ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา ประเภท

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ การติดเชื้อในโพรงไซนัสนำมาสู่การอักเสบ และการอักเสบนี้เรียกว่า ไซนัสอักเสบ  โรคไซนัสอักเสบประมาณกันว่าประชากรทั่วไป 1 ใน 8 คน จะเป็นไซนัสอักเสบในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต  อุบัติการของการเกิดไซนัสอักเสบ   มีแนวโน้มที่เกิดมากขึ้นในฤดูกาลที่มีคนเป็นไข้หวัดหรือมีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินหายใจมาก ไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ใหญ่ที่เกิดตามหลังไข้หวัดพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-2 และในเด็กพบได้ประมาณร้อยละ 5-10 สำหรับไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้น ในกลุ่มประชากรทั่วไปพบไซนัสอักเสบเรื้อรังประมาณร้อยละ 1.2-6  ไซนัสนั้นคือ โพรงอากาศเล็กๆ ภายใต้หน้าผาก จมูก โหนกแก้ม และระหว่างดวงตา ไซนัสผลิตเมือกและคอยไหลวเวียน เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคนำออกจากร่างกาย เป็นการป้องกันร่างกายอย่างหนึ่ง บางครั้งแบคทีเรียหรือสารก่อภูมิแพ้อาจทำให้เกิดเมือกมากเกินไปซึ่งก่อให้เกิดการการอุดตันของรูจมูกได้ เมือกที่มากเกินไปเป็นเรื่องปกติในกรณีที่เป็นหวัดหรือเกิดอาการแพ้ เมือกนี้สามารถเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้แบคทีเรียและเชื้อโรคอื่น ๆ เพิ่มจำนวนในโพรงไซนัส ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การติดเชื้อไซนัสส่วนใหญ่เป็นไวรัสและสามารถหายได้ใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา แต่หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นในเวลาดังกล่าวคุณควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไซนัสอักเสบ

ภาพรวมของไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบนั้นสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยส่วนมากสามารถดีขึ้นและหายเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ อย่างไรก็ตามหากมีอาการไซนัสอักเสบแบบเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หากไม่ได้รับการรักษา ไซนัสอักเสบอาจนำมาซึ่งอาการเหล่านี้ได้แก่:
  • ฝี หนองในโพรงไซนัส
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อทำให้สมองและไขสันหลังถูกทำลายได้
  • เนื้อเยื่อรอบดวงตาอักเสบ
  • กระดูกอักเสบ

ประเภทของไซนัสอักเสบ

อาการไซนัสอักเสบสามารถปรากฏได้นานถึง 4 สัปดาห์ โดยภูมิแพ้อากาศก็เป็นความเสี่ยงในการเกิดไซนัสอักเสบเฉียบพลันได้เช่นกัน

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง

ไซนัสอักเสบเรื้อรังจะปรากฏยาวนานมากกว่า 3 เดือน มักจะไม่มีความรุนแรง และการติดเชื้อจากแบคทีเรียนั้นทำให้เกิดไซนัสประเภทนี้ โดยที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้นสามารถเกิดจากอาการภูมิแพ้ถาวรหรือโครงสร้างโพรงไซนัสที่ผิดปกติ

ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน

ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน สามารถเกิดอาการได้ยาวนานถึง 3 เดือน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดได้แก่การติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือภูมิแพ้อากาศ

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

ไซนัสอักเสบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ การติดเชื้อจากไวรัสนำมาสู่อาการหวัด โดยจะปรากฏอาการในช่วง 1-2 สัปดาห์ ส่วนในกรณีที่ติดเชื้อจากแบคทีเรีย

อาการไซนัสอักเสบ

อาการโรคไซนัสอักเสบนั้นคล้ายคลึงกับโรคหวัด โดยมีอาการดังนี้:
  • ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง
  • มีไข้
  • คัดจมูก
  • ปวดศีรษะ(headache)จากความดันในโพรงไซนัส
  • เมื่อยล้า
  • ไอ(cough)
ในการตรวจพบอาการของโรคไซนัสในเด็กเป็นการยากสำหรับพ่อแม่ แต่สามารถสังเกตได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้:
  • มีไข้หรืออาการภูมิแพ้ไม่ดีขึ้นภายใน 14 วัน
  • อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 39°C
  • มีน้ำมูกปริมาณมาก
  • ไอนานมากกว่า 10 วัน
อาการแบบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลันและเรื้อรังนั้นคล้ายคึงกันมาก แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของไซนัสอักเสบและระยะเวลาการเกิดนั้นสามารถผันแปรได้หลากหลาย

ความเสี่ยงที่จะเป็นไซนัสอักเสบ

ใครๆ ก็สามารถที่จะเป็นไซนัสอักเสบได้ อย่างไรก็ตามในบางปัญหาสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงสามารถเพิ่มโอกาสการเป็นไซนัสอักเสบได้ ได้แก่:
  • ผนังของเนื้อเยื่อระหว่างรูจมูกด้านขวาและซ้ายเบี่ยงเบนไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • กระดูกงอกในจมูก
  • มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้
  • สัมผัสกับเชื้อรา
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • การสูบบุหรี่
  • การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • มีเสมหะข้นในปอด ทำให้เกิดเมือกหนาในปอดและเยื่อบุผิวเยื่อเมือกอื่น ๆ
  • การติดเชื้อในช่องปาก
  • การสัมผัสกับเชื้อโรคที่มีความเข้มข้นสูง ระหว่างเดินทางผ่านสายการบิน

การวินิฉัยไซนัสอักเสบ

ในการวินิจฉัยไซนัสอักเสบ แพทย์ของคุณจะสอบถามอาการและตรวจสอบร่างกาย เขาอาจจะตรวจสอบความดันและกดจุดบนใบหน้าและแก้ม และสำรวจจมูกเพื่อดูสัญญาณของการอักเสบ ส่วนมากแพทย์จะสามารถวินิจฉัยว่าไซนัสอักเสบเกิดจากอะไรได้จากอาการของผู้ป่วยและผลการตรวจสอบทางร่างกาย อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง แพทย์จะแนะนำให้ทำการฉายภาพเพื่อตรวจสอบโพรงจมูกและไซนัส ในการทดสอบนี้สามารถตรวจสอบการคั่งของน้ำเมือกและโครงสร้างที่ผิดปกติได้ อย่างเช่นติ่งในโพรงจมูก การใช้ซีทีสแกน (CT scan) จะให้ภาพ 3 มิติ ของโพรงไซนัส ส่วนเอ็มอาร์ไอ MRI นั้นจะใช้คลื่นแม่เหล็กในการทำให้เห็นภาพโครงสร้างภายในของไซนัส แพทย์อาจจะทำการส่องดูโพรงจมูกด้วยอุปกรณ์ที่สามารถทำให้เห็ด้านในโพรงจมูกและไซนัส โดยตัวอย่างที่ได้รับระหว่างการส่องกล้องสามารถนำไปตรวจสอบการติดเชื้อได้ การวินิจฉัยอื่นๆ ได้แก่ การทดสอบภูมิแพ้ การทดสอบเลือดเพื่อหาความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน อย่างเช่น HIV

การรักษาไซนัสอักเสบ

การบรรเทาอาการคัดจมูก

การคัดจมูกเป็นอาการโดยทั่วไปของไซนัสอักเสบ ในการลดความเจ็บปวดโพรงจมูก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ บนใบหน้าและหน้าผากวันละหลายครั้ง การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อช่วยล้างเมือกเหนียวออกจากจมูก ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้เพื่อคงความชุ่มชื้นและทำให้เมือกในโพรงไซนัสเบาบางลง รวมถึงการใช้ยารักษาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปร่วมด้วยอย่าง Guaifenesin ที่ทำให้เมือกนั้นน้อยลง เพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศอย่างเช่นห้องนอน หรือการเปิดฝักบัวในห้องน้ำและปิดประตูเพื่อให้เกิดไอน้ำในระหว่างที่คุณอยู่ในห้องน้ำ การใช้สเปรย์ซอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับโพรงจมูก โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ในการรักษา

การบรรเทาอาการเจ็บปวด

การติดเชื้อในไซนัสอาจทำให้ปวดศีรษะไซนัสหรือความดันในหน้าผากและแก้ม ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไปสามารถช่วยลดอาการปวดลงได้ เช่น Acetaminophen และ Ibuprofen เป็นต้น

ยารักษาไซนัสอักเสบแบบปฎิชีวินะ

ถ้าอาการไซนัสอักเสบไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ บ่งบอกว่าคุณติดเชื้อจากแบคทีเรีย และควรไปพบแพทย์ คุณอาจจะต้องการการให้ยาปฎิชีวนะ ถ้าคุณมีอาการไซนัสอักเสบไม่ดีขึ้นภายใน 2 -3 สัปดาห์ โดยอาการประกอบไปด้วย มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ ปวดใบหน้า ปวดหัว โพรงจมูกอักเสบ ตาบวม หรือมีไข้ ถ้าคุณได้รับยาปฏิชีวนะ คุณจะต้องรับประทานยา 3 – 14 วัน โดยขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา โปรดอย่าหยุดรับประทานยาก่อนกำหนด เพราะจะทำให้การรักษาไม่สมบูรณ์ แพทย์จะทำการนัดพบเพื่อตรวจติดตามอาการเป็นระยะ จนกว่าอาการไซนัสอักเสบของคุณจะดีขึ้น แพทย์อาจจะมีการทดสอบภูมิแพ้ร่วมด้วยเพื่อหาสิ่งที่ชักนำให้เกิดอาการไซนัสอักเสบ

การผ่าตัด

การผ่าตัดเพื่อเคลียร์ไซนัส เช่น กระดูกงอกในจมูก วิธีนี้จะใช้ในเมื่ออาการไซนัสอักเสบไม่บรรเทาลงและยังคงเรื้อรัง

การป้องกันโรคไซนัสอักเสบ

เนื่องจากอาการไซนัสอักเสบสามารถพัฒนาต่อได้หลังจากเกิดอาการไข้หวัดหรืออาการภูมิแพ้ ดังนั้นการมีสุขภาพที่ดีและการลดการสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารก่อภูมิแพ้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ เพื่อลดความเสี่ยงสิ่งที่ควรทำมีดังนี้:
  • รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี 
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผลไม้และผัก
  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ
  • ลดการสัมผัสกับ สารเคมี ละอองเกสร และสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ
  • ใช้ยา Antihistamine บรรเทาโรคภูมิแพ้และหวัด(common cold)
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

วิธีรักษาแบบธรรมชาติง่ายๆ  

1. ทำให้ใบหน้าของคุณร้อนขึ้น 

หนึ่งในวิธีแก้ไขที่บ้านที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับการติดเชื้อไซนัสคือการทำให้โพรงไซนัสของคุณอุ่นขึ้นและชุ่มชื้น การสูดดมไอน้ำช่วยบรรเทาเนื้อเยื่อไซนัสและช่วยให้คุณรู้สึกโล่งขึ้นเล็กน้อย คุณสามารถยืนอาบน้ำหรือนั่งในห้องน้ำในขณะที่ฝักบัวกำลังทำงาน คุณยังสามารถวางผ้าขนหนูอุ่นๆ ไว้บนจมูกและแก้มขณะนอนบนเตียง สำหรับการบำบัดด้วยไอน้ำที่ได้ผลที่สุด ให้ต้มน้ำในหม้อแล้วยกลงจากเตา กางผ้าขนหนูคลุมศีรษะแล้วก้มตัวเหนือหม้อเพื่อสูดไอน้ำคุณอาจเติมน้ำมันหอมระเหยหนึ่งหรือสองหยด น้ำมันยูคาลิปตัสสามารถช่วยเปิดจมูกให้โล่งได้ น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์หรือน้ำมันหอมระเหยจากดอกคาโมมายล์ จะทำให้คุณรู้สึกสงบ

2. ล้างไซนัสของคุณเพื่อช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อไซนัส

การล้างจมูกเป็นวิธีการใช้น้ำเกลือเพื่อบีบเอาเชื้อโรคและเสมหะที่อุดอยู่ในโพรงไซนัสออก คำศัพท์อื่นๆ สำหรับสิ่งนี้ ได้แก่ การล้างจมูก การสวนล้างจมูก ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าสิ่งสำคัญคือต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว (คุณสามารถฆ่าเชื้อน้ำประปาด้วยตัวคุณเองโดยการต้มเป็นเวลา 3 ถึง 5 นาที จากนั้นทำให้เย็นลง) เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่หายากในการนำปรสิตเข้าสู่ทางเดินไซนัสของคุณ

3. โยคะสามารถช่วยระบายเสมหะจากทางเดินไซนัส

ท่าโยคะที่รองรับโดยที่ศีรษะของคุณยกขึ้นจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นโดยไม่ต้องกดดันไซนัสมากเกินไป   ที่เกี่ยวข้อง: ประโยชน์ของโยคะ

4. พิจารณาใช้อาหารเสริม เช่น เอนไซม์โบรมีเลน

Bromelain เป็นส่วนผสมของเอนไซม์ที่พบใน ต้น สับปะรดที่ขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Bromelain เชื่อว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมการอักเสบ การศึกษาแบบ double-blind จำนวนน้อยพบว่าโบรมีเลนทำให้อาการไซนัสดีขึ้นมากกว่ายาหลอก

5. กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น

ผักและผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ เช่น เควอซิทิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบจากพืชธรรมชาติที่พบในทุกสิ่ง ตั้งแต่หัวหอม แอปเปิ้ล ไปจนถึงชาเขียวและไวน์แดง เช่นเดียวกับส่วนผสมจากพืชหลายชนิด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สำหรับปัญหาไซนัส ยังพบว่าเควอซิทินช่วยรักษาเสถียรภาพของเซลล์ในร่างกายที่ปล่อยฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่กระตุ้นการหลั่งเสมหะในไซนัส

6. การดื่มของเหลวช่วยลดอาการปวดไซนัสและคลายความแออัด

การให้ความชุ่มชื้นช่วยให้ไซนัสของคุณชุ่มชื้น คุณจึงรู้สึกดีขึ้น และยังช่วยลดความหนาของเสมหะไซนัสเพื่อให้ไหลออกมาได้ง่ายขึ้น  “ทุกคนมีความผิดหากดื่มน้ำไม่เพียงพอ” เราจึงแนะนำให้ผู้คนดื่มน้ำ 6-8 แก้วทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ 

7. กำจัดผลิตภัณฑ์นม

เคซีนและเวย์โปรตีนในผลิตภัณฑ์นมอาจทำให้เกิดอาการแพ้และการผลิตเสมหะ มากเกินไป ในบางคน หากคุณมีอาการไซนัสอักเสบซ้ำ ให้ลองงดนมทั้งหมดเพื่อดูว่ามีความแตกต่างหรือไม่ ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมรสอร่อย เช่น นมอัลมอนด์  และผลิตภัณฑ์จากนมข้าวโอ๊ตมีจำหน่ายทั่วไป  

จะบอกได้อย่างไรว่าวิธีการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล

คุณจะรู้ว่าการรักษาเหล่านี้ได้ผลหรือไม่เพราะคุณจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นและไซนัสของคุณก็จะคัดจมูกน้อยลง อย่างไรก็ตาม ไม่เหมือนกับยาปฏิชีวนะที่อาการต่างๆ จะค่อยๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว การรักษาแบบธรรมชาติมักจะใช้เวลานานกว่าในการทำงาน ดังนั้นคุณควรดำเนินการแก้ไขเหล่านี้เป็นประจำอย่างน้อยหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนที่จะตัดสินว่าได้ผลหรือไม่

นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/allergies/sinusitis-and-sinus-infection
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-sinusitis/symptoms-causes/syc-20351661
  • https://www.nhs.uk/conditions/sinusitis-sinus-infection/
  • https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/ears-nose-and-throat/sinusitis

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด