• ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
  • Login
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
No Result
View All Result
Bupa Active Blog
No Result
View All Result
Home จิตวิทยา

ช็อก (Shock) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

by แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์
04/12/2020
in จิตวิทยา, หาโรค
0
0
SHARES
240
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter
สารบัญ
  • สัญญาณ และอาการช็อก
  • สาเหตุของการช็อก
  • ประเภทหลักๆ ของการช็อก
  • วิธีการรักษาอาการช็อก
4.7 / 5 ( 22 votes )

ภาวะช็อก (Shock) คือ การช็อคทางจิตวิทยา หรือทางสรีรวิทยา (ร่างกาย)

อาการช็อกทางจิตเกิดเมื่อได้พบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ หรือเรียกว่าทำให้เกิดความเครียดเฉียบพลัน สิ่งนี้ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรง และอาจทำให้เกิดการตอบสนองทางร่างกายได้เช่นกัน

บทความนี้เกี่ยวกับสาเหตุหลายประการของการช็อกทางสรีรวิทยา

ร่างกายจะเกิดอาการช็อก เมื่อคุณมีเลือดไหลเวียนในระบบไม่เพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง

หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ภาวะช็อกสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของอวัยวะสำคัญ และอันตรายถึงชีวิตได้

การช็อกแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก

  • ช็อกแบบ obstructive shock
  • ช็อกแบบ cardiogenic shock
  • ช็อกแบบ distributive shock
  • ช็อกแบบ hypovolemic shock

ไม่ว่าจะเป็นการช็อกแบบใด สามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ และหากมีอาการช็อกต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยทันที

สัญญาณ และอาการช็อก

คนที่มีอาการช็อกจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ชีพจรเร็วอ่อนแอ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หายใจเร็วและตื้น
  • เวียนศีรษะ
  • ผิวเย็นและชื้น
  • รูม่านตาขยาย
  • ตามัว
  • เจ็บหน้าอก
  • คลื่นไส้
  • มึนงง
  • วิตกกังวล
  • ปัสสาวะลดลง
  • กระหายน้ำ และปากแห้ง
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • เป็นลม หมดสติ

สาเหตุของการช็อก

สิ่งใดก็ตามที่มีผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกายก็สามารถทำให้ช็อกได้ สาเหตุของการช็อก ได้แก่

  • อาการแพ้อย่างรุนแรง
  • การสูญเสียเลือดอย่างหนัก
  • หัวใจล้มเหลว
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • สูญเสียน้ำ
  • เป็นพิษ
  • แผลไฟไหม้

ประเภทหลักๆ ของการช็อก

การช็อกแบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้

  • ภาวะช็อกจากปริมาตรของเลือดลดลง 
    • การตกเลือด เช่น เลือดออกจากบาดแผลหรือกระดูกหัก ตกเลือดหลังคลอดหรือแท้งบุตร อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ไข้เลือดออก เลือดออกในช่องปอดหรือช่องท้อง ครรภ์นอกมดลูก
    • การสูญเสียน้ำออกภายนอก เช่น ท้องเดินรุนแรง อาเจียนรุนแรง การใช้ยาขับปัสสาวะมากเกินไป ภาวะคีโตแอซิโดซิสหรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน เบาจืด บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
    • การสูญเสียน้ำอยู่ภายในร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก กระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภาวะท้องมาน
  • ภาวะช็อกจากความผิดปกติของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจพิการ ลิ้นหัสใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ภาวะช็อกจากภาวะอุดกั้นนอกหัวใจ อาจมีสาเหตุจากภาวะหัวใจถูกบีบรัด ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดอย่างรุนแรง ภาวะปอดทะลุชนิดรุนแรง
  • ภาวะช็อกจากปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว อาจมีสาเหตุจาก
    • การแพ้ที่รุนแรง เรียกว่า ภาวะช็อกจากากรแพ้ เช่น แพ้ยาที่พบบ่อยคือเพนิซิลลิน ยาชา เซรุ่มที่ผลิตจากสัตว์ จากพิษแมลง เช่น ผึ้ง ต่อ มด จากอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ไข่ เป็นต้น
    • ความผิดปกติของระบบประสาท เรียกว่า ภาวะช็อกจากระบบประสาท ที่สำคัญได้แก่ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
    • โรคติดเชื้อ เรียกว่า ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อ เช่น โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ ไทฟอยด์ ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ กรวยไตอักเสบ เยื่อบุมดลูกอักเสบจากการทำแท้ง เป็นต้น พิษของเชื้อโรคจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีหลายชนิด ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของหัวใจและเลือดออกง่ายทำให้ร่างกายสูญเสียเลือด ดังนั้น ภาวะช็อกจากโรคติดเชื้อจึงอาจเกิดจากกลไกหลายอย่างร่วมกัน

ผู้ที่มีความต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง ตับแข็ง ขาดอาหาร หรือใช้ยาสตีรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกชนิดนี้มากกว่าคนทั่วไป

  • การใช้ยา ได้แก่ กลุ่มยาขยายหลอดเลือด เช่น ไอโซซอร์ไบด์ ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้
  • ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน พบในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน และผู้ที่ใช้ยาสตีรอยด์มาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะช็อก เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ

วิธีการรักษาอาการช็อก

การช็อกทำให้หมดสติ หายใจไม่สะดวก และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

  • หากผู้ป่วยมีอาการช็อกให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทันที
  • หากพบผู้ป่วยช็อกให้โทร เบอร์ฉุกเฉินในท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลังจากพบผู้ป่วยช็อก และโทรเบอร์ฉุกเฉินเรียกรถโรงพยาบาลแล้ว ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ระหว่างรอรับความช่วยเหลือ

  • หากหมดสติให้ตรวจดูว่ายังหายใจอยู่ และหัวใจเต้นหรือไม่
  • หากตรวจไม่พบการหายใจ หรือการเต้นของหัวใจให้เริ่มทำ CPR

กรณีที่ผู้ป่วยยังหายใจอยู่

  • ให้ผู้ป่วยนอนหงาน
  • ยกเท้าสูงจากพื้นอย่างน้อย 12 นิ้ว ช่วยให้เลือดไปยังอวัยวะสำคัญในจุดที่จำเป็นที่สุด
  • คลุมด้วยผ้าห่ม หรือเสื้อผ้าเ เพื่อช่วยให้อบอุ่น
  • ตรวจสอบการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง

หากพบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลัง ต้องหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้าย

ปฐมพยาบาลเฉพาะบาดแผลที่มองเห็นเท่านั้น หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ หากผู้ป่วยมีภาวะภูมิแพ้รุนแรง มักจะมีเครื่องฉีดอะดรีนาลีน (EpiPen) พกพาติดตัว โดยประกอบด้วยเข็มที่ฉีดง่าย พร้อมฮอร์โมนที่เรียกว่า อะดรีนาลีน สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะภูมิแพ้ได้

หากผู้ป่วยอาเจียนให้หันศีรษะไปด้านข้าง ซึ่งจะช่วยป้องกันการสำลัก หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บช่วงศีรษะและคอ ต้องงดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนย้ายศีรษะ 

ยารักษา

การรักษาภาวะช็อกจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการของผู้ป่วย การช็อกประเภทต่างๆ สามารถใช้ยารักษาเหล่านี้ได้ตามคำสั่บแพย์

  • อะดรีนาลีนและยาอื่น ๆ เพื่อรักษาอาการช็อกจาก Anaphylactic
  • ถ่ายเลือด เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป และรักษาภาวะช็อกจากภาวะ Hypovolemic
  • ยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การรักษาภาวะช็อกจากโรคหัวใจ
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะช็อก

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/shock
  • https://www.medicinenet.com/shock/article.htm
แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์

แพทย์หญิงวิกานดา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เธอมีความเชื่อว่าผิวพรรณที่มีสุขภาพดีจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง ดังนั้นความตั้งใจของเธอคือต้องการช่วยให้ทุกคนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคทางผิวหนัง และแพทย์หญิงวิกานดาเป็นหนึ่งในแพทย์ที่เก่งมากคนหนึ่งในประเทศ

Next Post
ลำไส้อักเสบ

ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

Please login to join discussion

บทความยอดนิยมของเรา

  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • Erectile Dysfunction
  • รีวิวยาลดน้ำหนักที่ดีที่สุด

ประเภท

  • การติดเชื้อ
  • ครีมและเจล
  • จิตวิทยา
  • ซินโดรม
  • บทความสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มะเร็ง
  • หาโรค
  • อาการ
  • โภชนาการ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตา
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคผิวหนัง
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคระบบกล้ามเนื้อ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบประสาท
  • โรคระบบสืบพันธุ์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในช่องปาก
  • โสตนาสิกลาริงซ์วิทยา

เกี่ยวกับเรา

เว็บไซต์ Bupa.co.th รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคต่าง

นอกจากนี้แล้วเว็บไซต์ Bupa.co.th ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีสำหรับทุกคน เรามีความตั้งใจที่จะพัฒนาและนำเสนอบทความที่หลากหลายและมีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้อ่านอันเป็นที่รักของเราทุกคน

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • หาโรค A-Z
  • ซินโดรม
  • อาการ
  • บทความสุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    • ครีมและเจล
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ติดต่อเรา

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
This website uses cookies. By continuing to use this website you are giving consent to cookies being used. Visit our Privacy and Cookie Policy.