พบสาเหตุ แต่สาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้านี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี แม้ว่าจะเกิดได้กับคนทุกวัย

การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

ยา

ยาช่วยลดความเจ็บปวดและลดความถี่ของการปวด  มักเริ่มจากการให้ยากันชัก ซึ่งกดการส่งกระแสประสาท และต่อไปอาจเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านเศร้าชนิด tricyclic

การผ่าตัด

ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้จะตอบสนองดีต่อยา แต่หากเริ่มมีการไม่ตอบสนองหรือมีอาการดื้อยา จะทำให้อาการเจ็บปวดกลับมาอีก และจำเป็นการผ่าตัด้เพื่อการรักษา เช่น

การฉีดกลีเซอรอล

ผู้ป่วยจะได้รับยาให้หลับและยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะสอดเข็มเข้าไปที่แก้ม ลึกเข้าไปที่ฐานสมอง(โดยมีการเอกซเรย์ด้วยในขณะเดียวกัน เพื่อให้เห็นตำแหน่งของเข็ม) เข้าไปที่ถุงเล็กๆที่เต็มไปด้วยน้ำไขสันหลังที่ล้อมรอบรากเส้นประสาทไตรเจมินอล และฉีดกลีเซอรีนเข้าไป กลีเซอรีนจะกั้นไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณความเจ็บปวดออกไป หรืออาจทำให้เส้นประสาทที่เสียหายนั้นซ่อมแซมตนเองได้ การรักษานี้ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยไม่ต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล

Stereotactic Radiosurgery

การใช้เครื่องสร้างภาพโดยคอมพิวเตอร์ (MRI) ส่งรังสีความเข้มข้นสูงไปที่รากประสาท กระบวนการไม่เจ็บปวดและทำโดยไม่ต้องใช้ยาสลบ

Radiofrequency Thermal Lesioning

เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก กระบวนการเริ่มจาก ให้ยาชาและใช้เข็มยาวที่มีรู นำกระแสไฟฟ้าไปที่ เส้นประสาทไตรเจมินอล ผู้ป่วยจะตื่นอยู่ และช่วยแพทย์ค้นหาบริเวณที่เจ็บปวด เมื่อพบแล้ว แพทย์จะให้ความร้อนเพื่อทำลายเส้นประสาทนั้น

Gamma-Knife Radiosurgery

เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกเช่นกัน เพื่อค้นหาและใช้รังสีทำลายเส้นประสาทไตรเจมินอล วิธีนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะ แม่นยำ ได้ผลดี และปลอดภัยกว่าวิธีทางศัลยกรรมอื่นๆ และยังมีแผลน้อยกว่าด้วย

Microvascular Decompression

วิธีนี้ต้องผ่าตัดสมอง เพื่อลดความกดดันที่เส้นประสาทและปล่อยให้หายเอง จากการศึกษาพบว่า 90% ของผู้ป่วยรายงานว่าความเจ็บปวดลดลง

วิธีอื่นๆ

การผ่าตัดอื่นๆ เข่น การตัดเส้นประสาท หรือย้ายเส้นเลือดที่กดเส้นประสาท แต่มีความเสี่ยงคือทำให้ใบหน้าชา ทั้งชั่วคราวและถาวร และบางครั้งก็กลับมาปวดอีกได้

แพทย์จะแจ้งให้ทราบถึงผลดีและผลเสียของการรักษาในแต่ละแบบ และขึ้นกับอาการ ประวัติการเจ็บป่วย ความเหมาะสมในแต่ละบุคคลด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า

อาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนหลักคือความเจ็บปวดที่รุนแรงและทำให้ร่างกายอ่อนแอลง แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนรองและความท้าทายหลายประการที่เกี่ยวข้องกับอาการนี้:
  • อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวล: ความเจ็บปวดที่รุนแรงและคาดเดาไม่ได้ของโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์ ความซึมเศร้า และความวิตกกังวลในบุคคลที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากความกลัวอย่างต่อเนื่องที่จะประสบกับตอนที่เจ็บปวด
  • การลดน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการ: บุคคลบางคนที่มีโรคปวดประสาทบนในหน้าอาจประสบปัญหาในการรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม เนื่องจากความเจ็บปวดที่เกิดจากการเคี้ยวหรือกลืน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การลดน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
  • การแยกตัวทางสังคม: เนื่องจากโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถถูกกระตุ้นได้โดยการพูดคุย การเคี้ยว หรือการเคลื่อนไหวใบหน้าอื่นๆ บุคคลจึงอาจถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมและกลายเป็นโดดเดี่ยว ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ของพวกเขา
  • ผลข้างเคียงจากยา: ยาที่จ่ายให้กับโรคปวดประสาทบนในหน้า เช่น ยากันชักหรือฝิ่น อาจมีผลข้างเคียงที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มเติม
  • อาการดื้อยา: เมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจมีความอดทนต่อยาที่ใช้ในการควบคุมโรคปวดประสาทบนในหน้า โดยต้องใช้ขนาดยาที่สูงขึ้นหรือการรักษาทางเลือก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด: การแทรกแซงการผ่าตัด เช่น microvascular decompression (MVD) หรือการผ่าตัดด้วยรังสีแบบ Stereotactic ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เอง รวมถึงการติดเชื้อ การสูญเสียการได้ยิน (หากเส้นประสาทการได้ยินได้รับผลกระทบ) และปัญหาการทรงตัว
  • การพึ่งพายา: การใช้ยาแก้ปวดในระยะยาวอาจทำให้เกิดปัญหาการพึ่งพาและการติดยา ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในการจัดการ
  • ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน: ความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องของโรคปวดประสาทบนในหน้าสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ทำให้การทำงาน การทำงานประจำ หรือเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่างๆ เป็นไปได้ยาก
  • การกลับเป็นซ้ำ:โรคปวดประสาทบนในหน้าอาจเป็นภาวะเรื้อรัง และแม้ว่าการรักษาอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ความเจ็บปวดก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ โดยต้องมีการจัดการอย่างต่อเนื่องและอาจต้องเข้ารับการรักษาซ้ำ
  • อาการชาหรือสูญเสียความรู้สึก: โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาด้วยการผ่าตัด บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการชาหรือสูญเสียความรู้สึกในส่วนต่างๆ ของใบหน้าได้
สิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่เป็นโรคปวดประสาทบนในหน้าคือพบแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาแผนการรักษาที่ครอบคลุมซึ่งจัดการทั้งความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการดังกล่าว ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยาร่วมกัน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และในบางกรณีอาจรวมถึงการผ่าตัด การสนับสนุนและการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยายังมีประโยชน์ในการจัดการกับอาการทางอารมณ์อีกด้วย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://docs.google.com/document/d/1p63StZPfWlA4g9TU9Wt9XywUjH1AfzF4rLZsRubcadM/edit

  • https://www.nhs.uk/conditions/trigeminal-neuralgia/

  • https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Trigeminal-Neuralgia-Fact-Sheet

  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/trigeminal-neuralgia


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด