เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome) คืออาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่รุนแรงมาก เกิดเมื่อระดับเซโรโทนินในร่างกายเพิ่มสูงเกินไป  ปกติเซลล์ประสาทจะสร้าง serotonin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยในการส่งกระแสประสาท ทำให้ร่างกายควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้

  • การย่อยอาหาร

  • การไหลเวียนเลือด

  • อุณหภูมิของร่างกาย

  • การหายใจ

และยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเส้นประสาทและสมองให้เป็นไปได้ดี และยังเชื่อว่ามีผลต่ออารมณ์ด้วย

กลุ่มอาการนี้เกิดเมื่อท่านได้รับยาชนิดใหม่ที่มีผลต่อการสร้างเซโรโทนิน หรือเพิ่มขนาดของยาเดิมที่รับประทานอยู่แล้ว มักเกิดจากปฎิกิริยาระหว่างกันของยาหลายชนิด และเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา

อาการของเซโรโทนิน ซินโดรม

Serotonin Syndrome อาการอาจเกิดทันทีหรือภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาใหม่ หรือเพิ่มขนาดยาที่เคยใช้ อาจมีอาการดังนี้

ในรายที่รุนแรง อาจมีอาการดังนี้

สาเหตุของเซโรโทนิน ซินโดรม

โดยทั่วไปเกิดจากการใช้ยา หรืออาหารเสริมที่มีฤทธิ์เพิ่มเซโรโทนินในร่างกายร่วมกันสองชนิดขึ้นไป เช่น ใช้ยารักษาไมเกรนหลังจากรับประทานยาต้านเศร้า ยาบางชนิดเช่น ยาปฎิชีวนะ ยาต้านไวรัสที่ใช้รักษา HIV / AIDS และยาแก้อาเจียน แก้ปวดบางชนิดที่เพิ่มเซโรโทนินในเลือด

ตัวอย่างของยาและอาหารเสริมที่ทำให้เกิดภาวะนี้

ยาต้านอาการซึมเศร้า

เช่น

ยารักษาโรคไมเกรน (หมวด triptan)

ยารักษาโรคไมเกรน ชนิด “triptans” เช่น

  • almotriptan (Axert)

  • naratriptan (Amerge)

  • sumatriptan (Imitrex)

ยาเสพติด

เช่น

  • แอลเอสดี

  • เอคตาซี

  • โคเคน

  • แอมเฟตามีน

สมุนไพร

สมุนไพรบางชนิด เช่น

ยารักษาหวัด แก้ไอ

ยารักษาหวัด แก้ไอที่มีขายตามร้านขายยา ซึ่งมีส่วนผสมของ dextromethorphan ก็ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้เช่นกัน เช่น

  • ยา Robitussin DM

  • ยา Delsym

การรักษาเซโรโทนิน ซินโดรม

หากอาการไม่มาก แพทย์จะให้หยุดยาที่ทำให้เกิดอาการ

หากอาการรุนแรง ต้องไปโรงพยาบาล แพทย์จะสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และอาจมีวิธีการรักษาดังนี้

  • หยุดยาที่ทำให้เกิดอาการ

  • ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอและลดไข้

  • ให้ยาที่ลดการแข็งเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อ

  • ให้ยาบล็อคซีโรโตนิน


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด