• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
30/03/2021
in หาโรค, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
0
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
0
SHARES
9
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร
  • อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • ภาวะสมองขาดเลือกชั่วขณะเป็นนานแค่ไหน
  • ควรทำอย่างไรหากมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง
  • การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
Rate this post

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Ministroke/Transient ischemic attack :TIA) เกิดจากส่วนของสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว ซึ่งมีลักษณะอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองแต่จะกลับมาดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง

สิ่งที่ไม่เหมือนโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวโดยตัวโรคเองไม่ได้ก่อให้เกิดความพิการถาวร เมื่อเกิดอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คุณควรให้ความสนใจในกรณีฉุกเฉินทันทีหากคุณพบอาการใดๆ

การู้สัญญาณของภาวะสมองขาดเลือกชั่วขณะจะสามารถช่วยให้คุณได้รับการรักษาที่คุณต้องการโดยเร็วที่สุด โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่มีประสบการณ์ต่อภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวในภายหลังมีประสบการณ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวยากแก่การระบุ แต่อาการบางอย่างอาจบอกได้ว่าคุณเคยมีอาการนี้ อาการอาจหายวับไป

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวที่พบบ่อยได้แก่:

  • ไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นความผิดปกติทางภาษา

  • มีความผิดปกติในการพูด หรือเป็นความยากลำบากทางกายภาพในการพูด

  • การมองเห็นเปลี่ยนไป

  • วิตกกังวล

  • มีปัญหาเรื่องความสมดุล

  • รู้สึกเสียวซ่า

  • การมีสติรู้ตัวเปลี่ยนแปลงไป

  • วิงเวียนศีรษะ

  • สลบไม่ได้สติ

  • ปวดศีรษะรุนแรง

  • การรับรสผิดปกติ

  • การรับกลิ่นผิดปกติ

  • ไม่มีแรงหรือรู้สึกชาที่ด้านขวาหรือซ้ายของใบหน้า หรือร่างกาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลิ้มเลือดในสมอง

โทรเรียกรถฉุกเฉินในพื้นที่ หรือไปที่หน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล หากคุณมีอาการเหล่านี้

ไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ (Dysphasia)

ผู้ที่ที่ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวอาจพบว่าตัวเองไม่สามารถพูดได้ชั่วคราว ภายหลังเกิดภาวะดังกล่าว เขาอาจบอกแพทย์ว่าเขาจำคำศัพท์ได้ยากขึ้นระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ ปัญหาในการพูดอื่นๆอาจรวมถึงปัญหาในการพูดคำศัพท์หรือทำความเข้าใจคำศัพท์

ภาวะดังกล่าวเรียกว่า Dysphasia ข้อเท็จจริง ดิสฟาเซียในบางครั้งก็เป็นอาการเพียงอย่างเดียวของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

การพูดที่มีปัญหาบ่งชี้ว่าเกิดการอุดตันหรือมีลิ่มเลือดที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะสมองลฃขาดเลือดชั่วขณะเกิดขึ้นในสมองซีกที่โดดเด่น

ตาบอดข้างเดียวชั่วคราว

บางครั้งภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวก็เป็นการรบกวนทางสายตาโดยเฉพาะที่เรียกว่า Amaurosis fugax เรียกว่าเป็นภาวะตาบอดข้างเดียวชั่วคราว(Transient monocular blindness :TMB)

Amaurosis fugax ผู้ที่เป็นจะมีการมองเห็นเพียงข้างเดียว โดยจะมืดลงกระทันหันหรือถูกบดบัง โลกเป็นสีเทาหรือวัตถุพร่ามมัว อาการดังกล่าวอาจคงอยู่เป็นวินาทีหรือเป็นนาที การได้รับแสงจ้าสามารถทำให้ Amaurosis fugax รุนแรงขึ้นได้ คุณอาจไม่สามารถอ่านคำบนกระดาษสีขาวได้

สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

การเกิดลิ่มเลือดนำไปสู่สาเหตุการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว สาเหตุทั่วไปอื่นๆของภาวะดังกล่าวได้แก่:

  • ความดันโลหิตสูง 

  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดแดงตีบเกิดจากการสะสมของคราบแคลเซียมหรือไขมันในหรือรอบๆสมอง

  • โรคหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงคาโรติดภายในหรือภายนอกของสมองถูกขัดขวาง ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง

  • โรคเบาหวาน

  • ระดับคอเรสเตอรอลสูง

ภาวะสมองขาดเลือกชั่วขณะเป็นนานแค่ไหน

อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเกิดเป็นเวลาสั้นๆเพียง 1 นาที ตามความหมายภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

บ่อยครั้ง อาการจะหายไปเมื่อไปพบแพทย์ อาการของคุณจะไม่ปรากฏในขณะที่แพทย์ประเมินคุณ ดังนั้นคุณต้องอธิบายเหตุการณ์หลังจากที่อาการของคุณหายไป

นอกเหนือจากระยะเวลาแล้ว อาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะเหมือนกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเป็นชนิดของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยที่สุด

ควรทำอย่างไรหากมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

อาการที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันและไม่มีสัญญาณเตือนอาจบ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดสมอง “FAST” เป็นคำย่อที่ช่วยให้คุณรู้จักอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย

 

FAST

สัญญาณเตือน

F : Face ใบหน้า

หากคุณสังเกตเห็นรอยยิ้มหรือมุมปากตกบนใบหน้า สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือน

A : Arm แขน

แขนชาหรืออ่อนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือน คุณสามารถขอให้คนอื่นยกแขนคุณขึ้นได้หากคุณไม่แน่ใจ มันเป็นสัญญาณเตือนหากแขนตกลงมาหรือไม่สามารถยกขึ้นได้

S : Speech พูดลำบาก

ขอให้คนพูดบางอย่างซ้ำๆ การพูดไม่ชัดสามารถบ่งบอกว่าบุคคลนั้นกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

T : Time เวลา

ดำเนินการอย่างรวดเร็วหากพบผู้ที่มีอาการของโรคหลดเลือดสมอง โทรแจ้ง 1669 หรือหน่วยฉุกเฉินในพื้นที่

โทร 1669 หรือหน่วยฉุกเฉินในพื้นที่หากคุณหรือบางคนรอบตัวคุณมีอาการดังกล่าว

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง

ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก มันสามารถทำลายผนังภายในของหลอดเลือดแดง เป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คราบที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะทำให้หลอดลเลือดแตกและนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือแดง ความผิดปกติเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากแพทย์ มันเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ความดันเลือดของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตเอาไว้ติดตามความดันของคุณที่บ้าน

บางครั้งผู้ที่มีกลุ่มอาการ ที่เรียกว่า  White coat syndrome จะมีลักษณะคือความดันโลหิตของคุณจะสูงกว่าปกติเมื่อคุณอยู่ในห้องตรวจกับแพทย์เนื่องด้วยความกังวลเกี่ยวกับการตรวจประเมินความดันโลหิตของคุณ

ทำการจดบันทึกค่าความดันโลหิตของคุณที่บ้านจะทำให้แพทย์สามารถประเมินสภาวะความดันของคุณได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์ปรับยาลดความดันโลหิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากคุณมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน คุณควรวัดความดันทันทีเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกบ้านหมุน

  • วิงเวียนศีรษะ

  • รู้สึกร่างกายขาดการประสานงานกัน

  • ไม่สามารถเดินหรือทรงตัวได้ปกติ

หากคุณไม่สามารถตรวจวัดความดันได้ที่บ้าน คุณควรโทรหาหมอทันทีหรือไปโรงพยาบาลในพื้นที่หรือหน่วยฉุกเฉิน

Transient Ischemic Attack

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองได้แก่:

  • ระดับคอลเรสเตอรอลสูง

  • โรคเบาหวาน

  • การสูบบุหรี่

  • โรคอ้วน

  • ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial fibrillation)

จากการศึกษาในปีค.ศ.2014:

  • พบภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวในผู้ชายมากกวว่าผู้หญิง

  • ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากกว่าคนหนุ่มสาว

  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวถูกรายงานบ่อยที่สุดในวันจันทร์

การวินิจฉัยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวไม่ทำให้สมองถูกทำลายถาวร แต่ยังคงต้องรีบเข้ารับการตรวจทางการแพทย์หากคุณมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

เนื่องจากอาการของภาวะดังกล่าวถูกระบุในอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมันไม่สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ความแตกต่างนี้จึงต้องได้รับการประเมินทางการแพทย์

ความแตกต่างจากอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวคือ โรคหลอดเลือดสมองเป็นการเกิดขึ้นอย่างถาวรและส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายอย่างถาวร อย่างไรก็ตามอาการของโรคหลอดเลือดสมองอาจดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะทำให้คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองมีสาเหตุที่เหมือนกัน

ทางเดียวที่จะบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่างภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ CTscan หรือ MRIscan สมอง

หากคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มว่าจะไม่ปรากฏในภาพของ CTscan สมองเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงส่วน MRIscan มักจะแสดงได้เร็วกว่า

ในการประเมินหาสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น แพทย์จะสั่งตรวจอัลตราซาว์นเพื่อดูการอุดกั้นที่สำคัญ หรือคราบที่มาเกาะในหลอดเลือดแดงคาโรติด คุณจำเป็นต้องทำการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram) เพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดในหัวใจหรือไม่

แพทย์อาจจะทำการตราวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(Electrocardiogram :ECG/EKG) และเอ็กซ์เรย์ช่วงอก

การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ปัจจุบันมีแนวทางในการรักษาหลายอย่าง ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวไม่ทำให้สมองถูกทำลายหรือเสียความสามารถ แต่มันจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะมุ่งไปที่การเริ่มต้นหรือการประเมินการให้ยาที่ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

อาจต้องระบุความผิดปกติที่แพทย์สามารถแก้ไขหรือลดความเสี่ยงในอนาคตได้สำหรับภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง

แนวทางในการรักษาได้แก่ การให้ยา, หัตถการทางการแพทย์ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ยาต้านเกล็ดเลือด

ยาต้านเกล็ดเลือดจะทำให้เกิดเกล็ดเลือดลดลงเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ยาเหล่านี้ได้แก่:

  • แอสไพริน (Aspirin)

  • โคลพิโดเกว (Clopidogrel :Plavix)

  • พราซูเกว (Prasugrel :Effient)

  • แอสไพริน-ไดพาริดาเมล (Aspirin-dipyridamole :Aggrenox)

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ยาเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดโดยเป้าหมายอยู่ที่โปรตีนที่เป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดมากกว่ามุ่งเป้าไปที่เกล็ดเลือด ได้แก่:

  • วอฟาริน (Warfarin :Coumadin)

  • ไรวาโรซาบาน (Rivaroxaban :Xarelto)

  • อพิซาบาน (Apixaban :Eliquis)

หากคุณรับประทานวอฟาริน คุณจำเป็นต้องติดตามโดยการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ารับประทานในปริมาณที่ถูกต้อง ยาเช่น ไรวาโรซาบาน และอพิซาบาน ไม่จำเป็นต้องติดตามค่า

การสวนหลอดเลือด

เป็นหัตถการในการผ่าตัดที่จะลุกเข้าไปในหลอดเลือดแดงคาโรติดโดยใช้สายสวนเข้าไป

ซึ่งสายสวนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายบอลลูนทำการเปิดหลอดเลือดแดงที่อุดตัน พวกเขาจะวางแนวลวดหรือขดลวดภายในหลอดเลือดแดงในแนวที่ตีบตันเพื่อให้การไหลเวียนเลือดไปสู่สมองดีขึ้น

การผ่าตัด

คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต หากคุณมีการตีบตันที่หลอดเลือดแดงคาโรติดบริเวณลำคออย่างรุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหลอดเลือดหรือการใส่ขดลวดได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเรียกว่า การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ(Carotid endarterectomy)

ในขั้นตอนดังกล่าว แพทย์จะนำไขมันหรือคราบที่ขัดขวางอยู่ออกให้หมด สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง ยาและกิจกรรมทางการแพทย์อื่นๆอาจไม่เพียงพอ

เหล่านี้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้แก่:

  • การออกกำลังกาย

  • การลดน้ำหนัก

  • การรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

  • ลดการบริโภคของทอดและน้ำตาล

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • การลดความเครียด

  • การควบคุมภาวะทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโ,หิตสูง และระดับคอลเรสเตอรอลสูง

การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองชนิดอื่นๆ บางครั้งก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้

เคล็ดลับในการป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง:

  • ไม่สูบบุหรี่

  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสมอง

  • รับประทานอาการอย่างสมดุล โดยบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • จำกัดการบริโภคแอลกอฮอร์.

  • ไม่ใช้สารเสพติด

  • ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี

  • จำกัดการรับประทานอาหารที่มีคอลเรสเตอรอล โดยเฉพาะ ไขมันอิ่มตัวและไขมันทราน

  • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • การลดความเครียด


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/transientischemicattack.html

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/transient-ischemic-attack/symptoms-causes/syc-20355679

  • https://www.nhs.uk/conditions/transient-ischaemic-attack-tia/

  • https://www.webmd.com/stroke/what-is-tia


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
มะระ

7 ประโยชน์ต่อสุขภาพของน้ำมะระ (Bitter Gourd)

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.