• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home หาโรค

โรคตึกเป็นพิษ (Sick Building Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)
06/03/2021
in หาโรค
0
โรคตึกเป็นพิษ
0
SHARES
14
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • โรคตึกเป็นพิษ
  • อาการของโรคตึกเป็นพิษ
  • สาเหตุของโรคตึกเป็นพิษ
  • การวินิจฉัยโรคตึกเป็นพิษ
  • การรักษาโรคตึกเป็นพิษ
  • บทสรุปของโรคตึกเป็นพิษ
  • โรคตึกเป็นพิษป้องกันได้หรือไม่
Rate this post

โรคตึกเป็นพิษ

Sick building syndrome (SBS) คือชื่อของภาวะที่คิดว่าเกิดจากการอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ปิดล้อมประเภทอื่น ๆ สาเหตุมาจากมีคุณภาพอากาศภายในอาคารไม่ดี อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จากข้อมูลของ Consumer Product Safety Commission พบว่าคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่ดีสามารถพบได้ในอาคารใหม่และอาคารที่ปรับปรุงใหม่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

บางครั้งการวินิจฉัย SBS เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากโรคนี้มีกลุ่มอาการที่หลากหลาย และสามารถเลียนแบบโรคอื่นๆ ได้  เช่น โรคไข้หวัดธรรมดา ข้อสังเกตที่สำคัญของ SBS คืออาการของคุณจะดีขึ้นหลังจากออกจากอาคารที่มีปัญหา และจะกลับมาเป็นได้อีกเมื่อคุณกลับเข้าไปที่อาคารเดิมเท่านั้น หากคุณสังเกตพบอาการที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ นี้ ปรากฏขึ้นเมื่อใดก็ตามที่คุณอยู่ในอาคารใดอาคารหนึ่ง คุณควรต้องพิจารณาหาสาเหตุที่ทำให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคุณ

อาการของโรคตึกเป็นพิษ

โรค SBS จะแสดงอาการที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ และระบบประสาท ซึ่งอาจจะทำให้คุณเข้าใจผิดว่า คุณกำล้งเป็นหวัดหรือเป็นไข้

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • ระคายคอ

  • หายใจไม่ออก

  • แน่นหน้าอก

  • น้ำมูกไหล 

  • มีอาการเหมือนโรคภูมิแพ้ เช่น จาม เป็นต้น

  • แสบจมูก

  • มีผิวแห้ง และเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง

  • ปวดศีรษะ

  • วิงเวียนศีรษะ

  • ไม่มีสมาธิ

  • หลงๆ ลืมๆ

  • อ่อนเพลีย

  • หงุดหงิด

  • คลื่นไส้ 

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

  • เป็นไข้ 

  • หนาวสั่น

หากคุณเป็นภูมิแพ้หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว จะสังเกตเห็นว่า อาการของคุณจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคเพิ่มขึ้นขึ้นเนื่องจากโรคตึกเป็นพิษนี้

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ไว้คือ โรคตึกเป็นพิษที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน เช่น ในพื้นที่เดียวกันมีหลายคนที่อาศัยอยู่ บางคนอาจจะมีอาการบางอย่างที่ได้แจ้งไว้ข้างต้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ เลย หรือบางคนอาจมีอาการหลังจากที่ออกจากอาคารเจ้าปัญหานั้นไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการอยู่ในอาคารเดิมซ้ำๆ หรือการอยู่เป็นเวลานานก็ได้

สาเหตุของโรคตึกเป็นพิษ

คำว่า “โรคตึกเป็นพิษ” จะใช้ก็ต่อเมื่อ แพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้กับคุณได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีสาเหตุมากมายที่อาจเป็นไปได้ของการเกิดโรคนี้  ซึ่งคุณสามารถถามแพทย์ถึงสาเหตุเหล่านี้ได้

สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังโรคตึกเป็นพิษ อาจจะมีดังนี้

  • อาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น โรงเรียน สำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ

  • ฝุ่นละอองในระดับสูง

  • ควันบุหรี่

  • ห้องที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

  • จอคอมพิวเตอร์ที่ล้าสมัย ทำให้ปวดตา

  • เชื้อรา

  • ฟอร์มาลดีไฮด์ (ส่วนใหญ่พบในเฟอร์นิเจอร์ไม้และพื้น)

  • ใยหิน

  • สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ลอยอยู่ในอากาศ

  • สารกำจัดศัตรูพืช

  • คาร์บอนมอนนอกไซด์

  • โอโซนจากการใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องส่งโทรสาร (Fax)

  • ความเครียดระดับสูงจากที่ทำงานหรือโรงเรียน

  • ขวัญและกำลังใจในการทำงานต่ำ

  • ความร้อนและความชื้นต่ำ

  • สภาพแวดล้อมที่ทำงานที่มีเสียงดัง

  • แมลงหรือมูลสัตว์

โรคตึกเป็นพิษนี้เกิดเนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ จึงเป็นการยากที่จะปักหมุดได้ว่าเกิดได้จากสาเหตุนั้นสาเหตุนี้เพียงอย่างเดียว คุณอาจต้องร่วมมือกับนายจ้างเพื่อสืบเสาะหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ ซึ่งด้วยวิธีนี้ คุณอาจจะพบต้นตอของปัญหา

การวินิจฉัยโรคตึกเป็นพิษ

การวินิจฉัยโรคตึกเป็นพิษ จะเป็นขบวนการที่ตัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องของการก่อโรคออกไป ซึ่งแพทย์อาจจะทำการตัดภาวะเลียนแบบของโรคตึกเป็นพิษออกไป เช่น หวัด หอบหืด หรือโรคภูมิแพ้ โดยอาจสอบถามถึงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานหรือที่บ้านของคุณเพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย

คุณอาจทำการจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้น เช่น เกิดอาการขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเกิดอาการอยู่นานเพียงใด โดยบันทึกเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การรักษาโรคตึกเป็นพิษ

โรคตึกเป็นพิษ โดยทั่วไปจะรักษาด้วยการบรรเทาอาการจากการลดสัมผัสกับต้นตอที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรค

ยารักษาโรคภูมิแพ้สามารถช่วยบรรเทาอาการคันตา คันจมูก และคันผิวหนังได้ มียาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น Benadryl และ Zyrtec หรืออาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคหอบหืดเพื่อช่วยหากในกรณีที่หายใจไม่ออกและหายใจลำบาก และอาจรวมถึงการใช้ยาในระยะยาว เช่น สารปรับแต่ง leukotriene หรือยาพ่นจมูกหากมีอาการเฉียบพลัน

บางอย่างที่อาจจะรักษาโรคตึกเป็นพิษได้ คุณหรือนายจ้างอาจต้องทำตามขึ้นตอน ดังนี้

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีควันน้อยและไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม
  • ดูดฝุ่นเพื่อกำจัดฝุ่นเป็นประจำ
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก 2-3 เดือน (หรือมากกว่านั้นถ้าจำเป็น)
  • ปรับความชื้นที่เหมาะสม – NHS Choices แนะนำระดับความชื้นที่เหมาะสมคือ 40- 70 เปอร์เซ็นต์
  • ตรวจหาเชื้อราในอาคาร
  • เลือกใช้จอคอมพิวเตอร์และระบบแสดงผลรุ่นใหม่ๆ
  • เปลี่ยนหลอดไฟ หากมีความจำเป็น
  • พิจารณาหันมาใช้หลอดไฟ LED หรือหลอดไฟสีน้ำเงินเพื่อให้ได้พลังงานน้อยลง
Sick Building Syndrome

บทสรุปของโรคตึกเป็นพิษ

อาการของโรคตึกเป็นพิษส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อคุณออกจากตัวอาคารที่มีปัญหา อาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะดีขึ้นเมื่อไม่ได้อยู่หรือสัมผัสกับต้นตอของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หรือเมื่อสิ่งที่เป็นอันตรายภายในอาคารถูกกำจัดออกไป ในบางกรณีการอยู่ในที่คุณภาพอากาศภายในอาคารไม่ดีเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดได้ เช่นโรคหอบหืด เป็นต้น

โรคตึกเป็นพิษป้องกันได้หรือไม่

น่าเสียดายที่คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าภายในพื้นที่ที่คุณอยู่มีปัจจัยอะไรที่ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลงจนทำให้คุณป่วยได้หรือไม่ ไม่เป็นไร ยังมีมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคตึกเป็นพิษได้

คุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตึกเป็นพิษ ด้วยวิธีการดังนี้

  • ออกมาพักเบรคภายนอกอาคารเป็นประจำ เช่น การรับประทานอาหารนอกอาคาร เป็นต้น

  • เปิดหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ (ควรทำเมื่ออาการภายนอกไม่มีฝุ่นละอองในระดับที่สูง)

  • หยุดพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ

  • เปลี่ยนอิริยาบทโดยการยืนขึ้นข้างๆ โต๊ะทำงาน หรือเดินรอบๆ บริเวณสำนักงาน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีในที่ทำงาน เช่น สารฟอกขาว และสารฆ่าแมลง


นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2796751/

  • https://www.nhs.uk/conditions/sick-building-syndrome/

  • https://www.webmd.com/men/features/sick-building-syndrome


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

นิตยา สุทธิกุล คือทีมผู้เขียนของทีม Bupa Active Blog จากจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณนิตตยา คือผู้เขียนบทความทางการแพทย์ คุณนิตยามีความสนใจทางการแพทย์และหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดที่บ้านอยู่ตลอดเวลา

Next Post
โรคอะโครเมกาลี

โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.