ไหล่หลุด (Shoulder Dislocation) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการไหล่หลุด

อาการเจ็บไหล่ที่ไม่สามารถอธิบายได้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆปัจจัย ภาวะไหล่หลุด (Shoulder Dislocation) ในบางรายอาจชี้เฉพาะว่าเป็นภาวะไหล่หลุดได้ง่ายๆเพียงแค่ส่องกระจกดูเท่านั้น  เพราะรูปร่างของไหล่จะผิดแปลกไป อาจเกิดก้อนปูดนูนที่ไม่สามารถอธิบายได้ ส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะนี้มักจะมีอาการที่สามารถชี้ชัดได้อย่างชัดเจน เช่นมีการบวมและเจ็บปวดอย่างรุนแรง ภาวะไหล่หลุดอาจเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหดเกร็ง หากยิ่งไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้ความเจ็บปวดก็จะยิ่งแย่มากขึ้น อาการปวดจะขึ้นลงไล่ไปทั้งแขน  โดยเริ่มจากหัวไหล่และไล่ขึ้นไปส่วนคอด้านบน Shoulder Dislocation

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

หากพบว่ามีอาการไหล่หลุด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อป้องกันอาการปวดและบาดเจ็บในระยะยาว ในระหว่างรอพบแพทย์ ไม่ควรพยายามเคลื่อนหัวไหล่กลับคืนตำแหน่งเดิมด้วยตัวเองหากคุณพยายามจะทำเช่นนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท เอ็น เส้นเลือดและกล้ามเนื้อในบริเวณรอบหัวไหล่ได้  ควรประคองแขนโดยใช้ที่คล้องแขนเพื่อลดการเคลื่อนไหวให้มากที่สุดก่อนจะถึงมือแพทย์ การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งจะสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมลงได้ และยังช่วยควบคุมเลือดที่ไหลด้านในหรือของเหลวที่มาสะสมรอบๆข้อต่อได้ดีอีกด้วย

วิธีวินิจฉัยโรคหัวไหล่หลุด

สิ่งที่แพทย์จะสอบถามเพิ่มเติมคือ:
  • สาเหตุที่ทำให้หัวไหล่หลุด
  • ระยะเวลาที่หัวไหล่หลุด
  • มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยไหม
  • เคยเป็นมาก่อนหรือไม่
การรู้แน่ชัดถึงต้นเหตุที่แน่ชัดของอาการไหล่หลุด เช่นเกิดจากการล้ม การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุอื่นๆก็จะสามารถช่วยทำให้แพทย์เข้าถึงอาการบาดเจ็บและทำการรักษาอาการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น แพทย์จะตรวจเช็คว่าคุณสามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้มากน้อยแค่ไหน และทดสอบอาการเจ็บและชาว่าแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหนในการเคลื่อนไหว รวมไปถึงจังหวะการเต้นของหัวใจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการบาดเจ็บของหลอดเลือดเพิ่มเติมเข้ามา ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์ การเอกซเรย์จะแสดงให้เห็นรายละเอียดว่ามีอาการบาดเจ็บของข้อต่อหัวไหล่หรือมีกระดูกแตกหักด้วยหรือไม่ซึ่งอาจกลายเป็นโรคไหล่หลุดที่ไม่ปกติ

ทางเลือกในการรักษา

หลังจากที่แพทย์ตรวจสอบอย่างละเอียดดีแล้ว แพทย์ก็จะเริ่มทำการรักษา ในขั้นแรกคือการพยายามนำหัวไหล่กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อน

การจัดกระดูกจากภายนอก

แพทย์จะทำการดันหัวไหล่ของคุณกลับเข้าที่ โดยอาจมีการจ่ายยานอนหลับแบบอ่อนๆหรือยาคล้ายกล้ามเนื้อล่วงหน้าเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และหลังจากการเอาไหล่กลับคืนตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วแพทย์จะทำการเอกซเรย์อีกครั้งเพื่อความแน่ใจ ทันทีที่ไหล่กลับเข้าที่ความเจ็บปวดก็จะบรรเทาลง

การตรึงอวัยวะ

ทันทีหลังจากหัวไหล่ถูกจัดให้เข้าที่แล้ว แพทย์จะใส่ที่คล้องแขนให้กับผู้ป่วยเพื่อลดการเคลื่อนไหวของแขนและข้อไหล่ ซึ่งใช้เวลามากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงสามสัปดาห์

การใช้ยา

หลังการรักษาคุณอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการปวด แพทย์จะจ่ายยาไอบูโรเฟน(Motrin) หรือ อะเซตามีโนเฟน (Tylenol) ซึ่งคุณเองสามารถใช้การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งเพื่อช่วยลดอาการปวดและบวมได้อีกทางด้วย หากแพทย์พบว่าคุณอาจมีความจำเป็นต้องการยาที่แรงขึ้นกว่าเดิม แพทย์อาจสั่งจ่ายยาประเภทไฮโดรโคโดน หรือทรามาดอล ให้เพิ่มเติม

การผ่าตัด

ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัด  ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหากการรักษาด้วยวิธีการจัดกระดูกจากภายนอกไม่ได้ผลหรือหากเกิดความเสียหายของเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ด้านใน แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแต่อาการไหล่หลุดบางครั้งก็อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือด รวมไปถึงเส้นเลือดหลักๆได้ ในกรณีดังกล่าวจำต้องทำการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน 

การฟื้นฟู

การฟื้นฟูทางกายภาพจะสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและช่วยให้การเคลื่อนไหวของคุณดีขึ้น การบำบัดโดยทั่วๆไปสามารถปรึกษาหาข้อมูลคำแนะนำได้จากศูนยกายภาพใกล้บ้านคุณ รูปแบบและระยะเวลาของการบำบัดขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บว่าเป็นมากน้อยแค่ไหน อาจต้องพบแพทย์สองสามวันต่อสัปดาห์เป็นเวลานานอาจมากกว่า1เดือนขึ้นไป  นักกายภาพอาจให้คำแนะนำท่าออกกำลังให้คุณกลับไปปฏิบัติเองที่บ้านได้ ซึ่งต้องแน่ใจว่าท่าทางดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดการหลุดซ้ำ หรือท่าที่แนะนำอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบการไหล่หลุดที่แตกต่างกันไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทำตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด คุณไม่ใช่ผู้เชียวชาญทางด้านการกีฬาดังนั้นก่อนทำกิจกรรมใดๆที่สุ่มเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่ามีความปลอดภัยมากพอ เพราะบางกิจกรรมอาจทำให้เกิดไหล่หลุดซ้ำอีกครั้งได้

การดูแลตนเองที่บ้าน

  • คุณอาจใช้วิธีประคบเย็นด้วยน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม โดยประคบที่บริเวณหัวไหล่ประมาณ15ถึง20นาทีในทุก2ชั่วโมงในช่วง2วันแรก
  • ลองประคบร้อนบริเวณหัวไหล่ ความร้อนจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ใช้วิธีประคบร้อนประมาณ20นาทีได้บ่อยครั้งเท่าที่คุณรู้สึกสบาย
  • ช่วยพยุงแขนที่บาดเจ็บเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวต่อไป คุณสามารถใช้สลิงได้ (ถ้ามี) หรือจะใช้ผ้าเพื่อยึดแขนไว้กับตัวก็ได้
  • การจัดการความเจ็บปวด ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟน อาจช่วยบรรเทาอาการไม่สบายได้ ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาที่แนะนำ
  • การประคบน้ำแข็งด้วยผ้าบนบริเวณที่บาดเจ็บเป็นเวลาประมาณ 15-20 นาทีทุกๆ สองสามชั่วโมงใน 48 ชั่วโมงแรกสามารถช่วยลดอาการบวมและปวดได้ อย่าลืมวางผ้าไว้ระหว่างถุงน้ำแข็งกับผิวหนังของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบวมเป็นน้ำเหลือง
  • พักผ่อน หลีกเลี่ยงการใช้แขนที่บาดเจ็บให้มากที่สุด การเคลื่อนไหวอาจทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลงและเพิ่มความเจ็บปวดได้
  • ดื่มน้ำและทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับน้ำเพียงพอและรักษาอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อช่วยในกระบวนการบำบัด
  • การยกแขนขึ้นบนหมอนขณะนอนราบสามารถช่วยลดอาการบวมได้
  • ไปพบแพทย์ แม้ว่ามาตรการในบ้านเหล่านี้อาจช่วยได้ชั่วคราว แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การเคลื่อนของไหล่ต้องได้รับการประเมินอย่างเหมาะสมและอาจต้องเปลี่ยนตำแหน่ง (ลดลง) โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาจะหายดีและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

การเฝ้าติดตาม

อาการไหล่หลุดใช้ระยะเวลาในการหายสนิทนานประมาณ12ถึง16สัปดาห์ หลังจากไหล่หลุด2สัปดาห์คุณเริ่มกลับไปทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ แต่ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพอย่างเคร่งครัด หากเป้าหมายของคุณคือการกลับไปเล่นกีฬา ทำสวนหรือกิจกรรมอื่นๆที่ต้องยกของหนักๆควรให้แพทย์วางแผนในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวซ้ำในอนาคต ส่วนใหญ่แล้วอาการไหล่หลุดจะใช้ระยะเวลาประมาณ6สัปดาห์ไปจนถึง3เดือนก่อนที่คุณจะกลับมาทำกิจกรรมหนักๆได้อีกครั้ง หากเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องทำอาจต้องพักหรือเลิกถาวร ลองปรึกษาถึงทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณ ด้วยการดูแลที่เหมาะสม การไหล่หลุดอาจจะแก้ไขได้และทำให้คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างที่เคยเป็น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/dislocated-shoulder/
  • https://medlineplus.gov/dislocatedshoulder.html
  • https://www.health.harvard.edu/a_to_z/shoulder-dislocation-a-to-z

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด