ห้อเลือด (Subungual Hematoma) : สาเหตุ อาการ การรักษา

ห้อเลือดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า (Subungual Hematoma) เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์สำหรับเรียกอาการเลือดคั่ง  โดยปกติมีสาเหตุเกิดจากอาการบาดเจ็บของหลอดเลือดที่ใต้ฐานเล็บบางประเภท หรือผิวหนัง ตัวอย่างเช่นเส้นเลือดแตกทำให้มีเลือดไหลคั่งอยู่ในใต้ฐานเล็บเมื่อถูกประตูหนีบนิ้วมือหรือนิ้วห้วแม่เท้าชนกับของหนัก นอกจากนี้ห้อเลือดสามารถเกิดขึ้นเมื่อนิ้วหัวแม่เท้าถูกแรงกดอัดซ้ำๆอยู่ในรองเท้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะตอนใส่อุปกรณ์เสริมรองเท้าในขณะเล่นกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนไหวและหยุดเคลื่อนไหวหลายครั้งเช่นกีฬาเทนนิส ฟุตบอลหรือบาสเกตบอลและอาการนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ตอนวิ่งและปั่นจักรยานโดยเฉพาะผู้ที่วิ่งหรือปั่นจักรยานลงภูเขา  เมื่อสวมใส่รองเท้าหน้าแคบทำให้มีเเรงกดดันภายในหลอดเลือดหัวเเม่เท้าเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดเเตกและมีเลือดคั่งอยู่ในเล็บ สำหรับอาการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่านักวิ่งเล็บดำหรือนักเทนนิสเล็บดำ Subungual Hematoma

อาการของห้อเลือด

อาการเเรกของการเกิดห้อเลือดคือมีอาการปวดตุบๆที่เล็บเนื่องจากบริเวณฐานเล็บถูกแรงกดทับ  อาการต่อมาคือเล็บนิ้วเท้าเปลี่ยนสีโดยเริ่มมีสีแดงม่วงจากนั้นจึงกลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำเนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่ ทั้งนี้เล็บที่เปลี่ยนสีสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน  โดยปกติเเล้วอาการเจ็บปวดที่เกิดจากห้อเลือดสามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่เล็บที่ได้รับความเสียหายอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลารักษานานกว่า เล็บที่เปลี่ยนสีเมื่อเวลาผ่านไปจะมีเล็บใหม่งอกขึ้นมาหรือในบางกรณีเล็บอาจหลุดออกหรือจำเป็นต้องนำเล็บออกเพื่อให้เล็บใหม่งอกขึ้นมาโดยอาจต้องใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์สำหรับเล็บมือและ 6 เดือนสำหรับเล็บเท้า  

เล็บห้อเลือดหรือเนื้องอกมะเร็งชนิดเมลาโนมา

เนื้องอกเมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่อันตรายมากที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนและใต้ผิวหนังรวมถึงผิวหนังใต้เล็บอีกด้วยซึ่งสามารถทำให้เล็บเปลี่ยนสีหรือมีเลือดออกใต้เล็บ สำหรับมะเร็งเมลาโนมาที่ฐานเล็บพบได้ยากมากโดยมีอัตราเกิดขึ้นในประชากรคิดเป็น 1 ในล้านคนเท่านั้น  แต่ถ้าหากตรวจพบเนื้องอกมะเร็งชนิดเมลาโนมาช้าเกินไปมีความเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เพื่อระบุความแตกต่างว่าเล็บที่เกิดการเปลี่ยนสีมีสาเหตุเกิดจากห้อเลือดหรือมะเร็งเมลาโนมา อันดับแรกแพทย์จะให้ความสนใจว่าคุณมีอาการบาดเจ็บที่เล็บเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่ คุณได้เล่นกีฬาเช่นกีฬาเทนนิสหรือวิ่งมากก่อนหรือไม่ เนื่องจากเลือดที่คั่งอยู่ในเล็บสามารถเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1-2 วันเมื่อได้รับบาดเจ็บ ซึ่งแตกต่างจากเนื้องอกมะเร็งเมลาโนมาที่ค่อยเกิดขึ้นเเละหายไป เมื่อเล็บหายจากห้อเลือด เล็บที่งอกขึ้นมาใหม่จะงอกขึ้นตามแนวร่องเล็บแนวขวางครอบคลุมผิวหน้าเล็บ แพทย์จะสังเกตุการงอกของเล็บและสัญญาณอื่นๆเพื่อระบุสาเหตุของอาการเลือดออกที่ฐานเล็บ

วิธีการรักษาห้อเลือด

อาการห้อเลือดส่วนใหญ่สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการบวม สถาบันโรคผิวหนังและกระดูกแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าควรยกเท้าหรือมือที่มีห้อเลือดให้สูงขึ้นและใช้น้ำเเข็งประคบบริเวณที่เกิดห้อเลือดเป็นเวลาประมาณ 20 นาที สำหรับการประคบน้ำเเข็งควรใช้ผ้าพันน้ำแข็งเพื่อนำไปประคบบริเวณที่เกิดห้อเลือดด้วยตนเอง เนื่องจากการประคบน้ำแข็งโดยตรงที่ไม่มีผ้ารองสามารถทำให้เนื้อเยื่อได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ยังสามารถซื้อยาแก้ปวดจากร้านขายยาด้วยตนเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและลดอาการบวมอักเสบได้เช่นกัน คุณอาจจำเป็นต้องเรารับการรักษาจากเเพทย์ถ้าหากคุณมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงมากกว่า 2 วัน เพื่อบรรเทาแรงบีบอัดและอาการเจ็บปวดด้วยวิธีการที่เรียกว่า การระบายเลือดด้วยการเจาะเล็บ (nail trephination) โดยปกติการรักษาด้วยวิธีการนี้ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดซึ่งมีวิธีทำคือเจาะรูขนาดเล็กที่เล็บบริเวณที่มีเลือดออกอยู่ใต้เล็บจากนั้นปล่อยให้เลือดระบายออกมา แพทย์จะทำการเจาะรูด้วยการใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือคลิปหนีบกระดาษที่ผ่านการฆ่าเชื้อ (หากไม่มีทักษะการรักษาไม่ควรพยายามทำเองที่บ้าน) นอกจากนี้ยังสามารถใช้แสงเลเซอร์ได้ด้วยเช่นกัน เมื่อสามารถลดแรงบีบอัดในเล็บได้เเล้ว คนส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นทันที ทั้งนี้เล็บที่เกิดความเสียหายส่วนใหญ่มักหลุดออกไปเอง แต่ถ้าหากเล็บไม่สามารถหลุดออกเองได้แพทย์จำเป็นต้องนำเล็บออกเนื่องจากเล็บเกิดความเสียหายอย่างมาก  แม้ว่าเลือดคั่งในเล็บสามารถระบายออกมาได้หมดหรือไม่ สิ่งสำคัญคือควรสังเกตุอาการติดเชื้อ ถ้าหากคุณสังเกตุพบอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบเเพทย์ทันที
  • มีไข้
  • มีความรู้สึกอุ่นเมื่อสัมผัสที่เล็บ
  • เป็นริ้วสีแดง
  • มีน้ำหนองไหลออกจากเล็บ

เมื่อใดควรไปพบแพทย์สำหรับห้อเลือด 

หากความเจ็บปวดไม่รุนแรงและห้อเลือด (การเก็บเลือด) น้อยกว่า 25% ของพื้นที่ใต้เล็บ ให้พิจารณาการดูแลที่บ้าน หากเลือดคั่งอยู่ที่ 50% ขึ้นไปของบริเวณเล็บด้านล่าง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ หากการบาดเจ็บที่ทำให้เกิดเลือดคั่งใต้ผิวหนังนั้นรุนแรงพอที่จะทำให้เกิดความเจ็บปวดและกดเจ็บอย่างรุนแรง ให้ไปพบแพทย์ กลไกของการบาดเจ็บสำหรับภาวะนี้อาจทำให้กระดูกหักที่ปลายนิ้ว (กระดูกส่วนปลายหัก) หรือนิ้วเท้าหรือการฉีกขาดของเนื้อเล็บใต้เล็บ ซึ่งอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เพิ่มเติมหรือถอดเล็บออก

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์วินิจฉัยก้อนเลือดใต้ผิวหนังได้อย่างไร 

  • เอ็กซ์เรย์
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอาจทำการเอ็กซ์เรย์เพื่อค้นหาการแตกหัก (แตกหัก) ของกระดูกข้างใต้
    • รังสีเอกซ์ไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับ การก่อตัว ของเลือดออกหรือเลือดใต้เล็บ
  • การประเมินฐานเล็บ
    • ขึ้นอยู่กับประเภทของการบาดเจ็บและระดับของการบาดเจ็บและปริมาณเลือดที่อยู่ใต้เล็บ แพทย์อาจตัดสินใจถอดเล็บออกเพื่อตรวจดูเนื้อเล็บว่ามีบาดแผลหรือไม่ แม้ว่าจะเคยเป็นเรื่องปกติที่จะต้องถอดเล็บออกเพื่อตรวจดูเนื้อใต้เล็บเพื่อหารอยฉีกขาดหรือการบาดเจ็บ แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีปฏิบัติประจำอีกต่อไปหากขอบเล็บหรือขอบเล็บไม่บุบสลาย

วิธีป้องกันเล็บห้อเลือด

เล็บห้อเลือดบางชนิดสามารถเกิดขึ้นจากประตูหนีบนิ้วมือเช่นกันซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่โชคร้ายดังนั้นจึงสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้ยาก แต่สำหรับการป้องกันนิ้วหัวเเม่เท้าสามารถป้องกันได้ง่ายกว่าด้วยวิธีต่อไปนี้
  • สวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า เนื่องจากมีปัญหาหลายอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากสวมใสรองเท้าที่คับเกินไป
  • ถ้าหากคุณเล่นกีฬาฟุตบอลหรือเทนนิส ควรเล่นบนพื้นหญ้าหรือพื้นดินธรรมชาติเพื่อลดเเรงเสียดทานระหว่างรองเท้าและเท้า
  • ถ้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นกับนิ้วเท้าควรพันนิ้วที่เกิดปัญหากับนิ้วที่อยู่ถัดไปเพื่อลดเเรงเสียดทาน
  • ถ้าหากคุณทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างหรือคลังเก็บสินค้า ควรปกป้องเท้าของคุณไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากการชนกับของหนักให้ได้มากที่สุดดวยการสวมใส่รองเท้าป้องกันการกระเเทกหรือรองเท้านิรภัยหัวเหล็ก การรักษาเท้าเป็นสิ่งสำคัญมากถ้าหากคุณต้องยืนทำงานทั้งวัน

บทสรุปเกี่ยวกับอาการเล็บห้อเลือด

ในกรณีส่วนใหญ่เล็บห้อเลือดที่เกิดขึ้นอาจดูมีอาการเลวร้ายลงกว่าที่เห็น ซึ่งเล็บที่เกิดห้อเลือดจะมีอาการปวดแบบตุบๆและมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงมีสีที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกลายเป็นสีน้ำเงิน สีม่วงและสีน้ำตาล และเล็บอาจหลุดออกไป แต่โดยส่วนใหญ่เเล้วเล็บที่เกิดห้อเลือดสามารถหายเองได้และสามารถหาซื้อยาแก้ปวดที่ร้านขายยาทานเองได้ ถ้าหากยังมีอาการเจ็บปวดต่อไป คุณสามารถระบายเลือดและบรรเทาแรงบีบอัดใต้เล็บด้วยวิธีง่ายๆได้ สำหรับการระบายเลือดออกจากเล็บจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแม้ว่าเลือดจะถูกระบายออกหมดหรือไม่ ควรตรวจสอบสัญญาณของการติดเชื้อและเมื่อมีเล็บใหม่งอกขึ้นไม่จำเป็นต้องรักษาอีกต่อไป

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/subungual-hematoma
  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/bleeding-under-nail
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/321836
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482508/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด