ชีแฮน ซินโดรม (Sheehan’s Syndrome) : อาการ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ชีแฮน ซินโดรม

ภาพรวม

โรคชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อ Pituitary glad คือ ต่อมใต้สมองได้รับความเสียหายระหว่างการคลอดบุตร โดยมีสาเหตุเกิดจากการเสียเลือดมากผิดปกติ (การตกเลือด) หรือมีภาวะความดันโลหิตต่ำมากเกินปกติ ระหว่างหรือหลังคลอดบุตร การขาดเลือดทำให้ต่อมใต้สมองขาดออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการช่วยให้ต่อมใต้สมองนี้ทำงาน โดยปกติแล้ว ต่อมใต้สมอง จะอยู่บริเวณฐานของก้านสมอง ซึ่งต่อมนี้ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ดูแลการทำงานของต่อมอื่น ๆ ในร่างกาย จึงมีชื่อเล่นว่า “เจ้านายของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ” (Master Gland) เมื่อสตรีตั้งครรภ์ ต่อมนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ และเสี่ยงที่จะได้รับการกระทบกระเทือนระหว่างคลอด เมื่อต่อมใต้สมองทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ต่อมอื่น ๆ ที่ต่อมใต้สมองควบคุมอยู่ เช่น ต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไต จะปล่อยฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาได้ไม่เพียงพอ ชีแฮน ซินโดรมมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนต่อมใต้สมองหลายชนิด ได้แก่:
  • ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ทำหน้าที่สั่งการให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย
  • ฮอร์โมนลูทิไนซิง (LH) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมรอบประจำเดือนและการผลิตไข่ในสตรี รวมถึงฮอร์โมนการทำงานของรังไข่
  • ฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ (FSH) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมรอบประจำเดือนและการผลิตไข่ และลูทิไนซิงฮอร์โมน
  • โกรทฮอร์โมน (GH) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกาย
  • ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิก (ACTH) ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งคอร์ติซอลและฮอร์โมนความเครียดอื่น ๆ
  • โปรแลคติน ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม
ชีแฮน ซินโดรม เรียกอีกอย่างว่า ภาวะการทำงานของต่อมใต้สมองลดต่ำลงของสตรีหลังคลอด

อาการของชีแฮน ซินโดรมเป็นอย่างไร

บางกรณี อาการของชีแฮน ซินโดรมเกิดขึ้นทันทีหลังคลอดบุตร หรือ อาจค่อย ๆ แสดงอาการ ซึ่งใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปีหลังคลอด สตรีที่มีต่อมใต้สมองที่ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการทันที แต่อาจเกิดขึ้นในเวลาหลายปีต่อมา อาการของชีแฮน ซินโดรม ได้แก่ :
  • เลี้ยงลูกด้วยนมยากหรือไม่สามารถให้นมลูกได้
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ (รอบประจำเดือนมาน้อย) หรือมีภาวะขาดประจำเดือน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้
  • มีสภาพจิตใจที่ถดถอย
  • ขนบริเวณหัวหน่าวและใต้วงแขนร่วงหรือไม่ขึ้นมาใหม่
  • เหนื่อยง่ายหรือล้าง่าย
  • มีริ้วรอยรอบดวงตาและริมฝีปาก
  • เต้านมหดตัว
  • มีผิวแห้ง
  • มีอาการปวดข้อ
  • มีความต้องการทางเพศลดลง
  • มีน้ำตาลในเลือดลดลง
  • มีความดันเลือดต่ำลง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดชีแฮน ซินโดรมมีอะไรบ้าง

ชีแฮน ซินโดรมเกิดจากการขาดออกซิเจนในต่อมใต้สมองที่เกิดขึ้นระหว่างคลอดบุตร การสูญเสียเลือดมากเกินไปหรือความดันโลหิตต่ำมากช่วงคลอดอาจปิดกั้นออกซิเจนที่จำเป็นต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง ชีแฮน ซินโดรมพบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบชีแฮน ซินโดรมในสตรีมีครรภ์ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีระบบการแพทย์พัฒนามากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเสียเลือดมากผิดปกติ ได้แก่ :
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด คือภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเป็นภาวะเมื่อรก ซึ่งนำอาหารหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์นั้น หลุดออกจากมดลูก
  • รกเกาะต่ำ คือภาวะรกเกาะต่ำเป็นภาวะที่รกปิดปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด (ซึ่งเป็นส่วนล่างสุดของมดลูกที่เชื่อมกับช่องคลอด)
  • คุณแม่ให้กำเนิดเด็กทารกที่มีน้ำหนักตัวมากเกิดปกติหรือทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 8.8 ปอนด์ (4,000 กรัม) รวมถึงคุณแม่มีทารกมากกว่า 1 คนอยู่ในครรภ์เช่น การตั้งครรภ์ฝาแฝด
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ   ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • การคลอดโดยอาศัยวิธีการช่วยคลอดหมายถึงการคลอดโดยอาศัยการใช้คีมหรือเครื่องช่วยสุญญากาศ

การวินิจฉัยชีแฮน ซินโดรม 

ชีแฮน ซินโดรมอาจแสดงอาการคล้ายกับอาการที่เกิดกับโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จึงทำให้สับสนได้ว่า อาจเป็นโรคเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอาการไม่ปรากฎให้เห็นเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหลังจากที่คลอดบุตร ทั้งนี้ แพทย์มักเริ่มด้วยการซักประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะการสอบถามเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยจำได้ว่า เคยมีปัญหาในการหลั่งน้ำนมหลังคลอด อาการนี้ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องเหมือนกัน ทั้งนี้ แพทย์อาจเลือกตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยชีแฮน ซินโดรม ได้แก่ :
  • การตรวจเลือด   ในการตรวจเลือดนี้ แพทย์สามารถตรวจระดับฮอร์โมนที่ต่อมใต้สมองผลิตได้ รวมถึงการตรวจการกระตุ้นฮอร์โมนต่อมใต้สมอง เพื่อช่วยตรวจดูว่าต่อมใต้สมองตอบสนองต่อฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ดีเพียงใด
  • การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)   การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายเหล่านี้จะตรวจหาเนื้องอกหรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับต่อมใต้สมองที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกันกับอาการของชีแฮน ซินโดรมได้

การรักษาชีแฮน ซินโดรม 

แพทย์รักษาชีแฮน ซินโดรมด้วยการให้ผู้ป่วยรับฮอร์โมนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้แล้วจากแหล่งอื่น โดยผู้ป่วยจะต้องรับฮอร์โมนทดแทนนี้ตลอดชีวิต:
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลนหรือไฮโดรคอร์ติโซนใช้ทดแทนฮอร์โมนต่อมหมวกไตได้
  • ลีโวไทร็อกซีน ยานี้จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์สร้างขึ้น
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (หรือเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว หากผู้ป่วยตัดมดลูกทิ้ง) ฮอร์โมนเพศหญิงเหล่านี้ช่วยทำให้รอบเดือนเป็นปกติ ผู้ป่วยสามารถหยุดรับประทานได้เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน
  • ฮอร์โมนลูทิไนซิง และ ฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง ฮอร์โมนเหล่านี้กระตุ้นการตกไข่และช่วยให้ตั้งครรภ์ได้
  • โกรทฮอร์โมน   โกรทฮอร์โมนช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก ช่วยให้อัตรามวลกล้ามเนื้อต่อไขมันดีขึ้น และลดระดับคอเลสเตอรอล
ทั้งนี้ การใช้ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อเท่านั้น  นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องไปตรวจเลือดบ่อย ๆ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย

เราสามารถป้องกันชีแฮน ซินโดรมได้หรือไม่

การรักษาพยาบาลที่ดีในระหว่างคลอดบุตรช่วยป้องกันภาวะเลือดออกรุนแรงและความดันโลหิตต่ำได้ สำหรับในกรณีที่มีเลือดออกมาก การป้องกันชีแฮน ซินโดรมอาจไม่เป็นผล

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ 

ภาวะแทรกซ้อนที่มากับชีแฮน ซินโดรม ได้แก่ :
  • ภาวะวิกฤตต่อมหมวกไต เป็นภาวะที่อันตรายต่อชีวิต เมื่อต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมน คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ไม่เพียงพอ 
  • ความดันเลือดต่ำ
  • น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

คำแนะนำ

ชีแฮน ซินโดรมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด  ในระยะยาวผู้ป่วยจะยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและมีสุขภาพดี 

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องพบแพทย์

หากแพทย์หรือพยาบาลสงสัยว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการของชีแฮน ซินโดรม คุณแม่จะถูกส่งไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของฮอร์โมนเป็นผู้ดูแล

ผู้ป่วยที่เป็นชีแฮน ซินโดรมสามารถทำอะไรได้บ้าง

เมื่อต้องนัดหมายกับแพทย์ ให้ถามแพทย์ว่าจะต้องเตรียมอะไรมาก่อนล่วงหน้าบ้าง เช่น อดอาหารมาก่อนตรวจร่างกายหรือเข้ารับการตรวจอื่น ๆ  นอกจากนี้ ให้ทำรายการมาดังต่อไปนี้ :
  • จดรายละเอียดอาการ ผู้ป่วยควรจดรายละเอียดของอาการ แม้ว่าอาการนั้นอาจดูไม่เกี่ยวข้องกันก็ตาม และจดมาด้วยว่า อาการเหล่านั้นเริ่มเกิดเมื่อไร
  • รายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ รวมถึง การเข้ารับการผ่าตัดล่าสุด และความเครียดอื่น ๆ รวมถึงประวัติโรคต่าง ๆ ของสมาชิกในครอบครัว
  • จดรายละเอียดเกี่ยวกับยา วิตามินหรืออาหารเสริมอื่น ๆ ที่ใช้ 
  • จดคำถามที่จะถามแพทย์
  • นำข้อมูลของโรคที่เคยเกิดจากการตั้งครรภ์ในอดีตมาด้วย โดยเฉพาะในช่วงเจ็บครรภ์และคลอดบุตร 
  • ถ้าเป็นไปได้ให้พาสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนมาช่วยจำข้อมูลที่จะได้รับจากแพทย์ด้วย

ผู้ป่วยที่เป็นชีแฮน ซินโดรมควรถามคำถามแพทย์ เช่น:

  • อะไรเป็นสาเหตุของชีแฮน ซินโดรมที่มี
  • ต้องตรวจอะไรบ้าง
  • อาการชีแฮน ซินโดรมจะเกิดขึ้นเป็นแค่ครั้งคราว หรือจะเป็นขึ้นบ่อย ๆ
  • จะมีบุตรอีกได้หรือไม่
  • มีวิธีการรักษาอะไรบ้าง และแพทย์แนะนำแบบไหน
  • มีโรคอื่น ๆ อีกหรือไม่
  • จะต้องงดอาหารหรือกิจกรรมบางประเภทหรือไม่
  • มีโบรชัวร์หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ให้กลับไปอ่านหรือศึกษาหรือไม่ 
  • มีเว็บไซต์ที่มีข้อเกี่ยวกับชีแฮน ซินโดรมไหนที่แพทย์แนะนำให้กลับไปศึกษาเพิ่มเติมบ้าง
  • อย่าลังเลที่จะถามคำถามอื่น ๆ ถ้ามี

คาดหวังอะไรจากแพทย์บ้าง:

ในหว่างซักประวัติ แพทย์อาจถามคำถามมากมาย เช่น:
  • ผู้ป่วยมีเลือดออกบ่อยหรือมามากหลังคลอดหรือไม่
  • ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ระหว่างการคลอดบุตรหรือไม่
  • อาการของโรคเกิดขึ้นตลอดเวลาหรือเป็น ๆ หาย ๆ
  • อาการของโรคหนักแค่ไหน
  • มีอะไรบ้างที่ช่วยให้อาการดีขึ้น
  • มีอะไรที่ทำให้อาการแย่ลง

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคชีแฮน ซินโดรมได้หรือไม่

กลุ่มอาการของชีฮานหรือที่เรียกว่าภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติหลังคลอด เกิดขึ้นเนื่องจากการเสียเลือดอย่างรุนแรงระหว่างหรือหลังคลอดบุตร ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายของต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดฮอร์โมนต่างๆ ที่ต่อมใต้สมองผลิตได้ตามปกติ การรักษาและการจัดการกลุ่มอาการของชีฮานมักเกี่ยวข้องกับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT):เนื่องจากกลุ่มอาการของชีฮานเกี่ยวข้องกับการขาดฮอร์โมนต่างๆ เช่น คอร์ติซอล ฮอร์โมนไทรอยด์ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และอื่นๆ HRT จึงมักเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้น แพทย์จะสั่งจ่ายฮอร์โมนทดแทนตามความต้องการส่วนบุคคลของคุณ การตรวจเลือดเป็นประจำจะช่วยติดตามระดับฮอร์โมนและปรับการรักษาตามความจำเป็น
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ:การตรวจสอบระดับฮอร์โมน การทำงานของอวัยวะ และสุขภาพโดยทั่วไปอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ การตรวจสุขภาพเป็นประจำกับแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อหรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนสามารถจัดการอาการของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านยา:สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยาทดแทนฮอร์โมนตามที่กำหนดโดยผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกายให้คงที่
  • อาหารเพื่อสุขภาพ:อาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการสามารถสนับสนุนสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารเพียงพอและรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถให้คำแนะนำด้านอาหารที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้
  • การออกกำลังกาย:การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณได้ ปรึกษาผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณก่อนเริ่มแผนการออกกำลังกายใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาพของคุณ
  • การจัดการความเครียด:การจัดการความเครียดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความเครียดอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนได้ ฝึกฝนเทคนิคการลดความเครียด เช่น การมีสติ การทำสมาธิ การหายใจลึกๆ หรือทำงานอดิเรกที่คุณชอบ
  • การจัดการภาวะสุขภาพอื่นๆ:หากคุณมีภาวะสุขภาพอื่นๆ เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง การจัดการอย่างมีประสิทธิผลจะส่งผลต่อความเป็นอยู่โดยรวมของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และแผนการรักษาสำหรับเงื่อนไขเหล่านี้
  • ให้ความรู้แก่ตนเอง:การทำความเข้าใจสภาพของคุณและความสำคัญของการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนสามารถช่วยให้คุณมีบทบาทอย่างแข็งขันในการดูแลสุขภาพของคุณได้ ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอาการของคุณและถามคำถามระหว่างการนัดหมายทางการแพทย์
  • เครือข่ายสนับสนุน:การมีชีวิตอยู่กับภาวะเรื้อรังอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ล้อมรอบตัวคุณด้วยเครือข่ายครอบครัว เพื่อนฝูง และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่สามารถให้กำลังใจและช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
โปรดจำไว้ว่าอาการของคนไข้แต่ละคนอาจแตกต่างกัน และวิธีการจัดการอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อพัฒนาแผนส่วนบุคคลที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sheehans-syndrome/symptoms-causes/syc-20351847
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3183525/
  • https://www.news-medical.net/health/What-is-Sheehans-Syndrome.aspx

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด