ปรอทวัดไข้ (Thermometers) : วิธีวัดอุณหภูมิ 

ปรอทวัดไข้  เป็นชื่อที่เราเรียกกันจนติดปาก แต่ความจริงแล้วมันมีชื่อว่า เทอร์โมมิเตอร์ และเทอร์โมมิเตอร์มีเป็นแบบดิจิตัล และแบบปรอท ในสมัยก่อนนั้นมีแค่แบบปรอท เราจึงเรียกว่า ปรอทวัดไขั ปรอทวัดไข้นี้มีความสามารถในการวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ การวัดไข้คือสิ่งสำคัญในการรับมือกับความเจ็บป่วย  ต่อไปจะกล่าวถึงวิธีการใช้งานของเทอร์โมมิเตอร์แต่ละประเภท  รวมทั้งข้อมูลต่างๆ และเวลาที่คุณควรไปพบแพทย์ หรือผู้ให้บริการทางด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

การวัดอุณหภูมิร่างกาย

การวัดอุณหภูมิของร่างกายด้วยปรอทวัดไข้เป็นวิธีง่ายๆ ในการบอกว่าเป็นไข้หรือไม่ การมีไข้จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อ  เมื่อมีอาการไข้จะรู้สึกไม่สบายตัว และเป็นการส่งสัญญาณให้แก่ร่างกายว่ากำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ  ปรอทวัดไข้ที่คุณสามารถใช้วัดอุณหภูมิร่างกายได้มีอยู่หลายประเภท ไม่ว่าจะเลือกใช้เทอร์โมมิเตอร์ชนิดใดก็ตาม ควรอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำที่ให้มาพร้อมกับเทอร์โมมิเตอร์ หากใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบมีแบตเตอรี่ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่ยังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ เพราะการใช้เทอร์โมมิเตอร์ในขณะที่แบตเตอรี่อ่อน ค่าที่วัดได้อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 

อุณหภูมิปกติร่างกายควรเป็นเท่าใด 

อุณหภูมิปกติของร่างกายจะมีค่าประมาณ 37 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิปกติมักจะมีค่าแตกต่างกันไปตั้งแต่ 1 °- 2 °  อุณหภูมิของร่างกายปกติมักจะมีค่าต่ำในตอนเช้าและเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลากลางวัน และจะมีค่าสูงที่สุดในช่วงเวลาบ่ายหรือเย็น 

อุณหภูมิเท่าใดจึงถือว่าเป็นไข้ 

ในผู้ใหญ่การมีไข้จะพิจารณาจากอุณหภูมิที่มีค่าตั้งแต่ 38 ° C  ขึ้นไป คุณสามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้ด้วยการกินยาลดไข้และดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น แล้วปล่อยให้ร่างกายเยียวยาตัวเอง แต่ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงถึง 38.8 ° C หรือสูงกว่านั้น และไม่สามารถทำให้ไข้ลดลงได้ ให้โทรติดต่อแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

ควรใช้ที่วัดไข้ประเภทไหนไข้ชนิดใดวัดอุณหภูมิร่างกาย 

เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท (Prot Thermometer) 

ปรอทวัดไข้ชนิดนี้สามารถวัดอุณหภูมิความร้อนและความเย็นได้อย่างแม่นยำ 

วิธีใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทวัดไข้ วัดไข้กี่นาที

ปรอทวัดไข้ชนิดนี้สามารถใช้อมได้ลิ้น หรือเหน็บเอาไว้ใต้รักแร้ประมาณ 3-5 นาที

เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิตอล (Digital Thermometer)

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลเป็นวิธีการวัดอุณหภูมิที่แม่นยำและรวดเร็วที่สุด มีจำหน่ายตามร้านขายยาและร้านขายยาในซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่  

วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล 

เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลสามารถใช้งานได้ 3 วิธี ได้แก่  ทางช่องปาก: ทำโดยการสอดเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ที่สามารถอมเทอร์มอมิเตอร์ไว้ในปากได้  ทางทวารหนัก: การใช้งานด้วยวิธีนี้ เทอร์โมมิเตอร์จะถูกสอดเบาๆ เข้าไปในทวารหนัก ส่วนใหญ่จะทำในเด็กทารกแต่ก็สามารถใช้กับเด็กอายุไม่เกิน 3 ปีได้ คุณสามารถวัดอุณหภูมิทางทวารหนักในเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปีได้ แต่อาจเป็นเรื่องยากที่จะให้เด็กอยู่นิ่งๆ ได้นานเท่าที่คุณต้องการได้   ทางรักแร้: สำหรับวิธีนี้จะทำการวัดอุณภูมิโดยสอดเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้รักแร้ มักใช้สำหรับเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถวัดอุณหภูมิได้อย่างปลอดภัยทางปากได้  การวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้ จะได้ค่าที่ไม่แม่นยำเมื่อเทียบกับการวัดทางปากหรือทางทวารหนักแต่สามารถใช้เพื่อการตรวจอย่างรวดเร็วก่อนได้ หลังจากวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้แล้วคุณควรที่จะทำการวัดซ้ำด้วยการวัดทางปากหรือทางทวารหนัก

เครื่องวัดอุณหภูมิประเภทอื่น ๆ (เด็กเล็กและผู้ใหญ่)

เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิทางหู (ในหู): เทอร์โมมิเตอร์ประเภทนี้จะวัดอุณหภูมิภายในหู โดยการอ่านค่าอุณหภูมิจากค่าความร้อนอินฟราเรด โปรดปฏิบัติตามคำแนะเรื่องการวางตำแหน่งปลายวัดที่ถูกจุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สำหรับทารกและเด็กโตการวัดอุณหภูมิด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทางหูสามารถใช้งานได้เร็วและง่ายกว่า อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน และ หากบุตรหลานของคุณมีขี้หูมากเกินไปหรือในขณะที่มีอาการปวดหูไม่ควรวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้   เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก : เป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิบริเวณหน้าผาก (ขมับ) ซึ่งอาจไม่น่าเชื่อถือเท่ากับเทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอลและมักจะมีราคาแพงกว่า วิธีการวัดจะทำโดยการวางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่หลอดเลือดแดงที่ขมับด้านข้างของหน้าผาก ค่าของอุณหภูมิที่วัดได้จะเป็นค่าความร้อนอินฟราเรดที่ออกมาจากศีรษะ

เทอร์โมมิเตอร์ชนิดใดบ้างที่ไม่แนะนำให้ใช้?

ไม่แนะนำให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์บางประเภท เนื่องวัดค่าได้ไม่แม่นยำและไม่น่าเชื่อถือ 
  • เทอร์โมมิเตอร์แบบแถบพลาสติก ที่วัดอุณหภูมิที่ผิวเท่านั้น 
  • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบ Pacifier ไม่มีความแม่นยำและใช้งานได้ยาก เนื่องจากจะบันทึกอุณหภูมิได้ต้องให้เด็กอมเทอร์โมมิเตอร์อยู่ในปากเป็นเวลานาน  
  • เทอร์โมมิเตอร์ในแอบพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟน 

เทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอทในหลอดแก้วแบบเดิมยังคงใช้ได้อยู่หรือไม่ 

ไม่ได้ คุณไม่ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่หลอดแก้วบรรจุสารปรอทแบบเดิม เครื่องวัดอุณหภูมิประเภทนี้พบได้ในบ้านและโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งก่อนที่จะมีเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล เครื่องวัดอุณหภูมิแบบปรอทนั้นจะอ่านยาก และไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอไป  เหตุผลหลักที่ไม่แนะนำให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้อีกต่อไปคือ ปรอทเป็นสารพิษที่สร้างอันตรายได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อแท่งแก้วร้าวหรือแตกและมีสารปรอทรั่วออกมา หากคุณยังมีเทอร์โมมอเตอร์เหล่านี้อยู่ คุณควรติดต่อแผนกจัดการขยะในพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่ หรือกำจัดทิ้งด้วยวิธีกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้องต่อไป  แม้ว่าจะมีเทอร์โมมิเตอร์แบบแก้วที่ไม่ใช้ปรอท แต่คนส่วนใหญ่ก็นิยมใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่ไม่แตกมากกว่า 

วิธีการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ 

Thermometers-How-to-Take-your-Temperature1.jpg” alt=”Thermometers How to Take your Temperature” width=”600″ height=”315″ />

การใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลในช่องปาก 

  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น 
  2. ใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่สะอาดซึ่งล้างด้วยน้ำเย็น ทำความสะอาดโดยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วล้างแอลกอฮอล์ที่ใช้เช็ดออกให้สะอาด
  3. ก่อนที่จะทำการวัดวัดอุณหภูมิอย่ากินหรือดื่มอะไรเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที เนื่องจากอุณหภูมิของอาหารหรือเครื่องดื่มอาจทำให้อ่านค่าที่เทอร์โมมิเตอร์ได้ไม่แม่นยำ และไม่ควรอ้าปากในช่วงเวลาที่วัดอุณหภูมิ 
  4. วางปลายเทอร์โมมิเตอร์ด้านที่ใช้วัดอุณหภูมิที่ใต้ลิ้น 
  5. ปล่อยเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในปากโดยไม่ขยับเทอร์โมมิเตอร์ประมาณ 40 วินาที 
  6. เทอร์โมมิเตอร์จะทำการวัดค่าอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง และสัญลักษณ์ F (หรือ C) จะกะพริบระหว่างที่ทำการวัด 
  7. โดยปกติเทอร์โมมิเตอร์จะส่งเสียง “บี๊บ” เมื่อสิ้นสุดการอ่านขั้นสุดท้าย (โดยปกติประมาณ 30 วินาที) หากคุณต้องการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงในอนาคตให้จดบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้และเวลาที่ทำการวัดอุณหภูมิเอาไว้
  8. ล้างเทอร์โมมิเตอร์ในน้ำเย็น ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วล้างอีกครั้ง 

การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิทางทวารหนักแบบดิจิตอล (สำหรับทารกและเด็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี) 

Rectal thermometerRectal thermometer
  1. ล้างเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ทางทวารหนักด้วยสบู่และน้ำอุ่น   ห้ามใช้เทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้ในช่องปาก
  2. ทาน้ำมันหล่อลื่น(ปิโตรเลียมเจลลี่หรือวาสลีน®)บนเซ็นเซอร์ (ปลาย) ของเทอร์โมมิเตอร์เล็กน้อย  
  3. วางเด็กลงบนตักหรือบนโต๊ะ โดยให้ฝ่ามือข้างหนึ่งวางบนแผ่นหลัง หรือวางเด็กให้นอนหงายโดยให้งอขาเข้าหาหน้าอกและจับต้นขาด้านหลังด้วยมือข้างเดียว วางผ้าอ้อมหรือผ้าไว้ใต้ตัวเด็กเพราะเขาหรือเธออาจอึออกมาทันทีหลังจากการถอดเทอร์โมมิเตอร์ออก
  4. ใช้มืออีกข้างค่อยๆ สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในทวารหนักจนกระทั่งส่วนปลายเข้าไปในทวารหนักจนสุด อย่าฝืนถ้าคุณรู้สึกถึงแรงต้าน
  5. ใช้มือจับเทอร์โมมิเตอร์ไว้ให้แน่น จนกว่าจะได้ยินเสียง “บี๊บ” (ประมาณ 30 วินาที)
  6. ค่อยๆ ถอดเทอร์โมมิเตอร์ออก บันทึกอุณหภูมิและเวลาที่เวลาที่ทำการวัด
  7. ทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ อาจต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์แล้วล้างออกอีกครั้ง

ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิที่รักแร้แบบดิจิทัล (เช่นเดียวกับช่องปาก)

  1. ถอดเสื้อของเด็กออก แล้ววางปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่รักแร้ของเด็ก ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารักแร้ของเด็กแห้งสนิทเพื่อให้อ่านค่าอุณหภูมิได้ถูกต้องที่สุด
  2. วางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่ซอกรักแร้ โดยให้เด็กพับแขนไว้ที่หน้าอก
  3. เทอร์โมมิเตอร์จะส่งเสียงดัง “บี๊บ” เมื่อการวัดอุณหภูมิเสร็จสิ้น (วิธีนี้อาจใช้เวลานานกว่า 30 วินาที)
  4. ถอดเทอริโมมิเตอร์ออก แล้วทำการบันทึกอุณหภูมิ และเวลาที่ทำการวัด
  5. ทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ด้วยสบู่และน้ำหรือแอลกอฮอล์ โดยขั้นตอนสุดท้ายให้ล้างออกด้วยน้ำอีกครั้งเสมอ 

ควรเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเมื่อทำการอ่านค่าที่วัดได้ช่องปาก (ใต้ลิ้น) และซอกรักแร้ (ใต้แขน)หรือไม่?

ใช่ เพื่อความถูกต้องที่สุดควรจะเพิ่มอุณหภูมิที่วัดได้ขึ้นไปอีก  อุณหภูมิที่วัดได้ทางทวารหนักถือเป็นตัวบ่งชี้อุณหภูมิของร่างกายที่แม่นยำที่สุด การอ่านอุณหภูมิช่องปากและซอกรักแร้จะอยู่ที่ประมาณ ½° – 1 ° F (.3 ° C – .6 ° C) ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิที่ทวารหนัก การเพิ่มตัวเลขเหล่านี้ในการอ่านค่าอุณหภูมิในช่องปากและซอกรักแร้ทำเพื่อให้การอ่านค่าอุณหภูมิที่ได้จากการวัดมีความแม่นยำที่สุด

การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทางหู (สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป)

  1. ดึงด้านบนของหูไปด้านหลังเบา ๆ เพื่อทำการเปิดช่องหู
  2. วางฝาครอบสำหรับป้องกันไว้ที่ด้านปลายของเทอร์โมมิเตอร์
  3. ค่อยๆ สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไป จนกระทั่งปิดช่องหูอย่างสนิท
  4. กดปุ่มค้างไว้ 1-2 วินาทีจนกว่าคุณจะได้ยินเสียง “บี๊บ” (ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต)
  5. ถอดเทอร์โมมิเตอร์ออก ทิ้งฝาปิด แล้วจดบันทึกอุณหภูมิและเวลาที่ทำการวัด

การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางหน้าผาก

  1. เปิดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์
  2. วางฝาครอบสำหรับป้องกันไว้บนเทอร์โมมิเตอร์
  3. ขยับเทอร์โมมิเตอร์บนหน้าผากเบา ๆ เพื่อให้เครื่องสแกนอินฟราเรดสามารถวัดอุณหภูมิของหลอดเลือดแดงในขณะนั้นได้
  4. จดบันทึกอุณหภูมิและเวลาที่ทำการวัด
  5. ถอดฝาครอบสำหรับป้องกันออก แล้วทำลายทิ้ง
หมายเหตุ: เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางหน้าผากรุ่นใหม่ ๆ บางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าคลุมเนื่องจากไม่จำเป็นต้องให้เทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับหน้าผาก ซึ่งสามารถวางผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไว้ใกล้หน้าผากแล้วสามารถอ่านค่าได้ 

ควรวัดอุณหภูมิบ่อยแค่ไหน?

หากคุณรู้สึกไม่สบาย หรือเห็นว่าลูกหลานของคุณไม่สบายก็มีโอกาสที่คุณจะเอื้อมมือไปหยิบเทอร์โมมิเตอร์มาวัดไข้ได้  หนึ่งในคำถามที่มักพบบ่อยๆ ที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะถามคือ คุณมีอุณหภูมิร่างกายเป็นอย่างไร มีไข้หรือไม่ และคุณอาจตัดสินใจกินยาลดไข้ ซึ่งหากคุณทำเช่นนั้นมักจะมีคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาระยะเวลาที่ปลอดภัยในการกินยา  (โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง) ก่อนกินยาอีกครั้งให้วัดอุณหภูมิร่างกายของตัวเองหรือบุตรหลานของคุณเพื่อพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยาจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากครั้งแรกวัดอุณหภูมิได้สูงมาก อาจต้องทำการวัดอุณหภูมิซ้ำอีกครั้งซึ่งสามารถทำได้บ่อยครั้งกว่ากำหนดเวลาตามปกติ โดยอาจจะวัด 1-2ครั้งต่อชั่วโมง และวัดอุณหภูมิร่างกายอีกครั้งเมื่อดูเหมือนว่ายาที่กินจะไม่ให้ผลในการรักษา เช่น เมื่ออาการป่วยไม่ดีขึ้น และคุณยังมีอาการป่วยไข้อยู่ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพอาจแนะนำเวลาที่ควรทำการวัดอุณหภูมิ เช่น ตอนเช้าและตอนเย็น ควรจดบันทึกอุณหภูมิเหล่านี้เอาไว้เพื่อให้สามารถแจ้งรายละเอียดได้ในภายหลัง

ควรทำความสะอาด และเก็บรักษาเทอร์โมมิเตอร์อย่างไร?

การเก็บคำแนะนำที่ให้มาพร้อมกับเทอร์โมมิเตอร์ของคุณไว้เป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่จะได้สามารถใช้อ้างอิงกับคำถามต่างๆ  ส่วนการทำความสะอาดเครื่องวัดอุณหภูมิก่อนและหลังการใช้งานนั้น สามารถเช็ดทำความสะอาดส่วนปลายของเทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอลด้วยสบู่และน้ำหรือแอลกอฮอล์ แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น หากคุณใช้เทอร์โมมิเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งสำหรับวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำความสะอาดอย่างทั่วถึงและทำการติดฉลากไว้ จากนั้นจึงเก็บรักษาไว้ในลักษณะที่คุณสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทางทวารหนักไม่ใช่ทางปากหรือที่รักแร้ ตรวจสอบตามคำแนะนำ แต่เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทางหูและทางหน้าผากอาจเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ได้ ส่วนด้านล่าง มือจับ  อาจต้องทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่รุนแรงกว่า หากเทอร์โมมิเตอร์ของคุณถูกจัดส่งมาพร้อมกับซองเพื่อป้องกันตัวเครื่อง ให้ทำการรักษาเก็บเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในซองนั้น เก็บเครื่องวัดอุณหภูมิ (หรือเทอร์โมมิเตอร์) ไว้ในที่แห้งซึ่ง และใกล้มือเพื่อให้หาพบได้ง่าย และต้องไม่สัมผัสกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง 

ควรติดต่อผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเมื่อใด?

หากมีคำถามเกี่ยวกับวิธีวัดอุณหภูมิ โปรดติดต่อผู้ให้บริการของคุณ พวกเขาสามารถที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวของคุณรวมทั้งวิธีที่ดีที่สุดในการวัดอุณหภูมิของคุณและบุตรหลาน ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น ควรวัดอุณหภูมิอีกครั้งบ่อยแค่ไหน หรือควรทำอะไรบ้างเพื่อพยายามลดไข้ลง ติดต่อผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพทันทีหากมีสมาชิกภายในบ้านของคุณมีไข้ และมีอาการดังต่อไปนี้
  1. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  2. คอแข็ง
  3. มีอาการบวมที่คอ 
  4. สับสน
  5. มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีความผิดปกติใดๆ ที่สร้างความวิตกกังวล
ข้อควรจำ คุณและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณร่วมมือกันเพื่อช่วยให้คุณและสมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพที่ดี พวกเขายินดีที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใดที่ดีที่สุด ควรใช้อย่างไร และตัวเลขใดที่มีความสำคัญที่ต้องให้ความสนใจ  แม้ว่าอาการไข้อาจจะน่ากลัวแต่นั่นก็เป็นสัญญานของร่างกายที่พยายามบอกอะไรแก่คุณด้วย ผู้ให้บริการของคุณคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับรู้ว่าร่างกายกำลังบอกอะไร และจะตอบสนองอย่างไร 

ปรอทวัดไข้ราคาเท่าไหร่

ปรอทวัดไข้มีหลายราคาตั้งแต่หลักสิบจนไปถึง 500 บาท เราควรเลือกเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ที่สะดวกกับการใช้งานของเรา 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด