โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania): อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคดึงผมตัวเอง

มนุษย์จัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลแตกต่างกันไป สำหรับผู้เป็นโรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) จะมีแรงกระตุ้นที่ทำให้ดึงผมของตัวเองมากเกินไป เมื่อเวลาผ่านไป อาจส่งผลให้บริเวณที่ดึงล้านเป็นจุด ๆ และสร้างความวิตกกังวลที่มากขึ้นไปอีก

ในบทความนี้ เราจะพูดคุยเกี่ยวกับอาการและการรักษาโรคนี้

โรคดึงผมตัวเองคืออะไร

โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania (TTM) คือ ความผิดปกติทางจิตใจ ที่เมื่อคน ๆ นึงเกิดความเครียดหรือวิตกกังวล เขาจะดึงผมของตัวเองออก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 0.5 – 2 เปอร์เซนต์ของมนุษย์เป็นโรคนี้

ผู้ที่มีโรคนี้ในวัยเด็กมักจะดึงผมจากศีรษะตัวเองในหนึ่งถึงสองจุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่เพียงแต่จะดึงผมออกจากศีรษะเท่านั้น พวกเขายังดึงขนจากส่วนอื่นของร่างกายด้วยเช่นกัน เช่น ขนคิ้ว ขนตา และส่วนอื่น ๆ ที่มีขน เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะทำให้ขนในส่วนต่าง ๆ หายไปและบางลง

โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่น แต่มักเกิดขึ้นในวัยเด็กเช่นกัน และเมื่อมันเริ่มขึ้นแล้วอาจเกิดต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โรคนี้เกิดขึ้นในผู้หญิงและผู้ชายในสัดส่วนที่เท่า ๆ กันในวัยเด็ก แต่พบในผู้หญิงมากกว่าในวัยผู้ใหญ่

ผู้หญิงบางคนเริ่มที่จะดึงผมจากศีรษะเมื่อเริ่มมีประจำเดือน งานวิจัยด้านจิตวิทยากล่าวว่า ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในวัยเริ่มมีประจำเดือนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัดว่าทำไม นอกจากนี้ ในบางกรณีศึกษายังชี้ให้เห็นว่าอาการของโรคนี้แย่ลงระหว่างการตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์

อาการของโรคดึงผมตัวเองมีอะไรบ้าง

อาการของโรคนี้มีดังนี้:

  • ดึงผมอย่างรวดเร็ว
  • ดึงผมให้เป็นชิ้น ๆ
  • กินผม (ราพันเซลซินโดรม)
  • รู้สึกปลดปล่อยเมื่อได้ดึงผม
Trichotillomania

บริเวณที่ผมหรือขนมักถูกดึง:

  • หนังศีรษะ

  • ขนคิ้ว

  • ขนตา

  • หนวด

  • ขนอวัยวะเพศ

เมื่อเวลาผ่านไป อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้:

  • คันหรือชาบริเวณที่ผมถูกดึง

  • หัวล้านเป็นจุด ๆ

  • ผม/ ขนบางลง

  • ระคายเคืองผิวหนัง

  • กังวลเมื่อต้องเข้าสังคม

โรคดึงผมตัวเองมีสาเหตุมาจากอะไร

นักวิจัยยังไม่สามารถหาเหตุผลที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลมาจากพันธุกรรมหรือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดก็เป็นได้

จากงานวิจัยในปี 2016, ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 10-13 ปี อาการมักเริ่มจากการดึงผมจากหนังศีรษะ ซึ่งการทำแบบนั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลหรือเครียดน้อยลง

ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวว่าดึงผมตัวเอง การได้รับรู้ว่าตัวเองดึงผมของตัวเองนั้นสามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลและความอับอาย ซึ่งทำให้เกิดวังวนแห่งความวิตกกังวล เพราะเมื่อดึงผม จะรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด จากนั้นก็จะรู้สึกอับอายที่ดึงผมตัวเอง แล้วสุดท้ายก็กลับมาดึงผมอีก

โรคดึงผมตัวเองนั้นเป็นปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งในบางครั้งสามารถเกี่ยวโยงกับโรคอื่นได้ดังนี้:

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่เป็นโรคเหล่านี้จะเป็นโรคดึงผมตัวเอง อาการนี้อาจเริ่มจากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง เช่น:

  • มีความสุขกับความรู้สึกที่ได้จับเส้นผม

  • มีความสุขกับความรู้สึกที่ดึงผมจากหนังศีรษะ

  • ภาวะอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความโกรธ ความอับอาย หรือ ความเครียด

โรคดึงผมตัวเองรักษาอย่างไร

การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอาจแนะนำวิธีการเหล่านี้:

พฤติกรรมบำบัด

จากงานวิจัยปี 2012 พฤติกรรมบำบัดมีประโยชน์หลายด้าน ดังนี้:

  • ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอาการและสิ่งกระตุ้นของโรคดึงผมตัวเองเพิ่มขึ้น

  • เปลี่ยนจากพฤติกรรมการดึงผมเป็นพฤติกรรมอื่นแทน

  • สร้างแรงบันดาลใจในการหยุดดึงผม

  • เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากสถานะการณ์ต่าง ๆ

ยารักษา

จากการศึกษาในปี 2013 มียา 3 ชนิดที่ช่วยรักษาโรคดึงผมตัวเอง

  • เอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน

  • โอแลนซาปีน

  • โคลมิพรามีน

นักวิจัยกล่าวว่า ตัวอย่างกลุ่มวิจัยที่ได้รับยาเหล่านี้ยังมีน้อยมาก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมตัวเองเป็นโรคทางจิตที่มีลักษณะเฉพาะคือมีความอยากดึงเส้นผมของตนเองออกส่งผลให้ผมร่วงและอาจเกิดความทุกข์หรือบกพร่องในการทำงานในแต่ละวัน แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนหลักของโรคดึงผมตัวเองคือผลกระทบทางกายภาพของผมร่วง แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอื่นๆ อีกหลายประการที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากความผิดปกตินี้ ภาวะแทรกซ้อนบางประการ ได้แก่:
  • ผลที่ตามมาทางกายภาพ: การดึงผมบ่อยครั้งอาจทำให้ผมร่วง ผมบาง และทำลายรูขุมขนอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ผมร่วงและเป็นแผลเป็นถาวรได้
  • ความเสียหายต่อผิวหนัง: การดึงซ้ำๆ สามารถทำลายผิวหนังบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดการระคายเคือง แผล และการติดเชื้อในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  • ความทุกข์ทางจิตใจ: โรคดึงผมตัวเองสามารถนำไปสู่ความทุกข์ทางอารมณ์ ความอับอาย และความลำบากใจอย่างมากเนื่องจากผมร่วงที่มองเห็นได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ความโดดเดี่ยวทางสังคม และความยากลำบากในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ความบกพร่องทางอาชีพและการเรียน: เวลาที่ใช้ในการดึงผมอาจรบกวนความสามารถในการมุ่งความสนใจไปที่งาน โรงเรียน หรือกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางวิชาการหรืออาชีพ
  • พฤติกรรมการหลีกเลี่ยง:บุคคลที่เป็นโรคดึงผมตัวเองอาจมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง เช่น การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม สถานที่สาธารณะ หรือกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจไปที่อาการผมร่วง สิ่งนี้สามารถจำกัดคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้อีก
  • ความผิดปกติร่วม: โรคดึงผมตัวเองมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติด้านสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ ความผิดปกติร่วมเหล่านี้อาจทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละบุคคลรุนแรงขึ้น
  • ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์:ในบางกรณี มีผู้ป่วยที่กินเส้นผมที่ดึงออกมาซ้ำๆ อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าไทรโคบีซัวร์ ซึ่งมีเส้นผมจำนวนมากสะสมอยู่ในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร สิ่งนี้อาจทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหารและปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ภาระทางการเงิน:การแสวงหาการรักษา การซื้อวิกผมหรือแฮร์พีชเพื่อปกปิดผมร่วง และการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์หรือจิตใจที่เกี่ยวข้อง อาจนำไปสู่ความเครียดทางการเงินได้
  • ผลกระทบต่อความสัมพันธ์: โรคดึงผมตัวเองอาจทำให้ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือคนรักตึงเครียด เนื่องจากบุคคลอาจประสบปัญหาในการอธิบายหรือจัดการพฤติกรรมการดึงผม
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ โรคดึงผมตัวเองเป็นภาวะที่สามารถรักษาได้ ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึงการบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม (CBT) การฝึกเปลี่ยนนิสัย การใช้ยา กลุ่มสนับสนุน และวิธีการรักษาอื่นๆ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังต่อสู้กับเชื้อไตรโคทิลโลมาเนีย การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจิตที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคนี้อาจส่งผลเชิงบวกอย่างมากต่อการจัดการภาวะแทรกซ้อนและปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichotillomania/symptoms-causes/syc-20355188

  • https://www.nhs.uk/conditions/trichotillomania/

  • https://kidshealth.org/en/teens/trichotillomania.html

  • https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/trichotillomania


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด