เหงือกบวม (Swollen Gums) : อาการ สาเหตุและการรักษาของโรค

เหงือกบวม (Swollen Gums)  คือพื้นที่ของเหงือกข้างในบวม เหงือกส่วนที่บวมจะมีส่วนยื่นออกมา จนครอบคลุมฟันและทำให้เนื้อบริเวณเหงือกเปลี่ยนสีเป็นสีแดงก่ำ อาการของเหงือกบวม มักมีอาการระคายเคือง ไวต่อความรู้สึก และจะมีอาการเจ็บปวด และจะมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน  เหงือกมีความสำคัญต่อช่องปาก รูปร่างลักษณะของเหงือกจะมีสีชมพูขอบเรียบ ทำหน้าที่หุ้มตัวฟันและกระดูกขากรรไกรไว้ทั้งหมด ภายในเหงือกมีเส้นเลือดกระจายอยู่หนาแน่น หากมีอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบหรือเลือดออกตามไรฟัน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหงือกบวม 

สาเหตุของเหงือกบวมเกิดจากอะไร

สาเหตุเหงือกบวม มีดังนี้ เหงือกอักเสบ เหงือกอักเสบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเหงือกบวม สาเหตุเหงือกอักเสบอาจมาจากอาการระคายเคืองและจนทำให้เหงือกบวมหลายคนอาจจะไม่ทราบว่ามีโรคเหงือกอักเสบเนื่องจากอาการของมันไม่ค่อยรุนแรงมาก แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจอันตรายถึงขั้นรุนแรงจนกลายเป็นโรคปริทันต์หรืออาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ไปได้ โรคเหงือกอักเสบมักเกิดจากการรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากไม่ดี หรือทำความสะอาดไม่เพียงพอ ซึ่งจะก่อให้เกิดคราบพลัค คราบพลัค คือคราบจุลินทรีหรือคราบอาหารที่เกาะอยู่บริเวณผิวฝัน หากติดอยู่เกิน 2-3 วัน จะก่อตัวกลายเป็นหินปูน  หินปูน คือ คราบพลัคที่เกาะติดแน่น ไม่สามารถกำจัดออกได้อย่างง่ายๆ ถึงแม้จะใช้ไหมขัดฟัน หรือแม้แต่การแปรงฟัน  สิ่งเหล่านี้อาจทำก่อให้เกิดเหงือกอักเสบได้ง่าย และหากเกิดคราบพลัคเยอะจนเกิน ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาวิธีรักษาตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำต่อไป  เหงือกบวมเกิดจากอะไรได้บ้าง  การตั้งครรภ์ เหงือกบวมสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ การไหลเวียนของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์และทำให้เพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณเหงือกจึงทำให้เกิดอาการอักเสบ และระคายเคืองได้ง่ายขึ้น การขาดสารอาหาร การขาดวิตามินโดยเฉพาะวิตามินบีและซีอาจทำให้เหงือกบวม  ตัวอย่างเช่นวิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมฟันและเหงือกของคุณ หากระดับวิตามินซีลดลงต่ำเกินไป จะเป็นสาเหตุทำให้เลือดออกตามไรฟัน และอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางและโรคเหงือกได้  การติดเชื้อ เชื้อราหรือเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกบวมได้ หรือหากคุณเป็นโรคเริม ก็อาจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการเหงือกบวมได้  เชื้อราซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของยีสต์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและอาจเกิดในช่องปากและอาจก่อให้เกิดอาการเหงือกบวม ฟันผุ หากไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจทำให้เกิดอาการปวดเหงือก เป็นหนองที่เหงือกได้ วิธีการรักษาอาการเหงือกบวม การรักษาทางการแพทย์ หากมีอาการเหงือกบวม ปวดเหงือก ซึ่งอาการเหงือกบวมอาจเป็นได้หลายตำแหน่งเช่น ปวดเหงือกตรงฟันกราม หเกิ นสองสัปดาห์ควรปรึกษาทันตแพทย์โดยทันที ทันตแพทย์จะสอบถามอาการเริ่มต้น และระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ อาจจะต้องใช้รังสีในการเอกซเรย์ในช่องปาก แพทย์จะสอบถามเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ด้วยหรือไม่ หรือว่าเคยอยู่ในช่วงของการลดน้ำหนักมาก่อนด้วยหรือไม่ รวมทั้งแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเหงือกบวมในเบื้องต้นด้วย  ทันตแพทย์อาจใช้วิธีทำความสะอาดโดยการบ้วนปาก เพื่อช่วยป้องกันโรคเหงือกอักเสบและลดคราบจุลินทรีย์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการเหงือกบวมของคนไข้ด้วย หรืออาจจะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันสำหรับคนเป็นโรคเหงือกอักเสบโดยเฉพาะ  ผู้ป่วยเหงือกบวมอาจต้องกินยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการอักเสบร่วมด้วย  หากอาการของโรคเหงือกอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษา  ทันตแพทย์จะดูขนาดและรูปร่างของรากฟันแล้วทำการผ่าตัด แต่หากรักษาในเบื้องต้นได้ แพทย์อาจทำการขูดคราบหินปูน เพื่อรักษาสภาพของเหงือกให้คงสภาพดีต่อไป 

การรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง

เหงือกบวม (Swollen Gums)  คือ หากมีอาการเจ็บเหงือกทั้งด้านในสุด เหงือกบริเวณฟันกราม หรือเหงือกบริเวณฟันคุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะปรึกษาเภสัชกรในเบื้องต้น และรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะเพื่อแก้เหงือกอักเสบ หรืออาจะใช้ยาสีฟันที่รักษาเหงือกอักเสบโดยเฉพาะ แต่หากไม่ดีขึ้นอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามระดับของอาการต่อไป  อาการเจ็บเหงือก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เด็กที่มีฝันผุ อาจทำให้เป็นเหงือกบวม หรืออาการปวดอาจมาจากฟันน้ำนมหัก แต่ก็จะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่วัน หากมีการรักษาทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เคล็ดลับในการระมัดระวังและดูแลสุขภาพเหงือก  วิธีรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเองที่บ้าน:
  • ควรใช้แปรงสีฟันและไหมขัดฟันเบาๆ เพื่อไม่ให้เหงือกมีอาการปวด และระคายเคือง
  • ควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพื่อกำจัดแบคทีเรียในช่องปาก
  • ควรดื่มน้ำมาก ๆ น้ำเพราะจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลายซึ่งจะทำให้ลดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่เข้มข้นเกินไป เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ 
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ 
  • หากมีอาการปวดเหงือก ควรประคบอุ่นบนใบหน้าซึ่งเป็นวิธีแก้ปวดเหงือกได้  ส่วนการประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการเหงือกบวมได้
การใช้สมุนไพรสามารถนำมาเป็นยารักษาเหงือกบวม เหงือกอักเสบได้เช่น 
  • ขมิ้นชัน- นำขมิ้นสดมาปอกเปลือกและล้างน้ำให้สะอาดแล้วบดให้ได้ประมาณ 1 ช้อนชา เติมเกลือลงไปเล็กน้อยและนำไปผสมน้ำ ทาขมิ้นที่บดแล้วนั้นลงไปบริเวณเหงือกที่บวมจะช่วยลดอาการอักเสบของปัญหาเหงือกได้ ทำได้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • ขิงสด- นำขิงสดมาปอกเปลือก จากนั้นบดให้ละเอียด เติมเกลือเข้าไปเล็กน้อย แล้วนำมาทาให้ทั่วบริเวณที่เหงือกบวม  เหงือกอักเสบ จะช่วยให้ลดอาการเหงือกบวมได้
  • มะนาว – นำสำลีชุบน้ำมะนาว แล้วทาให้ทั่วบริเวณเหงือก นอกจากจะช่วยฆ่าเชื้อแล้ว ยังสามารถช่วยลดอาการบวมได้อีกด้วย
  • ใบฝรั่ง – นำใบฝรั่งมาต้มจากนั้นใส่เกลือผสมลงไปเล็กน้อย กรองเอาเฉพาะน้ำ แล้วนำมากลั้วปาก จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและรักษาโรคเหงือกได้
  • เปลือกมังคุด – นำเปลือกมังคุดไปต้ม จากนั้นนำน้ำที่ต้มมาบ้วนปาก จะช่วยรักษาเหงือกบวมได้ ทั้งยังช่วยลดเหงือกอักเสบและช่วยให้เหงือกแข็งแรงอีกด้วย
จะป้องกันเหงือกบวมได้อย่างไร ควรดูแลสุขภาพของช่องปากและรักษาความสะอาดอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหงือกบวมได้ รวมถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อเสริมสร้างวิตามินในการรักษาสุขภาพฟันภายในช่องปาก การดูแลช่องปาก ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และควรใช้ไหมขัดฟันก่อนการแปรงฟันเป็นประจำ ควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก ๆ หกเดือนเพื่อตรวจสภาพฟัน หากมีอาการผิดปกติเช่น ปากแห้ง ควรหลีกเหลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้ฟันเกิดคราบพลัค และการสะสมของหินปูน ควรปรึกษาแพทย์ในการใช้น้ำยาบ้วนปาก และยาสีฟันที่เหมาะกับสภาพเพื่อป้องกันการโรคในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ 

คำถามที่พบบ่อย

เหงือกบวมใช้เวลารักษานานแค่ไหน  ในกรณีส่วน ใหญ่อาการบวมที่เหงือกควรหายไปหลังจาก 1 หรือ 2 วัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีเศษอาหารติดฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่ทำให้เหงือกระคายเคือง อาการบวมไม่ควรคงอยู่นาน ยาที่ดีที่สุดสำหรับเหงือกบวมคืออะไร  ยาแก้ปวดที่ขายตามเคาน์เตอร์ ยาบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) และไอบูโพรเฟน (แอดวิล)สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายทางฟันและช่องปากได้ บุคคลอาจเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อใช้ยาบรรเทาปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์  ร่วมกับการเยียวยาที่บ้าน เช่น การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ รักษาเหงือกบวมด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างไร ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ การล้างด้วยสารละลายน้ำและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อาจช่วยรักษาอาการเจ็บ แดง หรือเหงือกบวมได้ วิธีใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นยาธรรมชาติสำหรับเหงือกร่น: ผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ 1/4 ถ้วยกับน้ำ 1/4 ถ้วย กลั้วส่วนผสมให้ทั่วปากประมาณ 30 วินาที รู้ได้อย่างไรว่าเหงือกบวมติดเชื้อ  หนึ่งในอาการเบื้องต้นคือเหงือกจะแดงและบวม พวกเขายังจะอ่อนโยนต่อการสัมผัส แม้ว่าเหงือกอักเสบอาจส่งผลให้เหงือกบวมหรือคล้ำขึ้นเล็กน้อย การติดเชื้อจะส่งผลให้บวมมากขึ้นและมีรอยแดงมากขึ้น เลือดออกตามไรฟันเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการติดเชื้อ อะไรรักษาเหงือกบวมได้เร็วที่สุด  ผลการศึกษาในปี 2559 แสดงให้เห็นว่าการใช้น้ำเกลือบ้วนปากจะมีประโยชน์อย่างมากในการรักษาเหงือกที่อักเสบจากโรคเหงือกอักเสบ เกลือเป็นสารฆ่าเชื้อตามธรรมชาติที่ช่วยให้ร่างกายรักษาตัวเองได้ น้ำเกลืออาจ: บรรเทาอาการเหงือกอักเสบ ทำไมเหงือกบวมไม่หายสักที  อย่างไรก็ตาม เหงือกบวมที่กินเวลานานกว่า 1-2 วันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน เช่น เหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบ หรือฝีในฟัน หากมีอาการบวมเกิดขึ้นพร้อมกับมีไข้ ควรติดต่อทันตแพทย์ทันที ลิสเตอรีนดีต่อเหงือกบวมหรือไม่  น้ำยาบ้วนปากผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลิสเตอรีนตัวเลือกนี้ใช้ได้ดีเพราะมีเมนทอล ซึ่งช่วยปลอบประโลมเหงือกและลดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีแอลกอฮอล์ซึ่งช่วยฆ่าแบคทีเรียและช่วยป้องกันการสะสมของคราบพลัค ดื่มอะไรได้บ้างหากมีอาการเหงือกอักเสบ  ลองจิบน้ำหรือชาสมุนไพรแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หากชาร้อนเกินไปหรือน้ำเย็นเกินไป การดื่มที่อุณหภูมิอุ่นๆ ไม่ควรทำร้ายเหงือก อาหารอะไรที่ช่วยให้เหงือกอักเสบ  แอปเปิ้ลกรุบกรอบ แครอท และผักกาดกรอบเต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยให้ฟันแข็งแรงและช่วยให้เหงือกอักเสบสงบลงได้ พริกหยวกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโรคเหงือกเนื่องจากมีวิตามินซีสูง

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/oral-health/guide/gum-problem-basics-sore-swollen-and-bleeding-gums
  • https://www.nhs.uk/conditions/gum-disease/
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gingivitis/symptoms-causes/syc-20354453
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด