• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

ฟันผุ (Tooth Cavities) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
27/03/2021
in หาโรค
0
ฟันผุ
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • ฟันผุคืออะไร
  • อาการของฟันผุ
  • สาเหตุของฟันผุ
  • วิธีรักษาฟันผุมีวิธีใดบ้าง
  • การป้องกันฟันผุ
Rate this post

ฟันผุคืออะไร

โพรงที่เรียกว่าฟันผุ (Tooth Cavities) เกิดจากรูที่ก่อตัวขึ้นในฟัน ภาวะฟันผุเริ่มจากเล็ก ๆ ก่อนและจะค่อย ๆ โตขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากฟันผุจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในช่วงแรก ๆ จึงอาจทำให้ยากที่จะรู้ว่ามีฟันผุ การนัดแพทย์เพื่อตรวจฟันเป็นประจำช่วยให้ตรวจพบฟันผุได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

จากข้อมูลของเมโยคลีนิก ภาวะฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดในโลก ใครก็ตามที่ยังมีฟันอยู่เกิดฟันผุได้ทั้งนั้น แม้แต่ทารกก็มี

ภาวะฟันผุอาจตรวจเจอได้โดยไมไ่ด้ตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ดูแลสุขภาพปากและฟันถูกสุขลักษณะเป็นกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แม้ทันตแพทย์จะตรวจพบว่ามีฟันผุ แพทย์ก็ยังมีวิธีรักษาฟันผุและวิธีป้องกันได้

อาการของฟันผุ

อาการฟันผุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการสลายตัวของฟัน ซึ่งได้แก่:

  • อาการเสียวฟัน

  • ปวดฟัน

  • รูที่มองเห็นได้ในฟัน

  • ฟันเริ่มมีรอยด่างดำ

สาเหตุของฟันผุ

ฟันผุเกิดจากคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสารเหนียวที่จับตัวกับฟัน ซึ่งคราบจุลินทรีย์นี้รวมถึง:

  • แบคทีเรีย
  • น้ำลาย
  • กรด
  • เศษอาหาร
Tooth Cavities

ทุกคนมีแบคทีเรียในปาก หลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มอาหารที่มีน้ำตาล แบคทีเรียในปากจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรด ไม่นานหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มอะไรที่มีน้ำตาล คราบจุลินทรีย์จะเริ่มก่อตัวบนฟัน นี่คือเหตุผลที่การแปรงฟันเป็นประจำมีความสำคัญ

คราบจุลินทรีย์เกาะติดฟันและกรดในคราบจุลินทรีย์จะกัดกร่อนเคลือบฟันอย่างช้าๆ เคลือบฟันเป็นสารเคลือบป้องกันฟันให้แข็งแรงเพื่อป้องกันฟันผุ เมื่อเคลือบฟันอ่อนตัว ความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุก็เพิ่มขึ้น

ทุกคนเสี่ยงที่จะมีฟันผุ ในขณะเดียวกัน บางคนมีความเสี่ยงสูงกว่า ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือกรดมากเกินไป

  • กิจวัตรด้านสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี เช่น ไม่สามารถแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันทุกวัน

  • ไม่ได้รับฟลูออไรด์เพียงพอ

  • ปากแห้ง

  • ความผิดปกติของการกิน เช่น เบื่ออาหารและมีบูลิเมีย

  • โรคกรดไหลย้อนซึ่งอาจส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารกัดกร่อนเคลือบฟันได้

ฟันผุเกิดขึ้นได้บ่อยกับฟันด้านใน ฟันเหล่านี้มีร่องและช่องที่เศษอาหารไปติดได้ นอกจากนี้ บางครั้ง การแปลงฟันและใช้ไหมขัดฟันก็เข้าถึงทุกซอกทุกมุมได้ยาก

วิธีรักษาฟันผุมีวิธีใดบ้าง

แจ้งให้แพทย์ทราบหาเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เสียวฟันหรือปวด ทันตแพทย์มักตรวจพบฟันผุในระหว่างการตรวจช่องปาก . อย่างไรก็ตาม บางครั้ง แค่การตรวจช่องปากก็ไม่พบว่ามีฟันผุ ดังนั้น ทันตแพทย์อาจใช้วิธีเอกซเรย์ฟันเพื่อหารอยผุ

วิธีรักษาฟันผุจึงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การรักษาภาวะฟันผุมีด้วยกันหลายวิธี

การอุดฟัน

ทันตแพทย์จัใช้สว่านและเอาส่วนที่ผุออกจากฟัน จากนั้น ทันตแพทย์จะเติมสารบางอย่างลงไป เช่น เงิน ทองหรือคอมโพสิตเรซิน

การครอบฟัน

สำหรับการผุที่รุนแรงมาก ทันตแพทย์อาจใส่ฝาครอบฟันแบบออกแบบเองเพื่อแทนที่ครอบฟันตามธรรมชาติ ทันตแพทย์จะเอาบางส่วนของฟันที่ผุออกก่อนเริ่มทำการครอบฟัน

การรักษารากฟัน

เมื่อฟันผุทำให้เส้นประสาทตาย ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟันเพื่อรักษาฟันให้คงอยู่ โดยจะเนื้อเยื่อประสาทฟัน เนื้อเยื่อเส้นเลือดและบริเวณที่ผุของฟันออก จากนั้น ทันตแพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อและใช้ยาที่รากฟันตามความจำเป็น จากนั้น ก็อุดฟันและอาจต้องใส่ครอบฟัน

การรักษาในระยะเริ่มต้น

หากทันตแพทย์ตรวจพบฟันผุในระยะเริ่มแรก การรักษาด้วยฟลูออไรด์อาจทำให้เคลือบฟันกลับคืนมาและป้องกันการผุเพิ่มเติม

รับมือกับอาการปวด

ภาวะฟันผุอาจเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดและไม่สบายตัว ทั้งนี้ อาจต้องการหาวิธีบรรเทาอาการระคายเคืองในขณะที่รอการนัดพบทันตแพทย์ด้วย จากข้อมูลของเมโยคลินิกพบว่า มีวิธีรับมือกับความเจ็บปวด:

  • รักษาความสะอาดในช่องปากเป็นประจำแปรงและทำความสะอาดทุกส่วนของปากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริเวณที่อ่อนไหวด้วย

  • ลองใช้ยาแก้ปวดที่หาซือ้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) ปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าสามารถใช้ยาระงับปวดที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป

  • ระวังเรื่องอาหารการกิน งดอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัดเมื่อต้องรับประทานอาหารหรือดื่ม

  • ภาวะแทรกซ้อนจากฟันผุ

โพรงประสาทฟันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งรวมถึง:

  • ปวดฟันอย่างต่อเนื่อง

  • ฝีในฟัน ซึ่งอาจติดเชื้อและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดหรือภาวะติดเชื้อ

  • การเกิดขึ้นของหนองรอบ ๆ ฟันที่ติดเชื้อ

  • เสี่ยงที่จะเกิดฟันหักหรือฟันบิ่นเพิ่มขึ้น

  • เคี้ยวอาหารลำบาก

ความเสียหายกับฟันจะรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้หากเลิกพบทันตแพทย์ ทั้งนี้ วิธีเดียวที่ช่วยแก้ไขฟันผุได้คือให้ทันตแพทย์ถอนฟันออกและใส่รากเทียมหรือสะพานฟัน

การป้องกันฟันผุ

ฟันผุเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบบ่อย แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติดังนี้:

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง

  • กินอาหารที่มีน้ำตาลและกรดน้อยลง เช่น ขนมหวาน น้ำผลไม้ โซดาและคาร์โบไฮเดรตกลั่น

  • จำกัดการกินอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร

  • ให้ใช้วิธีเคลือบหลุมร่องบนฟัน

อาหารต่อไปนี้ช่วยต่อสู้กับฟันผุได้:

  • ผักและผลไม้ที่อุดมด้วยไฟเบอร์

  • อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม

  • ไซลิทอลหมากฝรั่งไร้น้ำตาล

  • ชาดำหรือชาเขียวไม่หวาน

  • น้ำที่มีฟลูออไรด์

นอกจากนี้ อย่าลืมพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละสองครั้งเพื่อทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยให้ได้รับการรักษาหากเกิดภาวะหรือโรคที่ทันตแพทย์ตรวจพบ และจะช่วยป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคตได้


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cavities/symptoms-causes/syc-20352892

  • https://www.nhs.uk/conditions/tooth-decay/

  • https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-health-cavities

  • https://www.nidcr.nih.gov/health-info/tooth-decay/more-info/tooth-decay-process


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
ดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) : สาเหตุ อาการ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.