• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
15/02/2021
in หาโรค, โรคทางพันธุกรรม
0
กระดูกสันหลังเสื่อม
0
SHARES
20
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
  • อาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
  • การรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
Rate this post

Spondylosis มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า Vertebrae ที่หมายถึง กระดูกสันหลัง โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) คือ อาการของโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง ทั้งอาการกระดูกงอก และการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังเสื่อมมักสัมพันธ์กับโรคข้อเข่าเสื่อม  เพราะกระดูกสันหลังกับเอว ความเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังจึงเกิดอาการอื่น ๆ ที่ส่วนต่าง ๆ ของกระดูกสันหลังอย่างข้อต่อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลัง (โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม) เกิดบริเวณหลังส่วนล่าง

กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดอาการที่กระดูกสันหลังส่วนคอ (ลำคอ) กระดูกสันหลังทรวงอก (ส่วนบนและกลางหลัง) หรือกระดูกสันหลังส่วนเอว (หลังส่วนล่าง) โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและกระดูกคอพบได้บ่อยที่สุด

  • กระดูกสันหลังส่วนอกมักไม่แสดงอาการ

  • กรณีกระดูกสันหลังส่วนล่าง Lumbosacral จะได้รับผลกระทบที่กระดูกสันหลังส่วนเอว และกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (ใต้กระดูกสันหลังส่วนเอวตรงกึ่งกลางระหว่างสะโพก)

กระดูกสันหลังเสื่อมมีอาการหลายระดับ เพราะอาการของโรคนี้จะส่งผลต่อกระดูกหลายชิ้นในบริเวณสันหลัง

Spondylosis

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมมีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะกระดูก และเอ็นในกระดูกสันหลังจะสึกหรอทำให้เกิดภาวะกระดูกงอก (อาการข้อเสื่อม) นอกจากนี้หมอนรองกระดูกสันหลังที่เสื่อม และอ่อนตัวยังนำไปสู่อาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกโป่งได้ โดยมีรายงานเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังเสื่อมว่าสามารถพบในผู้ป่วยที่มีช่วงอายุ 20 – 50 ปี ประมาณ 80% ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปพบอาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจากการตรวจสอบด้วยการ X-ray และโอกาสการเกิดโรคกระดูกสันหลังเสื่อมยังสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพันธุกรรมและประวัติการบาดเจ็บ

พันธุกรรมเป็นอีกปัจจัยของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม โดยมากในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อมก็มีแนวโน้มที่จะพบโรคกระดูกสันหลังเสื่อมที่มากขึ้น

การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาการบาดเจ็บที่หมอนรองกระดูกสันหลัง และโรคข้อเข่าเสื่อมมีแนวโน้มที่จะลุกลามไปที่ข้อบริเวณกระดูกสันหลัง แต่อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะเกิดอาการ

อาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมที่ตรวจพบด้วยการ X-ray  มักไม่แสดงอาการใด ๆ กรณีเกิดอาการบริเวณกระดูกส่วนบั้นเอว (กระดูกสันหลังบริเวณหลังส่วนล่าง) ผู้ป่วย 27%  – 37% จะไม่มีอาการ แต่ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมบางคนจะรู้สึกปวดหลังและปวดคอเนื่องจากการกดทับเส้นประสาท (เส้นประสาทถูกกดทับ) ได้ เส้นประสาทที่ถูกกดทับยังทำให้เกิดอาการปวดคอ ไหล่ และศีรษะได้

การกดทับเส้นประสาทเกิดระดับ bulging discs และการงอกของ facet joints ส่งผลให้รูรากประสาทที่ออกจากกระดูกสันหลังตีบแคบลง (foraminal stenosis) แม้ว่าความผิดปกติจะยังไม่มากแต่ก็จะส่งผลต่อเส้นประสาทโดยตรง และทำให้อักเสบในบริเวณที่ผิดปกติ ทำให้เส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังมีความไวมากขึ้น และเจ็บปวดมากขึ้น นอกจากนี้หากเกิดเส้นประสาทใหม่หรือหลอดเลือดบริเวณที่ถูกกดทับก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้ อาจต้องอาศัยการเข้าเฝือก เพื่อลดอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ และ trigger points ได้

กรณีกระดูกทับเส้นประสาทจากอาการกระดูกสันหลังเสื่อม ความเจ็บปวดอาจเกิดบริเวณแขนขาได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นหากหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวอาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างแล้วลุกลามไปที่ขา เรียกอาการ Radiculopathy

เมื่อเส้นประสาท Sciatic ที่ผ่านจากบริเวณหลังส่วนล่างลงไปตามขาจนถึงเท้าก็จะได้รับผลกระทบจากอาการ  Radiculopathy ด้วย ทำให้อาการชา และเสียวซ่า (คล้ายถูกเข็มทิ่ม) ที่ปลายแขน อาการปวดหลังจาก bulging disc มักแย่ลงเมื่อยืน นั่ง และก้มตัวไปข้างหน้าเป็นเวลานาน ๆ แต่จะดีขึ้นหากเปลี่ยนท่าทางร่างกายบ่อย ๆ และออกเดิน อาการปวดหลังเนื่องจากข้อเสื่อมบริเวณ facet joints จะแย่ลงหากเดิน หรือยืน สามารถแก้อาการได้ด้วยการงอตัวไปข้างหน้า อาจมีอาการชา และเสียวซ่าร่วมหากเส้นประสาทถูกกดทับ

หากเส้นประสาทถูกบีบอย่างรุนแรงอาจทำให้แขนขาที่ได้รับผลกระทบเกิดอ่อนแรงได้ กรณีหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (myelopathy) ได้

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมที่มีอาการรวมกับ Myelopathy  ถือเป็นโรคที่ร้ายแรงที่ส่งผลต่อไขสันหลัง ทำให้อวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ถูกกดทับเกิดอาการชา รู้สึกเสียวซ่า และอ่อนแรงได้

การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมทำได้โดยใช้การทดสอบทางรังสีวิทยา เช่น การ X-ray การทำ MRI หรือ CT scan รังสีจะแสดงอาการผิดปกติของกระดูกบริเวณสันหลังได้ ทั้งความหนาของ facet joints (ข้อต่อที่เชื่อมกระดูกสันหลังเข้าด้วยกัน) และช่องว่างบริเวณไขสันหลังส่วนเอวที่แคบลงได้ การทำ CT scan ที่กระดูกสันหลังจะช่วยให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของกระดูกส่วนนี้ได้ อย่างลักษณะที่แคบลงของช่องกระดูกสันหลัง (โรคช่องไขสันหลังตีบแคบ) การสแกน MRI มีราคาแพง แต่จะแสดงรายละเอียดได้ดีที่สุด สามารถแสดงภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังได้อย่างละเอียด จึงวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น

การรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

วิธีรักษาโรคกระดูกเสื่อมไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลังเสื่อมหรือกระดูกบริเวณอื่น ๆ นั้นคล้ายกับการรักษาอาการปวดหลังและปวดคอทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ การใช้ยารักษา การออกกำลังกายการทำกายภาพบำบัด การทำบำบัดเฉพาะทาง ( Chiropractics และการฝังเข็ม ) ขั้นตอนที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุดคือการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด

การรักษาด้วยยา

ยังไม่มียาใดได้สามารถทำให้อาการกระดูกเสื่อมหายขาดได้ โดยทั่วไปจึงเป็นการรักษาอาการปวดที่มีผลสืบเนื่องมาจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อมได้แก่ยาต้านการอักเสบ ยาแก้ปวด (ยาบรรเทาอาการปวด) และยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดหลังและคอที่มาจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ซึ่งยาต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ยาแก้อาการซึมเศร้าบางชนิดก็สามารถนำมารักษาอาการปวดหลังเรื้อรังได้ เพราะส่งผลต่อเส้นประสาทโดยตรง แต่จะต้องอยู่ในปริมาณและระยะเวลาการรับยาที่กฎหมายควบคุม

ยาทาบรรเทาอาการปวดที่ใช้นวดบริเวณที่ปวดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อมได้ ยาประเทภนี้หลายชนิดสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ กรณียามีสารแคปไซซินที่มาจากพริกไม่ควรใช้กับบริเวณที่มีบาดแผลหรือไวต่อความระคายเคือง  หลังใช้ยาควรล้างมือให้สะอาด ก่อนสัมผัสส่วนอื่น ๆ เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองจากยา

การใช้ยาสเตียรอยด์ (คอร์ติโซน) ฉีดเข้าไปในช่องไขสันหลัง (ช่องว่างที่อยู่รอบไขสันหลัง) คือการฉีดยาบรรเทาปวด หรือฉีดสเตียรอยด์เข้าไปใน facet joints ที่เชื่อมต่อกระดูกสันหลัง จะช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่ออ่อนหรือช่องของหมอนรองกระดูกจะช่วยบรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลันได้ดี โดยเฉพาะอาการปวดลามไปยังแขนขา กรณีการปวดที่คอ และหลังอาจบรรเทาด้วยการฉีดยาเข้ากระแสเลือดหรือบริเวณกระดูกที่เกิดอาการได้

การรักษาด้วยการปรับกิจวัตรประจำวัน

การรักษาด้วยการปรับกิจวัตรประจำวันนั้นมีความจำเป็นมาก เพราะจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นหรือหายได้หากทำติดต่อกันหลายวัน แพทย์พบว่าการนอนหลับพักผ่อนช่วยให้ร่างกายได้พักฟื้น ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่ห้ามทำกิจกรรมที่เสี่ยงอย่างการยกของหนัก

ผู้ป่วยอาจทำการประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดที่หลังและคอจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อมได้ รวมทั้งการใช้หมอนหนุนขาระหว่างนอนก็จะช่วยแก้ปวดบริเวณหลัง มีหมอนพิเศษที่ออกแบบเพื่อรองรับกระดูกสันหลังส่วนคอก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้

การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดและการแพทย์ทางเลือก

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดในกรณีที่มีอาการปวดแบบเรื้อรัง การทำกายภาพบำบัดใช้แก้ไขอาการปวดบริเวณหลังหรือคอ ด้วยการเสริมสร้างและเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ นักกายภาพบำบัดจะกำหนดท่าทางที่เฉพาะเจาะจงสำหรับบริเวณที่ปวด ซึ่งการทำเป็นประจำทุกวันจะช่วยบรรเทาอาการปวด การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างการเดิน และโยคะได้รับการศึกษาแล้วว่าส่งผลดีต่ออาการปวดหลังเรื้อรัง

การทำ Chiropractic จะส่งผลดีกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น โดยเฉพาะในรายที่พบอาการได้ไม่นาน ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษษด้วยวิธีการนี้ได้เพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบหรือรูมาตอยด์ไม่ควรได้รับการรักษา เพราะเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อไขสันหลังได้

การฝังเข็มใช้รักษาอาการปวดหลังด้วยการสอดเข็มบาง ๆ ที่ระดับความลึกต่าง ๆ กันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มถูกออกแบบมาเพื่อปรับสมดุลของลมปราณ (หรือชี่) ซึ่งไหลเวียนทั่วร่างกาย เป็นการรักษาทางเลือกที่ทำร่วมกับการรักษาอื่น ๆ อย่างการรักษาด้วยวิถีชีวจิตจะช่วยบรรเทาอาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อมได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดบางครั้งก็มีผลข้างเคียงกับอาการปวดหลังได้ แต่ในกรณีที่กระดูก หรือกระดูกสันหลังตีบจนส่งผลต่อเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนผู้ป่วยไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้สะดวก ก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ยกเว้นแต่กรณีที่มีแนวโน้มว่าปัญหาทางระบบประสาทจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการดีขึ้นหลังการรักษาด้วยยา และทำกายภาพบำบัด วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดจึงขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ทั้งนี้โรคกระดูกเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน จำเป็นต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/312598

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervical-spondylosis/symptoms-causes/syc-20370787

  • https://www.webmd.com/osteoarthritis/cervical-osteoarthritis-cervical-spondylosis


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
กระเพาะทะลุ

กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.